ยิปซัม (Gypsum)        สมบัติ วรินทรนุวัตร


                แร่ยิปซัมเป็นแร่ที่ได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมากแร่หนึ่ง สาเหตุ เนื่องจาก
แร่ยิปซัมเป็น แร่สำคัญแร่หนึ่งที่ใช้เป็นฐานวัตถุดิบในการพัฒนาอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ ของประเทศ
เช่น อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ แผ่นยิปซัมบอร์ด ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณการใช้โดยรวม
ของแร่ยิปซัมของประเทศ    มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงตามแนวโน้มของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ
ประเทศ โดยในระยะยาวแนวโน้มของความต้องการใช้แร่ยิปซัมในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น รัฐจึงเห็น
ความสำคัญของการใช้แร่ยิปซัม เพื่อใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศอนาคตมากขึ้น โดย
ในช่วงปี 2536-2538คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณากำหนดแนวทางและเร่งรัด
ให้มีการสงวนทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลืองที่ใช้วัตถุดิบในการพัฒนา อุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่ง
ประกอบด้วยแร่ยิปซัม เฟลด์สปาร์   แบไรต์   ไพโรฟิลไรต์   ดินขาว  และโดโลไมต์   รวม   6   ชนิด และ
ประกาศกฎกระทรวงอุตสาหกรรมให้มีการควบคุมการส่งออกแร่ทั้ง 6 ชนิดนี้ เพื่อคงไว้ใช้ในประเทศ
และรักษาระดับราคาส่งออกแร่ดังกล่าวด้วย

การผลิต
                แหล่งผลิตที่สำคัญของแร่ยิปซัมในประเทศไทยโดยทั่วไปมักพบอยู่ในบริเวณ ภาคเหนือ    และ
ภาคใต้ โดยภาคเหนืออยู่ในจังหวัดพิจิตร และนครสวรรค์ และภาคใต้ พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดสุราษฏร์ธานี
                โครงสร้างการผลิตของแร่ยิปซัมประเทศไทย เดิมเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองของความต้องการ
ส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในปี 2537 จากการที่กำหนดให้แร่ยิปซัมเป็นแร่ควบคุมเพื่อการส่งออก จึงทำ
ให้การผลิตแร่ยิปซัม เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ในประเทศมีความสำคัญเพิ่มขึ้น
                ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (2537–2541) ประเทศได้มีการผลิตยิปซัมมากที่สุดในปี 2539 คิดเป็นปริมาณ
8.93ล้านเมตริกตัน มูลค่า 3,797.2 ล้านบาท ต่อมามีการผลิตยิปซัมลดลงโดยในปี 2540 ประเทศไทยผลิตแร่
ยิปซัมได้ 8.56 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 4.22 ในขณะที่มูลค่าของยิปซัมกลับดีขึ้น
โดยในปี 2540ที่มีมูลค่า4,030.7 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.15 ของปี 2539 เนื่องจากผลของมาตรการ
การควบคุมการส่งออกแร่ยิปซัมส่วนในปี 2541 ปริมาณการผลิตแร่ยิปซัมลดลงต่อเนื่องจากปี 2540 มีปริมาณ
การผลิต 4.33 ล้านเมตริกตันมูลค่า 2,844.7ล้านบาท คิดเป็นปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 49.36 และมูลค่า
การผลิตลดลงคิดเป็นร้อยละ 29.42 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจรวมของประเทศที่มีความต้องการในอุตสาหกรรม
ก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการก่อสร้างที่อยู่อาศัย มีความต้องการรวมลดลง และเนื่องจากภาวะ
เศรษฐกิจตกต่ำในภูมิภาคเอเซียตะวันออกซึ่งเป็นกลุ่มประเทศนำเข้าแร่ยิปซัมของไทย

            ตารางการผลิต การใช้ และการส่งออกแร่ยิปซัมในประเทศ
                                                                                                                                                      ปริมาณ: เมตริกตัน
                                                                                                                                                         มูลค่า : ล้านบาท
ปี
การผลิต
การใช้ในประเทศ
การส่งออก
2527
8,139,817
2,702.4
1,748,450
580.5
6,082,349
1,945
2538
8,533,225
3,448.5
1,932,600
770.9
6,170,375
2,194.6
2539
8,934,492
3,797.2
2,418,475
1,027.8
5,588,785
2,409.7
2540
8,557,584
4,030.7
1,972,925
894.2
5,977,284
3,114.6
2541
4,333,804
2,844.7
1,200,576
767.5
3,561,425
2,301.6