ลิกไนต์ (Lignite)              มยุรี ปาลวงศ์ 

                ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหิน (Coal) ชนิดหนึ่ง ที่แปรสภาพมาจากถ่านพีต ส่วนประกอบที่สำคัญ
ของถ่านหินประกอบด้วย คาร์บอนโดยมีไฮโดรเจน  ไนโตรเจน  ออกซิเจน และ  ซัลเฟอร์ประกอบอยู่ด้วย
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
                ถ่านหินแบ่งตามคุณภาพของถ่านหิน ซึ่งมีผลจากการเปลี่ยนแปลงจากคุณสมบัติของถ่านได้ดังนี้
                1. พีต (Peat) มีลักษณะเป็นเนื้อไม้พรุน ๆ คล้ายฟองน้ำสีน้ำตาลอ่อนและแก่จนสีดำและอมน้ำไว้
มาก หากจะใช้เป็นเชื้อเพลิงต้องบีบอัดเอาน้ำออกและตากให้แห้ง
                2. ลิกไนต์ (Lignite) มีสีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลแก่ บางทีเรียกว่าถ่านหินสีน้ำตาล (brown coal) มี
ปริมาณคาร์บอนต่ำ สารระเหยและความชื้นสูงมีควันและกลิ่นแรง
                3. บิทูมินัส (Bituminous Coal) เป็นวัตถุสีดำมัน มีปริมาณคาร์บอนกว่า 75% เผาไหม้ได้เปลว
สีเหลือง
                4. แอนทราไซต์ (Anthracite) เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดีที่สุด เนื้อสีดำเป็นเงาวาวคล้ายโลหะ
มีปริมาณคาร์บอน 90% ติดไฟช้าแต่ให้ความร้อนได้นาน ติดไฟมีเปลวสีน้ำเงินมีควันและกลิ่นน้อยมาก

แหล่งแร่
                ถ่านหินลิกไนต์ที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นถ่านหินยุคเทอร์เชียรี ซึ่งกระจายอยู่ตามภาค
ต่างๆ ดังนี้
                ภาคเหนือ แหล่งถ่านหินลิกไนต์อยู่บริเวณ อ.เทิง อ.เชียงของ อ.แม่สรวย และ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
อ.เวียงแหง อ.แม่แจ่ม อ.ฮอด อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ อ.ปัว อ.ทุ่งช้าง อ.นาน้อย อ.ท่าวังผา จ.น่าน อ.ปง อ.เชียงม่วน
จ.พะเยา อ.ปาย อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน อ.วังเหนือ อ.แจ้ห่ม อ.แม่เมาะ อ.เสริมงาม อ.สบปราบ จ.ลำปาง อ.สอง
อ.ร้องกวาง อ.เมือง อ.สูงเม่น และ อ.เด่นชัย จ.แพร่ อ.น้ำปาด และ อ.หากท่า จ.อุตรดิตถ์ อ.ลี้ จ.ลำพูน อ.ท่าสองตา
อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด จ.ตาก
                ภาคกลาง แหล่งถ่านหินลิกไนต์อยู่บริเวณ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี อ. หนองหญ้าปล้อง
และ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
                ภาคใต้ แหล่งถ่านหินลิกไนต์อยู่บริเวณ อ.บ้านตาขุน อ.พนม อ.ชัยบุรี และ อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี
อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ อ.กันตัง จ.ตรัง อ.สะบ้าย้อย อ.สะเดา จ.สงขลา และ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

การผลิต
                ประเทศไทยผลิตถ่านหินลิกไนต์เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดทั้งนี้เนื่องจากถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงที่มี
ราคาต่อหน่วยต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น ในปี 2539 มีปริมาณการผลิตถ่านลิกไนต์ 21.69 ล้านเมตริกตัน มูลค่า
10,842.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.73 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.18 เมื่อ เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ปี 2540
ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 23.44 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 11,721.7 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ
8.10 ในปี 2541 ปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อยเหลือ 20.16 ล้านเมตริกตัน มูลค่าลดลงเหลือ 10,080.9 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละร้อยละ 14 สาเหตุมาจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบ
อุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง ต้องลดกำลังการผลิตสินค้าลง ตามภาวะเศรษฐกิจและกำลัง
ซื้อที่หดหายไป ทำให้ความต้องการใช้ถ่านลิกไนต์มีปริมาณลดลง ซึ่งคาดว่ายังคงมีผลต่อเนื่องไปในปี 2542 ด้วย

การใช้ในประเทศ
                ถ่านหินลิกไนต์ผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศเท่านั้น ถ่านลิกไนต์นอกจากใช้เป็น เชื้อเพลิงในการ
ผลิตกระแสไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแล้ว ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม ปูนซิเมนต์ อุตสาหกรรม
บ่มใบยาสูบ ปูนขาว และผู้ใช้หม้อไอน้ำ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ ในปี 2539 มีปริมาณการใช้
ถ่านลิกไนต์ทั้งสิ้น 21.48 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 10,738.1 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ
16.15 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ปี 2540 ปริมาณการใช้ ถ่านลิกไนต์เพิ่มขึ้นเป็น 23.27 ล้านเมตริกตัน
มูลค่า 11,637.4 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.37 และในปี 2541 ปริมาณการใช้ลดลง
เหลือ 20.54 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 10,270.5 ล้านบาท หรือปริมาณลดลง 14.08 มูลค่าลดลงร้อยละ  11.75
โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ปูนซิเมนต์ทั้งในภาครัฐและเอกชนลดลง รวมทั้งตลาดการส่งออก
ปูนซิเมนต์มีการแข่งขันกันสูงขึ้น การใช้ถ่านหิน-ลิกไนต์ในอุตสาหกรรมการผลิต ปูนซิเมนต์มีปริมาณ
ลดลง
             ตารางการผลิตและการใช้ลิกไนต์ของประเทศไทย
                                                                                                                              ปริมาณ : ล้านเมตริกตัน
                                                                                                                                  มูลค่า : ล้านบาท
ปี
การผลิต
การใช้
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
17.10
8,549.8
17.02
8,509.7
2538
18.42
9,209.4
18.49
9,245.2
2539
21.69
10,842.9
21.48
10,738.1
2540
23.44
11,721.7
23.29
11,637.4
2541
20.16
10,080.9
20.54
10,270.5

การส่งออก
                จากประกาศของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดให้ถ่านหินทุกชนิดทั้งก้อน ผง หรืออัดเป็นก้อน
ยกเว้นถ่านหินของที่ผลิตจาก Mangai Anthracite Coal เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการ ส่งออกไป
นอกราชอาณาจักร ทำให้ถ่านหินที่ผลิตได้ถูกจำกัดให้จำหน่ายภายในประเทศ ไม่มีการ ส่งออกไป
จำหน่ายยังต่างประเทศแต่อย่างใด

การนำเข้า
                ประเทศไทยมีการนำเข้าถ่านหินที่มีคุณภาพสูงจากต่างประเทศ ในปี 2541 ปริมาณ การนำเข้า
ถ่านหินลดลงจาก   3.20   ล้านเมตริกตัน มูลค่า   3,455.1   ล้านบาท ในปี 2540 เหลือ 1.54 ล้านเมตริกตัน
มูลค่า 1,676.7 ล้านบาทหรือปริมาณลดลงร้อยละ 51.88 เนื่องจากถ่านหินนำเข้าซึ่งต้อง สั่งซื้อเป็นเงิน
ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา มีราคาหรือต้นทุนนำเข้าสูงขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม การผลิตกระแสไฟฟ้า
และหม้อไอน้ำ อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ จึงหันมาใช้ ถ่านในประเทศที่มีราคาถูก
กว่าแทน ถ่านหินที่นำเข้าประเทศ ส่วนใหญ่เป็นถ่านหินบิทูมินัส คิดเป็นร้อยละ 87 ของการนำเข้าถ่านหิน
ทั้งหมด โดยในปี 2539 มีการนำเข้าถ่านหินบิทูมินัสปริมาณ 3.70 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 3,494.0 ล้านบาท
ปี 2540 การนำเข้ามีปริมาณ 3.07 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 3,327.7 ล้านบาท และในปี 2541 การนำเข้าลดลง
เหลือ 1.36 ล้านเมตริกตันมูลค่า 1,482.8 ล้านบาท การ นำเข้ากว่าร้อยละ90 เป็นการนำเข้าจากประเทศ
อินโดนีเซีย รองลงมาได้แก่จีน และญี่ปุ่น ส่วนถ่านหินแอนทราไซต์มีการ นำเข้าในปี 2539 ปริมาณ
46,159.34 เมตริกตัน มูลค่า 63.6 ล้านบาท ปี 2540 ปริมาณการนำเข้าลดลงเหลือ   8,094.43  เมตริกตัน
มูลค่า   27.24   ล้านบาท   และในปี 2541    ปริมาณการ นำเข้าเพิ่มขึ้นเป็น  23,094.69   เมตริกตัน มูลค่า
47.31 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของการนำเข้า ถ่านหินทั้งหมด โดยนำเข้าจากประเทศเวียดนาม
มากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา ได้แก่ ออสเตรเลีย ส่วนถ่านหินชนิดอื่นๆ ในปี 2541 มีปริมาณ 163,896.79
เมตริกตัน มูลค่า 146.7 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 11 โดยนำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ลาว และเวียดนาม
ตามลำดับ
                                 ตารางการนำเข้าถ่านหิน
                                                                                                                     ปริมาณ : ล้านเมตริกตัน
                                                                                                                         มูลค่า : ล้านบาท
ปี
ปริมาณ
มูลค่า
2537
1.42
1,358.7
2538
2.32
1,920.6
2539
3.84
3,618.1
2540
3.20
3,455.1
2541
1.54
1,676.9
ราคาประกาศและค่าภาคหลวง
                ราคาประกาศถ่านลิกไนต์เฉลี่ยต่อปี เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประเมินสำหรับเรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่
ตั้งแต่ปี 2536-2541 ราคา 500 บาทต่อเมตริกตัน เสียค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละ 4 ของราคาประกาศ
คิดเป็นค่าภาคหลวง 20 บาทต่อเมตริกตัน
                ราคาถ่านลิกไนต์มักจะเป็นราคาหน้าเหมือง (EX-MINE) ซึ่งไม่รวมค่าขนส่งราคาจะขึ้นอยู่กับ
คุณภาพของถ่านลิกไนต์ซึ่งจะอิงกับค่าความร้อนของถ่านหินเป็นหลัก ราคาจำหน่าย ถ่านลิกไนต์แต่ละ
แหล่งจะแตกต่างกันไป ถ่านลิกไนต์ที่มีค่าความร้อนสูงจะจำหน่ายได้ราคาที่ดีกว่า ถ่านลิกไนต์ที่มีค่า
ความร้อนต่ำ

เหมืองเปิดการ
                ในปี 2540 เหมืองเปิดการถ่านลิกไนต์มีจำนวน 33 เหมือง แต่เดือนธันวาคม 2541 เหมือง
เปิดการลดลงเหลือ 28 เหมือง ลดลงร้อยละ 15.15

จำนวนคนงาน
                ในปี 2540 จำนวนคนงานเหมืองลิกไนต์ มีจำนวน 4,316 คน แต่เดือนธันวาคม 2541 จำนวน
คนงานลดลงเหลือ 3,906 คน ลดลงร้อยละ 9.50

ปัญหาและอุปสรรค
                1.ปัญหาแหล่งถ่านหินที่มีอยู่จำกัด ทำให้การสำรวจหาแหล่งสะสมตัวของถ่านหินที่มีความ
สมบูรณ์ และมีคุณภาพดี รวมทั้งปริมาณสำรองของถ่านหินในเชิงพาณิชย์เป็นไปได้ยากต้องใช้เงินทุน
และบุคคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านสูง
                2. ปัญหามลภาวะทางอากาศที่เกิดจากการนำถ่านลิกไนต์ไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดฝุ่น
ละออง และผงถ่านที่เกิดจากการทำเหมือง รวมทั้งก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้

แนวโน้ม
                แม้ว่าประเทศไทยและประเทศในแถบภูมิภาคเอเซียจะเกิดภาวะวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจก็
ตาม ปริมาณการใช้ถ่านลิกไนต์ในประเทศลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
ที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และหลังจากประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบ ลอยตัว
ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง          ทำให้ถ่านหินนำเข้ามีราคา
หรือต้นทุนนำเข้าสูง ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจึงหันมาใช้ถ่านหินลิกไนต์ที่ผลิตในประเทศที่มีราคาถูก
กว่าแทนประกอบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศยังมีปริมาณเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ
                คาดว่าในปี 2542 ปริมาณการใช้ถ่านลิกไนต์ภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นกว่าปี 2541 เล็กน้อย และ
หากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น โครงการต่างๆ ที่ชะลอตัวเริ่มดำเนินการความต้องการใช้ ถ่านลิกไนต์ก็จะมี
ปริมาณเพิ่มขึ้นด้วย