ทรายแก้ว (Glass Sand)           สมบัติ วรินทรนุวัตร

                ทรายแก้ว คือ ทรายบริสุทธิ์ที่มี ซิลิก้า (SiO2) มากกว่าร้อยละ 95 มีเหล็ก (Fe2O3) ตลอดจนสารอื่น ๆ
เช่นอาลูมินา (Al2O3) แคลเซียมออกไซด์ (CaO) และแมกนีเซียมออกไซด    ์ (MgO)    เจือปนอยู่ต่ำซึ่งใน
ประเทศไทยโดยทั่วไปทรายแก้วมีลักษณะประกอบด้วยซิลิก้าเฉลี่ยประมาณร้อยละ   98.75   และมีธาตุเหล็ก
ผสมเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.10 ซึ่งนับว่ามีคุณภาพสูงเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมทำ
แก้ว กระจกแผ่น นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรม ทำหัวไม้ขีดไฟ  และทาข้างกลักให้สากเพื่อ
ใช้ขีดหัวไม้ขีด ซึ่งโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมจะใช้ขนาดของทรายแก้วขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง
0.42-0.84 มิลลิเมตร

การผลิต
                ประเทศไทยมีแหล่งผลิตทรายแก้วที่สำคัญส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณใกล้หาดชายทะเล เช่นที่จังหวัด
ระยอง จันทบุรี ชุมพรและตราด การผลิตทรายแก้วทั้งหมดเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ เนื่องจากแร่
ทรายแก้วได้รับการสงวนไว้ใช้ในประเทศ  (ไม่มีการส่งออก)   สำหรับในช่วงระยะเวลา   5  ปี ตั้งแต่ปี
2537-2541  นั้นโดยในปี 2540 ประเทศไทยสามารถผลิตทรายแก้วในปริมาณมากที่สุดคือผลิตทรายแก้ว
ได้จำนวน  515,859   เมตริกตัน มูลค่า 180.6 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในสัดส่วน
ร้อยละ 15.39 ส่วนในปี 2541 มีปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 323,937   เมตริกตัน มูลค่า   113.4  ล้านบาท
หรือปริมาณและมูลค่าการผลิตลดลงจากปี  2540 ร้อยละ 3 7.20 และ 37.21 ตามลำดับจากสาเหตุความ
ต้องการในอุตสาหกรรมลดลง

การใช้
                ปริมาณการใช้ทรายแก้วในแต่ละปีมีปริมาณใกล้เคียงกับปริมาณการผลิตภายในประเทศโดย
ความต้องการใช้ทรายแก้วขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ซึ่งหากระบบเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
และการขยายตัวของภาคก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้นตาม ก็จะส่งผลให้ความต้องการใช้ทรายแก้วเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากทรายแก้วเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตกระจกซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาคารสำนักงาน
บ้านเรือน   นอกจากนี้ยังใช้อุตสาหกรรมแก้ว   และอุตสาหกรรมเซรามิค แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5 ปีที่
ผ่านมาปริมาณการใช้ทรายแก้วในแต่ละปีมีแนวโน้มปริมาณการใช้ในประเทศลดลงเรื่อย ๆ โดยมีปริมาณ
การใช้ภายในประเทศมากที่สุดในปี 2537 คือ 388,075 เมตริกตัน และคิดเป็นมูลค่า  135.8   ล้านบาท และ
ในปี  2538 มีปริมาณการใช้   323,824   เมตริกตันคิดเป็นมูลค่า 113.3 ล้านบาท ปริมาณการใช้และมูลค่า
ลดลงจากปี ี 2537   ร้อยละ   16.56   และ   16.35   ตามลำดับในปี 2539 มีปริมาณการใช้ 298,302 เมตริกตัน
มูลค่า 104.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.9 จากปี 2538 แต่ในปี 2540 มีการใช้ในประเทศ 373,587 เมตริกตัน
และคิดเป็นมูลค่า 130.8 ล้านบาท เป็นปริมาณการใช้ที่กระเตื้องขึ้นเล็กน้อย แล้วกลับมีปริมาณการใช้ลดลง
ในปี 2541 คือ มีปริมาณการใช้ 251,759 เมตริกตัน มูลค่า 88.1ล้านบาท
     ตารางการผลิตและการใช้แร่ทรายแก้วในประเทศไทย
                                                                                                                                 ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                                                     มูลค่า : ล้านบาท
 
ปี
การผลิต
การใช้ในประเทศ
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
471,386
165.0
388,075
135.8
2538
325,492
113.9
323,824
113.3
2539
447,050
156.5
298,302
104.4
2540
515,859
180.6
373,587
130.8
2541
323,937
113.4
251,759
88.1

การส่งออก
                        รายแก้วได้รับการสงวนไว้ใช้ในประเทศ จึงไม่มีการส่งออก

ราคา
                ราคาซื้อขายเฉลี่ยของทรายแก้วในประเทศไทย ในปี 2539-2541 มีราคาเฉลี่ยประมาณ 350 บาทต่อ
เมตริกตัน โดยราคาเฉลี่ยเป็นราคาเดียวกับราคาประกาศเพื่อเป็นเกณฑ์ในการเรียกเก็บ ค่าภาคหลวงแร่ และ
มีอัตราค่าภาคหลวงแร่ทรายแก้วร้อยละ 4 ของราคาประกาศต่อ 1 หน่วยน้ำหนัก คิดเป็นค่าภาคหลวงแร่ 14
บาท ต่อเมตริกตัน

จำนวนเหมืองเปิดการ
                จำนวนเหมืองเปิดการของทรายแก้ว ในปี 2540 มีจำนวน 20 เหมือง และในปี 2541 มีจำนวนเหมือง
เปิดการลดลง 3 เหมืองเหลือ 17 เหมือง จากการปิดเหมืองเนื่องจากปริมาณทรายแก้วมีปริมาณลดลง และยังไม่
สามารถหาแหล่งผลิตใหม่เพิ่มขึ้นได้

จำนวนคนงานที่เหมือง
                จำนวนคนงานที่เหมืองปี 2540 มีคนงานในเหมืองเปิดการทรายแก้วจำนวน 109 คน ส่วนในปี 2541
มีคนงานลดลง 33 คน สาเหตุจากการปิดเหมืองลงในปี 2540 ทำให้มีคนงานลดลงเหลือเพียง 76 คน

ปัญหาและอุปสรรค
                ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการผลิตแร่ทรายแก้ว คือ
                1. แม้ว่าตามประมาณการว่าในประเทศไทยยังมีปริมาณทรายแก้วสำรองกว่า 100 ล้านเมตริกตัน แต่แหล่งผลิตทรายแก้วส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตในบริเวณใกล้ชายทะเล ซึ่งเป็นสถานที่ ท่องเที่ยว ดังนั้นปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาจเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการผลิตทรายแก้วในอนาคตระยะยาว
                2. จากการที่ทรายแก้วได้รับการสงวนไว้ใช้ในประเทศส่งผลให้ราคาทรายแก้วในประเทศราคาต่อ
หน่วยต่ำกว่าราคาแร่ทรายแก้วในต่างประเทศ ซึ่งทำให้ไม่จูงใจให้ผู้ประกอบการแร่ทรายแก้วทำการผลิต
ประกอบกับความต้องการใช้ทรายแก้วในประเทศไม่สูงนัก
 
แนวโน้ม
                ปริมาณการใช้ทรายแก้วในประเทศไทยคาดว่าในปี 2542 มีปริมาณการใช้ใกล้เคียงกับปี 2541
เนื่องจากภาวะการใช้ทรายแก้วขึ้นกับปัจจัยภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งจากสถานการณ์ในปัจจุบันคาด
ว่าภาวะเศรษฐกิจในปี 2542ยังไม่มีแน้วโน้มที่ภาวะเศรษฐกิจในประเทศจะดีขึ้นมากนักจึงส่งผลให้
แนวโน้มปริมาณการใช้แร่ทรายแก้วไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก