ดินขาว (Kaolin)                 ลัดดา ลาภจตุรภุช

                    ดินขาวในประเทศไทย มีคุณสมบัติแตกต่างกันตามลักษณะการเกิดในแหล่งต่าง ๆ การนำไป
ใช้ในอุตสาหกรรมจะขึ้นกับคุณสมบัติดินขาวในแหล่งนั้น ๆ ดังนี้

ดินขาวระนอง มีสีขาวถึงเหลืองอ่อน เนื้อดินหยาบเมื่อล้างจะจมตัวเร็ว เนื้อดินจะขาวหลังเผามีความ
คมสูงไม่เหมาะกับงานอุตสาหกรรมกระดาษ จึงใช้ในงานเซรามิกเท่านั้น

ดินขาวนราธิวาส เนื้อดินขาวละเอียดกว่าดินระนอง หลังล้างหรือแต่งแล้ว จะได้เนื้อดินมากกว่า
ส่วนใหญ่เป็นดินขาวฟิลเลอร์ ส่งโรงงานกระดาษที่บางปะอิน และใช้ในงานเซรามิกด้วย

ดินขาวปราจีนบุรี เนื้อดินขาวเหนียวแต่สีไม่ขาวจัด พอล้างแต่งแล้วเนื้อดินจะมีความละเอียดและ
เหนียวมากใกล้เคียงกับดินนราธิวาส เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ
เซรามิกและทำปุ๋ยเคมีเม็ด

ดินขาวลำปาง เนื้อดินแน่นสีไม่ขาว แต่เมื่อเผาแล้วจะได้สีขาวฟาง เนื้อดินสุกตัวเร็วและหล่อได้
ดีกว่าดินแหล่งอื่นเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมเซรามิก

ดินขาวอุตรดิตถ์ เป็นดินมีสิ่งเจือปนน้อยและมีสีขาวมาก แต่หลังเผาแล้วสีไม่ขาว จึงไม่เหมาะ
กับอุตสาหกรรมเซรามิกมักนิยมใช้ในอุตสาหกรรมสี ปุ๋ย ยาง และยาฆ่าแมลง

การผลิต
                ผลผลิตดินขาวทุกประเภทในปี 2541 ผลิตได้ในปริมาณ 420,164.9 ตัน มูลค่า 330.6 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ   19.3   จากปี 2540    ซึ่งมีปริมาณผลผลิต   520,658    ตัน มูลค่า 405.1 ล้านบาท ในปี 2541
ดินขาวทุกประเภทมีการผลิตลดลง

ดินขาวเกรดฟิลเลอร์
ผลผลิตดินขาวเกรดฟิลเลอร์ในปี 2541 มีปริมาณ 14,633.3 ตัน มูลค่า 27.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
21 จากปี 2540 ซึ่งมีผลผลิต 18,588 ตัน มูลค่า 35.3 ล้านบาท ผลผลิตดินขาวเกรดฟิลเลอร์เป็น
ผลผลิตจากจังหวัดอุตรดิตถ์ และนราธิวาส โดยอุตรดิตถ์มีผลผลิต 9,330 ตัน มูลค่า 17.7 ล้านบาท
และนราธิวาสมีผลผลิต6,144.5 ตัน มูลค่า 11.7 ล้านบาทดินขาวจากนราธิวาสใช้ในอุตสาหกรรม
กระดาษและเซรามิกส่วนดินขาวจากอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมสี

ดินขาวเกรดเซรามิก
ดินขาวเกรดเซรามิกหรือดินขาวล้างแต่งแล้วในปี 2541 มีปริมาณผลผลิต 255,152 ตัน มูลค่า 244.9
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.8 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณผลผลิต 306,835 ตัน มูลค่า 294.6 ล้านบาท
จังหวัดที่มีผลผลิตสูงสุดในปี 2541 คือ จังหวัดระยอง ซึ่งมีผลผลิตถึง 97,395 ตัน มูลค่า 93.5 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 38.2 ของผลผลิตดินขาวเกรดเซรามิก รองลงมาเป็นจังหวัดระนองและลำปาง โดยมี
ผลผลิต    58,503.3   ตัน มูลค่า 56.2 ล้านบาท และ 48,490 ตัน มูลค่า 46.6 ล้านบาทตามลำดับ

ดินขาวยังไม่ล้าง
ดินขาวดิบหรือดินขาวยังไม่ล้างของปี 2541 มีปริมาณผลผลิต 150,379.5 ตัน มูลค่า 57.9 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 23 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณผลผลิต 195,235 ตัน มูลค่า 75.2 ล้านบาท จังหวัดลำปางมี
ผลผลิตสูงสุดคือ   81,120   ตัน มูลค่า   31.2   ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 53.9   ของผลผลิต ดินขาวดิบ
รองลงมาเป็นจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีผลผลิต 44,000 ตัน มูลค่า 16.9 ล้านบาท

การใช้
การใช้ดินขาวรวมทุกประเภทในปี 2541 มีปริมาณการใช้ 329,933.5 ตัน มูลค่า 289 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
78.5 ของผลผลิตปริมาณการใช้ลดลงจากปีที่แล้ว 68,793.5 ตัน มูลค่าลดลง 37.7 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ
17.3 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณการใช้ 398,727 ตันมูลค่า 326.7 ล้านบาท

ดินขาวเกรดฟิลเลอร์
การใช้ดินขาวเกรดฟิลเลอร์ในปี 2541 มีปริมาณการใช้ 14,763.3 ตัน มูลค่า 28.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13
จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณการใช้ 16,981 ตัน มูลค่า 32.3 ล้านบาท นำไปใช้ใน อุตสาหกรรมกระดาษ 1,985 ตัน
มูลค่า 3.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.7  การใช้ดินขาวเกรดฟิลเลอร์

ดินขาวเกรดเซรามิก
ดินขาวเกรดเซรามิกในปี 2541 มีปริมาณการใช้ 242,570.9 ตัน มูลค่า 232.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.4
จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณการใช้ 256,498 ตัน มูลค่า 246.2 ล้านบาท ปริมาณการใช้ดินขาวเกรดเซรามิก
ในปี 2541 คิิดเป็นร้อยละ 59.7 ของปริมาณผลผลิต

ดินขาวยังไม่ล้าง
ดินขาวดิบหรือดินขาวยังไม่ล้างในปี 2541 มีปริมาณการใช้ 72,599.3 ตัน มูลค่า 28 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 42 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณการใช้ 125,248 ตัน มูลค่า 48.2 ล้านบาท ปริมาณการใช้ดินขาวดิบ
ในปี 2541 นี้คิดเป็น ร้อยละ 48.3  ของปริมาณผลผลิต 
                                        ตารางการผลิตดินขาว
                                                                                                                                                 ปริมาณ: เมตริกตัน
                                                                                                                                                    มูลค่า : ล้านบาท 
ปี
ดินขาว-Filler
ดินขาว-Unwashed
ดินขาว-Washed
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2527
8,503
11.3
108,442
28.8
417,064
278.0
2538
10,856
21.0
138,594
46.0
460,629
442.2
2539
22,564
48.9
134,972
51.1
553,770
531.6
2540
18,588
35.3
195,235
75.2
306,835
294.6
2541
14,633
27.8
150,380
57.9
255,152
244.9

 
 
                                   การใช้ดินขาว
                                                                                                                                                 ปริมาณ: เมตริกตัน
                                                                                                                                                   มูลค่า : ล้านบาท
ปี
ดินขาว-Filler
ดินขาว-Unwashed
ดินขาว-Washed
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2527
7,617
10.3
148,374
39.8
264,032
199.0
2538
12,550
23.3
191,060
62.1
301,378
289.3
2539
19,397
36.9
134,237
51.0
370,502
355.7
2540
16,981
32.3
125,248
48.2
256,498
246.2
2541
14,763
28.1
72,599
28.0
242,571
232.9
 


การนำเข้า
                ในปี 2541 มีการนำเข้าดินขาวทั้งสิ้นในปริมาณ 38,280 ตัน มูลค่า 340.6 ล้านบาท ปริมาณ
นำเข้าลดลงร้อยละ 40.3 มูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 21.1 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณนำเข้า 64,141 ตัน
มูลค่านำเข้า 431.7 ล้านบาทการนำเข้าดินขาวได้แยกประเภทตามการนำไปใช้ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

                1. นำเข้าเพื่ออุตสาหกรรมเซรามิก
                การนำเข้าดินขาวเพื่ออุตสาหกรรมเซรามิกในปี 2541 มีปริมาณนำเข้า 15,485 ตัน มูลค่า 122
ล้านบาทปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ 35.6 มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณนำเข้า
24,050 ตัน มูลค่า 110.8 ล้านบาททั้งนี้คงเป็นเพราะภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทลอยตัวส่งผลให้
มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น ปริมาณนำเข้าลดลงอย่างมาก โดยนำเข้าจากอังกฤษ มาเลเซีย และญี่ปุ่น เป็นส่วนใหญ่

                2. นำเข้าเพื่ออุตสาหกรรมกระดาษ
                การนำเข้าดินขาวเพื่ออุตสาหกรรมกระดาษในปี 2541   มีปริมาณนำเข้า   9,251   ตัน มูลค่า 80
ล้านบาท ปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ43.2   มูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 25 จากปี 2540   ซึ่งมีปริมาณนำเข้า
16,393 ตัน มูลค่านำเข้า 106.7 ล้านบาท เช่นเดียวกับดินขาวนำเข้าเพื่ออุตสาหกรรม เซรามิก ปริมาณนำเข้า
ลดลงในอัตราที่สูงกว่ามูลค่า ส่วนใหญ่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย

                3. นำเข้าเพื่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ
                การนำเข้าดินขาวเพื่ออุตสาหกรรมอื่น ๆในปี 2541 มีปริมาณนำเข้า 13,544 ตัน มูลค่า 138.6 ล้านบาท
ปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ 43.1 มูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 35.3 จากปี 2540    ซึ่งมีปริมาณนำเข้า   23,799 ตัน
มูลค่า 214.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น

การส่งออก
                    ในปี 2541 มีการส่งออกดินขาวทั้งสิ้นในปริมาณ 10,385 ตัน มูลค่า 54.8 ล้านบาท ปริมาณ
ส่งออกลดลงร้อยละ 14.8 มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 48 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณส่งออก 12,184 ตัน
มูลค่า 37 ล้านบาท มูลค่าที่เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าจากดินขาวเกรดเซรามิก ดินขาวเเพื่ออุตสาห-กรรมกระดาษ
ไม่มีการส่งออกในปี 2541 นั้น
                1. ดิินขาวเพื่ออุตสาหกรรมเซรามิก
                การส่งออกดินขาวเพื่ออุตสาหกรรมเซรามิกในปี 2541 มีปริมาณ 8,813 ตัน มูลค่า 33.1 ล้านบาท
ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ17.2 มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 195 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณส่งออก 10,647 ตัน
มูลค่า 11.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศไต้หวัน
                2. ดินขาวเพื่ออุตสาหกรรมกระดาษ
                           ไม่มีการส่งออกในปีนี้
                3. ดินขาวเพื่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ
                การส่งออกดินขาวเพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมเซรามิกจากกระดาษ ในปี 2541
มีปริมาณส่งออก 1,572 ตันมูลค่า 21.7 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 มูลค่าลดลงร้อยละ 12.5 จาก
ปี 2540 ซึ่งมีปริมาณส่งออก 1,493 ตัน มูลค่า 24.8 ล้านบาท ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียง คือ
สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และกัมพูชา

ราคา
                  ราคาหน้าเหมือง

                ลำปาง
                ดินขาวไม่สะอาด 170 บาท/เมตริกตัน
                ดินขาวแต่งแล้วเกรดเซรามิก
                        เกรด A 1,086 บาท/เมตริกตัน
                        เกรด B 540 บาท/เมตริกตัน
                หินผุ 180-200 บาท/เมตริกตัน

                ระนอง
                ดินขาวแต่งแล้วขนาด 200 เมช (ความชื้น 15%)
                        ราคา 700-900 บาท/เมตริกตัน
                ดินขาวแต่งแล้วขนาด 325 เมช (ความชื้น 15%)
                        ราคา 1,000-1,200 บาท/เมตริกตัน
                ราคาส่งออกเกรดสุขภัณฑ์ประมาณ 120-150 US$/เมตริกตัน

ราคาประกาศ
                ราคาประกาศดินขาวเพื่อใช้ในการเก็บค่าภาคหลวงเมื่อวันที่ มิ.ย.42 มีดังนี้
                        ดินขาวไม่สะอาด 385 บาท/เมตริกตัน
                        ดินขาวแต่งเกรดเซรามิก 960 บาท/เมตริกตัน
                        ดินขาวแต่งเกรดฟิลเลอร์ 1,900 บาท/เมตริกตัน

ค่าภาคหลวง
               ค่าภาคหลวงสำหรับดินขาว จะเก็บร้อยละ 4 ของราคาประกาศ
                            ดินขาวไม่สะอาด เก็บค่าภาคหลวง 15.40 บาท/เมตริกตัน
                            ดินขาวแต่งเกรดเซรามิก เก็บค่าภาคหลวง 38.40 บาท/เมตริกตัน
                            ดินขาวแต่งเกรดฟิลเลอร์ เก็บค่าภาคหลวง 76.00 บาท/เมตริกตัน

จำนวนเหมืองเปิดการ
                ในเดือน ธันวาคม 2541 มีจำนวนเหมืองดินขาวเปิดการทั่วประเทศรวม 64 เหมือง ลดลงถึง
17 เหมืองจากปี 2540 ซึ่งมีเหมืองเปิดการ 81 เหมือง โดยเหมืองเปิดการในจังหวัดลำปาง 30 เหมือง
อุตรดิตถ์ และระนองจังหวัดละ 8 เหมือง

จำนวนคนงาน
                ในเดือน ธันวาคม 2541 มีจำนวนคนงานในเหมืองดินขาวทั่วประเทศรวม   776   คน ลดลง
42 คน จากปี 2540 คนงานที่เหมืองดินขาวลำปางมีจำนวน 277 คน (30 เหมือง) ขณะที่คนงานมีเหมือง
ดินขาว จังหวัดระนองมีจำนวน 204 คน (8 เหมือง)

ปัญหาอุปสรรค
                คุณภาพดินในแหล่งแร่ไม่สม่ำเสมอ และส่วนใหญ่การแต่งแร่ยังมีการใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิม
ไม่ทันสมัย การลงทุนในเทคโนโลยีทันสมัยต้องใช้เงินทุนสูงผู้ประกอบการรายย่อยจึงนิยมการแต่งแร่
แบบรางซิกแซกโดยใช้น้ำตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการสูญเสียดินขาวไปในระหว่างขบวนการแต่งแร่
ได้ผลผลิตไม่เต็มที่ และคุณภาพที่ได้ก็ไม่สม่ำเสมอเป็นปัญหากับลูกค้าผู้นำไปใช้เป็น วัตถุดิบในการผลิต
ภัณฑ์เซรามิกต่าง ๆ

แนวโน้ม
                แนวโน้มการผลิตและการใช้ดินขาวขึ้นกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ กล่าวคือ ขึ้นกับภาระ
อุตสาหกรรมเซรามิก ซึ่งก็ขึ้นกับภาวะของอุตสาหกรรมก่อสร้างหรืออสังหาริมทรัพย์ ต้นปี 2542ภาวะ
อุตสาหกรรมก่อสร้างหรืออสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซาต่อเนื่องจากปีก่อน ภาวะเศรษฐกิจยังไม่พ้นวิกฤษ
ธนาคารหรือสถาบันการเงินยังไม่ยินยอมให้กู้ยืมเงินเพื่อลงทุนต่าง ๆ หรือเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพราะ
เกรงหนี้สูญ กลางปี 2542 ดอกเบี้ยต่าง ๆ เริ่มลดลงสถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์เดิมที่สร้างเสร็จแล้วและเกิดวิกฤตจนทำให้สถาบันการ
เงินไม่ให้สินเชื่อ หรือผู้ซื้อขาดส่งเงินกู้จนถูกสถาบันการเงินยึดมาขาย