แร่ดีบุก (Tin)                แสงเพ็ชร์ บุดชาดา

                    แร่ดีบุกในทางธรณีวิทยาเกิดร่วมกับแร่พีโรไทต์ แคลโคไพไรต์ สาพาเลอไรต์ แคลโอไพโรต์
กาลีนา และแร่เงินซัลไฟด์ แร่ดีบุกมีสูตรทางเคมีคือ SnO2 ส่วนประกอบทางเคมี Sn ร้อยละ 78.6 และ O
ร้อยละ 21.4 โลหะดีบุกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น การใช้เคลือบโลหะชนิดอื่น เคลือบแผ่นเหล็กเป็นแผ่นเหล็กวิลาดใช้ทำกระป๋องบรรจุอาหาร ทำพิวเตอร์ และตะกั่วบัดกรี

แหล่งแร่ดีบุก
                แหล่งแร่ดีบุกในประเทศไทยมักจะพบในบริเวณเทือกเขาหินแกรนิต 3 บริเวณ คือ
                1. เทือกแกรนิตตะวันตกมีจังหวัด แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง
พังงา และภูเก็ตมีทั้งแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิมีแหล่งแร่ผลัดแหล่งแร่เศษหิน แหล่งลานแร่ แหล่งแร่ชายหาด
และแหล่งแร่นอกชายฝั่งแหล่งที่ให้ผลผลิตแร่สูงสุดคือ บริเวณจังหวัดภูเก็ต พังงา และระนอง แหล่งแร่ดีบุก
แบบลานแร่จะให้แร่พลอยได้เป็นพวกแร่หนักได้แก่ แร่โคลัมไบต์ แทนทาไลต์ อิลเมไนต์ โมนาไซต์
                2. เทือกแกรนิตกลาง มีจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก นครสวรรค์ อุทัยธานี
ชลบุรี ระยอง สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นเทือก
แกรนิตคลุมพื้นที่มากที่สุด เป็นสายแร่ ควอร์ตซ์  ดีบุก  วุลแฟรม  ชีไลท์  แร่พลอยได้  ได้แก่   อิลเมไนต์   โมนาไซต์
แทนทาลัม รูไทล์ สตรูเวอรไรต์ ชีไลท์
                3. เทือกแกรนิตตะวันออก มีแนวเหนือใต้จากจังหวัดแพร่ลงมาถึงจันทบุรี มักเกิดร่วมกับแร่ โมนาไซต์
และซีโนไทม์ เทือกเขาแกรนิตนี้ความสมบูรณ์ของแหล่งแร่ไม่คุ้มกับการลงทุนทำเหมืองในเชิงพาณิชย์

การผลิตแร่ดีบุก
                    การผลิตแร่ดีบุกในประเทศมีปริมาณลดลงมาโดยตลอดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์ดีบุกของโลกใน
ปี 2528 เนื่องจากราคาแร่ตกต่ำลงมากไม่คุ้มกับการลงทุนเหมืองส่วนใหญ่หยุดกิจการไปเหลือแต่เหมืองขนาดใหญ่
ที่ยังพอทำการผลิตได้เท่านั้น ผลผลิตแร่ดีบุกของประเทศไทยลดลงจาก 1,457 เมตริกตัน มูลค่า 162.9 ล้านบาท ของ
ปี 2539 เหลือเพียง 756 เมตริกตัน มูลค่า 92.2 ล้านบาท ในปี 2540 หรือลดลงร้อยละ 48.1 และ 43.4 ตามลำดับ
อย่างไรก็ดีในปี 2541 ผลผลิตแร่ดีบุกเพิ่มขึ้นจากปี 2540 ร้อยละ 181 คือ เพิ่มขึ้นเป็น 2,124 เมตริกตันและมูลค่าการ
ผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 336.8 ล้านบาท เนื่องจากราคาดีบุกในราคาเงินบาทเพิ่มขึ้นจากผลของการลดค่าเงินบาท

การผลิตโลหะดีบุก
                สำหรับการผลิตโลหะดีบุกในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีโรงถลุงแร่ดีบุกไทย ซาร์โก้ ป็นโรงถลุง
ดีบุกแห่งเดียวในประเทศที่เปิดทำการ ในช่วงระยะเวลา   5   ปีที่ผ่านมา   (2537-2541)   การผลิตโลหะดีบุก ซึ่งส่วนใหญ่จากแร่ดีบุกนำเข้ามีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2541 มีการผลิตสูงขึ้นร้อยละ 28 คือเพิ่มขึ้นเป็น
15,353 เมตริกตัน ของการผลิต ในปี 2540 ซึ่งมีการผลิตเพียง 11,984 เมตริกตัน

                                        ตารางการผลิตและการใช้ดีบุก
                                                                                                                                                         ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                                                                             มูลค่า : ล้านบาท 
ปี
การผลิตแร่ดีบุก
การผลิตโลหะดีบุก
การใช้โลหะดีบุก
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
3,926
383.8
7,759
1,066.4
4,907
664.6
2538
2,201
240.8
8,243
1,275.9
5,447
829.7
2539
1,457
162.9
10,981
1,715.5
5,828
901.5
2540
756
92.2
11,984
2,112.5
4,596
775.1
2541
2,124
336.8
15,353
3,513.2
4,070
4,070
รวม
10,464
1,265
54,320
9,683.5
24,848
4,089.5
 


การใช้
                ดีบุกที่ใช้ภายในประเทศส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ            ในรูปของโลหะและโลหะผสม
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้ดีบุกเป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น การผลิตแผ่นเหล็กวิลาด ลวดเชื่อมโลหะพิวเตอร์
โลหะบัดกรี    และทองบรอนซ์   เป็นต้นการใช้ดีบุกในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาของประเทศไทยขึ้นอยู่กับปัจจัย
ทางด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าระดับราคาโลหะดีบุก ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ประเทศไทยประสบกับภาวะการณ์เศรษฐกิจถดถอยอย่างหนัก ส่งผลให้แนวโน้มของการใช้ดีบุกในประเทศ
ลดต่ำลงตลอดระยะเวลา ซึ่งในปี พ.ศ. 2539 มีปริมาณการใช้สูงถึง 5,828 ตัน มูลค่า 902 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2540
ปริมาณการใช้ลดลงร้อยละ 21.1 เป็น 4,956 ตัน มูลค่า 775 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2541 ลดลงร้อยละ 11.4 เหลือ
ปริมาณการใช้เพียง 4,070 ตัน มูลค่า 918.6 ล้านบาท

การส่งออก
                ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (2539 – 2541) การส่งออกโลหะดีบุกมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยใน
ปี 2539 เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 85.1 เป็น 4,761 เมตริกตัน มูลค่า 746.1 ล้านบาท ปี 2540 เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.8
เป็น 7,941 เมตริกตัน มูลค่า 1,417.9 ล้านบาท และในปี 2541 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 40.1 ประเทศคู่ค้าโลหะดีบุก
ที่สำคัญของประเทศไทย คือ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง และมาเลเซีย

การนำเข้า
                มีการนำเข้าโลหะดีบุกจากต่างประเทศเช่น จีน นำเข้าในรูป Scrap ดีบุกท่อน เส้นและ รูปร่างอื่น
จากมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง นำเข้าในรูปดีบุกแท่ง จากมาเลเซีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ปริมาณการ
นำเข้าในปี 2541 มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 164 เมตริกตัน จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณเพียง 153 เมตริกตัน
ส่วนการนำเข้าแร่ดีบุก ในปี 2541 มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 เป็น 26,828 เมตริกตัน (คิดเป็นเนื้อโลหะดีบุก
14,322 เมตริกตัน) จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณ 21,170 (คิดเป็นเนื้อโลหะดีบุก 11,591 เมตริกตัน)
                     ตารางการนำเข้าดีบุก โลหะดีบุก
                                                                                                                 หน่วย : เมตริกตัน
ปี
โลหะดีบุก
แร่ดีบุก (คิดเป็นเนื้อโลหะ)
2537
62
8,164 (4,285)
2538
2,617
11,3553 (5,943)
2539
304
16,974 (9,305)
2540
153
21,170 (11,591)
2541
164
26,828 (14,322)
ราคาตลาดโลก          ราคาดีบุกในตลาดโลกเป็นราคาที่เกิดจากการซื้อขายสินแร่ในตลาดการค้าที่
                                               สำคัญของโลกมี 3 แห่ง คือ
                1.   ตลาดโลหะกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur Tin Market : KLTM) เป็นศูนย์กลางการซื้อขายดิน
แร่ดีบุกของเอเซีย ราคาดีบุกในตลาดนี้จะขึ้นลงขึ้นอยู่กับปริมาณอุปสงค์และอุปทานการซื้อขายเป็นส่วน
สำคัญ ราคาดีบุกในช่วงปีที่ พ.ศ. 2541 การเคลื่อนไหวของระดับราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 21.22  ริงกิต/กก.
                2.  ตลาดโลหะลอนดอน (London Metal Exchange : LME เป็นตลาดที่ทำการซื้อขายโลหะทุกชนิด
มีความสำคัญเป็นอันดับ 1 การซื้อขายมีทั้งประเภทเงินสดและล่วงหน้า 3 เดือน ระดับราคาเฉลี่ยในปี 2541
อยู่ที่ 5,533 เหรียญสหรัฐ/ตัน
                3.  ตลาดนิวยอร์ค (New York Metal Exchange) เป็นตลาดมีการซื้อขายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้ผลิตจะ
กำหนดราคาอย่างอิสระ แต่ราคาก็ไม่ต่างไปจากราคาของตลาด LME มากนัก ซึ่งในปี พ.ศ. 2541 มีระดับราคา
เฉลี่ยอยู่ที่ 263.0 cents/lb
                ระดับราคาดีบุกมีแนวโน้มเคลื่อนไหวไปตามกฎของอุปสงค์อุปทานและสต๊อก ในตลาดโลก และยังมี
ปัจจัยต่างๆ เช่น การเก็งกำไร ภาวะเศรษฐกิจและความต้องการของอุตสาหกรรมการระบายดีบุกจากคลังสะสม
ยุทธปัจจัยของประเทศสหรัฐอเมริกา การเคลื่อนไหวราคาดีบุกในตลาด LME มีแนวโน้มลดลงในต้นปี พ.ศ. 2542 โดยราคาเฉลี่ยดีบุกในเดือนภุมภาพันธ์อยู่ในระดับ 5,268.5 เหรียญสหรัฐ/ตันสาเหตุเนื่องจากมีการระบายสต๊อก
สินค้าของประเทศในแถบสเต็มอเมริกา เพราะ บราซิลมีการลดค่าเงินลงส่งผลต่อตลาดการซื้อขายโลหะของ
ตลาดโลกด้วย
                     ตารางราคาซื้อขายโลหะดีบุกในตลาดต่าง ๆ

 
ปี พ.ศ.
ตลาดลอนดอน/USD/MT
ตลาดกัวลาลัมเปอร์/MSS/Kg
ตลาดนิวยอร์ค/CENTS/lbs
2537
5,460.56
14.14
254.91
2538
6,210.04
15.34
295.48
2539
6,162.43
15.34
289.58
2540
5,643.95
15.57
265.51
2541
5,533.00
21.22
263.60
ราคาดีบุกในประเทศ
                ราคาดีบุกในประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงซื้อขายไปตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ
ราคาดีบุกในตลาดกัลลาลัม-เปอร์ และตลาดลอนดอนในปี พ.ศ. 2541 ราคาแร่ดีบุกคิดเป็นเงินไทยอยู่ใน
ระดับราคาเฉลี่ย 13,437.68 บาท/หาบหลวง

ราคาประกาศและค่าภาคหลวง
                ราคาโลหะดีบุกใช้เป็นเกณฑ์เรียกเก็บค่าภาคหลวงในปี พ.ศ. 2541 อยู่ในระดับ ณ 9,684.06 บาท/
หาบหลวง เป็นผลให้ในปี 2541 ดีบุกมีอัตราค่าภาคหลวงเฉลี่ย 13,436.08 บาท/หาบหลวง ส่วนรายได้
ค่าภาคหลวงแร่ในช่วงระยะเวลา 5 ปี มีรายได้รวมทั้งสิ้นเป็นเงินจำนวน 29.47 ล้านบาท และคาดว่ารายได้
ค่าภาคหลวงแร่ในปี 2541 เก็บได้ทั้งสิ้นจำนวน 16.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2540 ซึ่งเก็บค่าภาคหลวงได้
เพียง 2.7 ล้านบาท

ปัญหาและอุปสรรค
                ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การผลิตแร่ดีบุกในประเทศลดต่ำลง คือ การที่ราคาดีบุกในตลาดโลก
และตลาดกัวลาลัมเปอร์ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ โดยในปัจจุบันมีราคาคิดเป็นร้อยละเพียง 50-60
ของราคาก่อนเกิดวิกฤตการณ์ดีบุกในปี 2528 เท่านั้น จึงไม่เป็นสิ่งจูงใจให้มีการลงทุนทำเหมืองดีบุกอย่าง
แพร่หลายอีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีปัญหาจากการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ทำให้การได้รับอนุญาตประทานบัตร
เพื่อทำเหมืองยากขึ้น

แนวโน้ม
                ผลผลิตแร่ดีบุกในปี 2542 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องราคาดีบุกในประเทศปรับตัวสูงขึ้น อันเป็นผลมา
จากการปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว อย่างไรก็ตามคาดว่าการขยายการผลิตแร่ดีบุกในประเทศคงไม่เป็นไปอย่าง
ต่อเนื่องยาวนาน เนื่องจากราคาดีบุกในตลาดโลกยังคงซบเซา