เกลือหิน (Rock)              ลัดดา ลาภจตุรภุช

                ชั้นเกลือหินเกิดจากการระเหยของน้ำทะเลในสมัยดีกดำบรรพ์ ครอบคลุพื้นที่ตลอดทั่งทั้งตะวันออก
เฉียงเหนือหรืออีสานของประเทศไทย แบ่งได้ 2 แอ่งใหญ่
                1. แอ่งเหนือ คลุมพื้นทีจังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม เป็นเนื้อที่ประมาณ
                    17,000  ตารางกิโลเมตร
                2. แอ่งใต้ คลุมพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี
                    นครราชสีมา  ชัยภูมิ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ เป็นเนื้อที่ประมาณ 33,000 ตารางกิโลเมตร

การผลิต
                ในปี 2541 มีปริมาณการผลิตเกลือหิน 546,096 ตัน มูลค่า 273.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.6 จาก
ปี 2540 ซึ่งมีปริมาณการผลิต 554,891 ตัน มูลค่า 170.6 ล้านบาท ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 1.6 ขณะที่
มูลค่าการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.1 ทั้งนี้เป็นเพราะว่ากรมทรัพยากรธรณีได้ประกาศปรับราคาแร่เกลือหิน
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2540 จาก 267 บาทเป็น 500 บาทต่อตัน ราคาประกาศ เพื่อใช้ในการเก็บค่าภาคหลวง
แร่เกลือหิน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไป จึงใช้ราคา 500 บาทต่อตัน (ราคาประกาศ 267 บาท
ต่อตันใช้มาตั้งแต่ มีนาคม 2521)

การใช้
                ปริมาณการใช้แร่เกลือหินในปี 2541 มีปริมาณ 509,583 ตัน มูลค่า 254.8 ล้านบาท ปริมาณลดลง
ร้อยละ 8.4 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.2 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณการใช้ 556,006 ตัน มูลค่า 169.6 ล้านบาท

ราคา
                ราคาประกาศเพื่อใช้ในการเก็บค่าภาคหลวงของแร่เกลือหิน ได้มีการประกาศปรับราคาประกาศ
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2540จากราคา 267 บาทต่อตัน มาเป็น 500 บาทต่อตัน โดยเริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน
2540 และเก็บค่าภาคหลวงแร่เกลือหินในอัตราร้อยละ 4 ดังนั้น ค่าภาคหลวงจะมีราคา 20 บาทต่อตัน

การนำเข้า
                การนำเข้าเกลือหินในปี 2541 มีปริมาณนำเข้า 6 ตัน มูลค่า 123,075 บาท โดยนำเข้าจากประเทศอินเดีย

การส่งออก
                การส่งออกเกลือหินในปี 2541 มีปริมาณส่งออก 4.3 ตัน มูลค่า 10.1 ล้านบาท โดย ส่งออกไปยัง
สหรัฐอเมริกา

จำนวนเหมืองเปิดการและคนงาน
                เดือนธันวาคม 2541 จำนวนเหมืองเปิดการยังคงเท่าเดิมคือ 2 เหมือง ส่วนจำนวนคนงานมี
จำนวน 97 คน ลดลง 33 คนจากปี 2540 ซึ่งมีจำนวนคนงาน 130 คน

ปัญหาอุปสรรค
                เมื่อนำเกลือหินโดยการอัดน้ำจืดลงไปละลายและสูบเอาน้ำเกลือขึ้นมาแล้ว ทำให้เกิดเป็นโพรง
ถ้าไม่มีการป้องกันก็จะเกิดการยุบตัวของแผ่นดิน
                         ตารางการผลิตและการใช้เกลือหิน
                                                                                                                             ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                                                มูลค่า : ล้านบาท 
ปี
การผลิต
การใช้
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
287,806
76.8
325,610
86.9
2538
380,511
101.6
367,000
98.0
2539
529,674
141.4
476,250
127.2
2540
554,891
170.6
556,006
169.6
2541
546,096
273.1
509,583
254.8