ตะกั่ว (Lead)                    แสงเพ็ชร์ บุดชาดา

                แร่ตะกั่วที่สำคัญ คือ ตะกั่วซัลไฟด์ (Galena) สูตรเคมี PbS รองลงมา คือ ตะกั่วคาร์บอเนต (Cerussite)
สูตรเคมี PbCO3 และตะกั่วซัลเฟต (Anglesite) สูตรเคมี PbSO4 สำหรับแร่ตะกั่วซัลไฟต์ มีปริมาณตะกั่วถึงร้อย
ละ86.6 กำมะถัน(S) ร้อยละ 13.4 ถ้าเป็นผลึกมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกเต๋า และแตกออกเป็นรูปลูกเต๋าเล็ก ๆ ถ้าผลึกเล็กละเอียดมากจะแลดูระยิบระยับ มีสีผงละเอียด สีเทาตะกั่วเนื้อค่อนข้างอ่อน มีความแข็งประมาณ 2.5-3

แหล่งแร่
                    แร่ตะกั่วเป็นแร่ที่มีโครงสร้างกำเนิดร่วมกันของแร่ตะกั่ว-สังกะสีและทองแดงแผ่กระจายอยู่ใน
หินดินดาน หินปูนหินโดโลไมต์ ในประเทศไทยมีการทำเหมืองตะกั่วในบริเวณพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี แร่ตะกั่วที่พบเป็นแร่ปฐมภูมิหรือแร่ตะกั่วซัลไฟด์ แหล่งแร่ตะกั่วที่สำคัญอยู่ในเขตอำเภอทองผาภูมิ-สังขละบุรี
มีการทำเหมืองมาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปีแล้ว สมัยก่อนกรรมวิธีการทำเหมืองใช้การเจาะงันตามสายแร่
บางแห่งทำโดยวิธีเหมืองหาบและได้พัฒนาเป็นการทำเหมืองแบบอุโมงค์ ปัจจุบันพื้นที่แหล่งแร่ที่สำคัญมีอยู่
3 บริเวณ คือ กลุ่มบ่องาม กลุ่มสองท่อ และกลุ่มบ่อใหญ่-บ่อน้อย มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 76 ตารางกิโลเมตร
นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงยังมีการ ขออนุญาตทำเหมืองแร แต่พื้นที่เกือบทั้งหมดครอบคลุมพื้นที่เขตรักษา
พันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง และพื้นที่เตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติของกรมป่าไม้คาดว่า
จะมีปริมาณแร่สำรองที่พิสูจน์แล้วของแร่ตะกั่วปฐมภูมิสูงถึง 6.55 ล้านตัน และแร่ตะกั่วทุติยภูมิหรือแร่ตะกั่ว
คาร์บอเนตประมาณ 1.18 ล้านตัน ปริมาณแร่สำรองดังกล่าวนี้สามารถประกอบกิจกรรมการทำเหมืองแร่ได้
อีกประมาณ 100 ปี

การผลิตแร่ตะกั่ว
                    แร่ตะกั่วที่ผลิตได้ในประเทศมี 2 ชนิด คือ แร่ตะกั่วคาร์บอเนตและแร่ตะกั่วซัลไฟด์ แร่ตะกั่ว
คาร์บอเนต ีการผลิตในเขตอำเภอทองผาภูมิ สังขละบุรี โดยบริษัทตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทผลแอนด์ซัน จำกัด บริษัทบ่อใหญ่ไมนิ่ง จำกัดและ บริษัทกาญจนบุรี เอ็กโพลเรชั่นแอนด์ไมนิ่ง จำกัด
ผลผลิตที่ได้จะถูกส่งไปโรงถลุงแร่ตะกั่วของบริษัท โลหะตะกั่วไทย จำกัด เพื่อผลิตเป็นโลหะตะกั่วบริสุทธิ์
99.99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแร่ตะกั่วซัลไฟด์ มีการผลิตโดยบริษัทกาญจนบุรีเอ็กโพลเรชั่นแอนด์ไมนิ่ง (เค็มโก้) จำกัด
ผลผลิตแร่ที่ผลิตได้จะส่งออกไปจำหน่าย ต่างประเทศทั้งหมด เนื่องจากในประเทศยังไม่มีโรงถลุงแร่ชนิดนี้
จาก ข้อมูลสถิติการผลิตแร่ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา       (2537-2541)       มีผลผลิตแร่ตะกั่วทั้งหมดจำนวน
118,326 ตัน
                ผลผลิตแร่เฉลี่ยปีละประมาณ 23,665 ตัน มีมูลค่าประมาณปีละ 148 ล้านบาท และ ในปี 2541 มีผลผลิต
แร่ตะกั่วจำนวน 15,146 ตัน มูลค่า 108.1 ล้านบาท ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบกับปี 2540 มีผล
ผลิตเพียง 12,438 ตัน มูลค่า 79.9 ล้านบาทการผลิตแร่ตะกั่วมีปริมาณเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาโลหะตะกั่วในตลาด
โลกมีการปรับตัวลดลงกว่าปีที่ผ่านมา
                                  ตารางการผลิตและการใช้แร่ตะกั่ว

                                                                    หน่วย : เมตริกตัน
                                                                   มูลค่า : ล้านบาท
 
ปี
การผลิต
การใช้
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
18,713
86.7
5,008
64.8
2538
22,786
122.8
7,146
83.5
2539
49,243
346.4
5,213
67.5
2540
12,438
79.9
3,736
48.4
2541
15,146
108.1
3,506
45.4
 

การใช้แร่ตะกั่ว
                ผลผลิตแร่ตะกั่วคาร์บอเนตที่ผลิตได้จะส่งไปโรงถลุงแร่ตะกั่วของบริษัทโลหะตะกั่วไทย จำกัด
เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตโลหะตะกั่วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2537-2541) มีการใช้แร่ตะกั่วทั้งสิ้นจำนวน
24,609 ตัน มีการใช้แร่เฉลี่ยปีละประมาณ 4,922 ตัน มีมูลค่าประมาณปีละ 62 ล้านบาท ในปี 2541 มีปริมาณ
การใช้แร่ตะกั่วลดลงเพียงเล็กน้อยเหลือจำนวน 3,506 ตัน มูลค่า 45.4 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2540 มี
การใช้สูงถึง 3,736 ตัน มูลค่า48.4 ล้านบาท

การผลิตโลหะตะกั่ว
                การผลิตโลหะตะกั่วปัจจุบันมีผู้ประกอบการจำนวน 5 ราย ผลิตโลหะตะกั่วจากเศษแบตเตอรี่ชำรุด
จำนวน 4 ราย คือ บริษัท เบอร์กโซ่เมตัลล์ จำกัด บริษัท ไทย-ไชน่านันเฟอรัชเมทัล- อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เลี่ยงฮวดหล่อหลอมโลหะ     และห้างหุ้นส่วนจำกัด วงศ์ตระกูลโลหะกิจ     ส่วนบริษัท
โลหะตะกั่วไทย จำกัด เป็นผู้ผลิตโลหะตะกั่วจากแร่ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมามี การผลิตโลหะตะกั่วทั้งหมด
จำนวน 94,934 ตันผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 18,986 ตัน ในปี 2541  มีการผลิตโลหะตะกั่วทั้งหมดจำนวน
22,125 ตันเป็นผลผลิตจากโลหะตะกั่วบริสุทธิ์ (Lead) จำนวน 3,219 ตัน ผลผลิตจากโลหะตะกั่วผสม
(Lead alloys)จำนวน 18,906 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2540 มี ผลผลิตเพียง 19,080 ตัน มีการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ
ร้อยละ 16

การใช้โลหะตะกั่ว
                โลหะตะกั่วในประเทศส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ประมาณร้อย
ละ 90   นอกจากนั้นใช้ในการผลิตกระสุนปืน ทำเปลือกหุ้มสายเคเบิ้ล ทำโลหะบัดกรีและงานหล่อต่าง ๆ ปริมาณการใช้โลหะตะกั่วลดลงมีสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั้งในประเทศและต่างประเทศ กล่าว
คือ ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจปริมาณการใช้โลหะมีอัตราเพิ่มขึ้น แต่ในปี 2540 เป็นปีที่ภาวะเศรษฐกิจ
ตกต่ำอย่างรุนแรงและเป็นปัญหาเรื้อรังมาตลอดจนถึงปัจจุบันอุตสาหกรรมโลหะตะกั่วทั้งระบบได้รับผล
กระทบและประสบปัญหาทางธุรกิจอย่างหนักโดยเฉพาะปัญหาสภาพคล่องที่ทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน
จนบางอุตสาหกรรมต้องปิดกิจการไป หรือบางรายต้องลดการผลิตลง เช่น อุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่รถยนต์
ที่ได้รับผลกระทบด้วย จากแนวโน้มการใช้โลหะตะกั่วในอุตสาหกรรมดังกล่าว คาดว่าปริมาณการใช้โลหะ
จะลดลงอย่างต่อเนื่องไปอีกสักระยะ กล่าวคือ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2537-2541) ผลผลิตโลหะตะกั่วใน
ประเทศทั้งหมดมีจำนวน94,934 ตัน แต่ปริมาณการใช้โลหะตะกั่วมีมากถึง 302,017 ตัน โดยในปี 2540
มีการใช้โลหะตะกั่วทั้งหมดจำนวน 56,157 ตันแต่ในปี 2541 ปริมาณการใช้ลดลงถึงร้อยละ 25.2 เหลือเพียง
จำนวน 41,990 ตัน
                           ตารางการผลิต และการใช้ โลหะตะกั่ว

                                                                                 หน่วย : เมตริกตัน
 
ผลิตภัณฑ์/ปี
2537
2538
2539
2540
2541
การผลิต 

โลหะตะกั่วบริสุทธิ์ 

โลหะตะกั่วผสม 

รวม 

การใช้ 

โลหะตะกั่วบริสุทธิ์ 

โลหะตะกั่วผสม 

รวม
4,950
11,953
16,903
33,948
27,686
61,634
7,965
11,150
19,115
37,749
25,279
63,028
4,922
12,789
17,711
48,114
31,094
79,208
4,112
14,968
19,080
32,286
23,871
56,157
3,219
18,906
22,125
22,431
19,559
41,990
 ที่มา : ฝ่ายพัฒนาโลหกรรม กองโลหกรรม กรมทรัพยากรธรณี

การนำเข้าและการส่งออก
                ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าโลหะตะกั่วจากต่างประเทศเนื่องจากโลหะตะกั่วในประเทศ
ทั้งหมดยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ การนำเข้า โดยในปี 2540 มีการนำเข้าโลหะตะกั่วทั้งหมดจำนวน
39,227 ตัน   มูลค่า 995 ล้านบาทส่วนในปี 2541 มีการนำเข้าโลหะตะกั่วลดลงร้อยละ 38.6 เหลือเพียงจำนวน
24,083  ตัน มูลค่า   796  ล้านบาทสำหรับปริมาณการส่งออกแร่ตะกั่วมีปริมาณเพียงเล็กน้อยจะส่งออกในรูป
ของแร่ตะกั่วซัลไฟล์ไปถลุงใน ต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลียจีน อินเดีย สเปน และสวิตเซอร์แลนด์
การส่งออกแร่ตะกั่ว ในปี 2541 มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 85 จากปริมาณ10,000 ตัน ในปี 2540
เป็นปริมาณ 18,500 ตัน ในปี 2541 สำหรับการส่งออกโลหะตะกั่วนั้นส่วนใหญ่จะส่งออกในรูปของโลหะ
ตะกั่วและตะกั่วผสม เนื่องจากการผลิตภายในประเทศยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ จึง
มีปริมาณการส่งออกไม่มากนัก แต่ในปี 2541 ความต้องการใช้ภายในประเทศลดลงประกอบกับค่าเงินบาท
อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศ ทำให้มีการส่งออกโลหะตะกั่วเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ของ
การส่งออก ซึ่งสูงถึงร้อยละ 343 จากปริมาณการส่งออกในปี 2540 มีเพียงจำนวน 1,091 ตัน เป็นปริมาณ
4,837 ตัน มูลค่า 120 ล้านบาท ในปี 2541
                          ตารางการการส่งออกแร่และโลหะตะกั่ว

                                                                                หน่วย : เมตริกตัน
                                                                               มูลค่า : ล้านบาท
 
 
ปี
แร่ตะกั่ว
โลหะตะกั่ว
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
8,751
49.5
50
3.0
2538
17,270
181.5
334
13.0
2539
10,000
134.7
89
5.0
2540
10,000
110.0
1,091
38.0
2541
18,500
208.4
4,837
120
ระดับราคาโลหะตะกั่ว
                โลหะตะกั่วที่มีการซื้อ-ขายจำหน่ายกันทั้งในประเทศและต่างประเทศมีการกำหนดราคาซื้อขาย
อิงราคาโลหะตลาดโลก คือ ตลาดลอนดอน (London Metal Exchange LME) ซึ่งเป็นตลาดสำคัญในการ
กำหนดราคาโลหะตะกั่ว ราคาของ LME ถูกใช้เป็นฐานในการซื้อขายโดยผู้ผลิตและผู้ใช้ในการซื้อขาย
แร่ concentrate ตลอดจนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากตะกั่ว ราคาซื้อขายโลหะตะกั่วในปี 2540 ที่ตลาด LME อยู่
ในระดับ 688-840 เหรียญสหรัฐต่อตัน แต่ในปี 2541 ราคาลดลงถึงร้อยละ 15.3 เหลือระดับราคาเฉลี่ย
ณ 528.5 เหรียญสหรัฐต่อตัน
                ราคาประกาศเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประเมินสำหรับเรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่ของ กรมทรัพยากรธรณี
เป็นราคาที่แปลงเป็นราคาต่อเมตริกตัน โดยในปี 2541 ราคาเฉลี่ยเพื่อใช้เก็บค่าภาค-หลวงของตะกั่ว 100%
อยู่ที่ระดับ 17,004.5 บาท/ตัน และโลหะตะกั่วอยู่ที่ระดับ 12,946 บาท/ตัน
                                   ตารางราคาแร่และโลหะตะกั่ว
                                                                                       หน่วย : บาท/ตัน
                                                                                                : U$/ตัน
 
ที่
ราคาตลาดลอนดอน
ราคาประกาศ (บาท/ตัน)
   
แร่ตะกั่ว 100%
โลหะตะกั่ว
2537
2538
2539
2540
2541
548
631
774
623.7
528.5
10,739.28
12,746.42
16,630.46
15,570.56
17,004.15
12,946.0
12,946.0
12,946.0
12,946.0
12,946.0
การคาดการณ์และแนวโน้มในอนาคต

การผลิตโลหะตะกั่วภายในประเทศส่วนใหญ่ใช้แร่ตะกั่วคาร์บอเนตเป็น วัตถุดิบในการถลุง บริษัทโลหะ
ตะกั่วไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตโลหะตะกั่วจากแร่คาร์บอเนตเพียงรายเดียวในประเทศมีแผนการสร้างโรงงาน
เพื่อใช้แร่ตะกั่วซัลไฟด์เป็นวัตถุดิบทดแทนแร่ตะกั่วคาร์บอเนตที่มีปริมาณแร่เหลือใช้ได้อีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า
ซึ่งจะทำให้สามารถนำแร่ตะกั่วซัลไฟด์ที่มีปริมาณสำรองประมาณ 6.55 ล้านตัน มาถลุงเพื่อรองรับความต้อง
การใช้ในอนาคต การผลิตและการใช้แร่ตะกั่วใน ปี 2542 มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2541 ไม่มากเนื่อง
จากภาวะเศรษฐกิจแต่คาดว่าเมื่อเศรษฐกิจในประเทศและทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวความต้องการใช้แร่ตะกั่ว      และ
โลหะตะกั่วจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเหมือนที่ผ่านมา