กลุ่มแร่เฟลด์สปาร์ (The Feldspars group)

 

เฟลด์สปาร์ เป็นแร่ประกอบหินที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่ง เป็นกลุ่มซิลิเกต (Silicates) ที่มี โปตัสเซียม โซเดียม และแคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญ ผลึกอยู่ในระบบโมโนคลินิค และไตรคลินิค มีรอยแยกแนวเรียบสองแนวตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉากกัน ความแข็งในระบบ Mohs scale ประมาณ 6 ความถ่วงจำเพาะ ระหว่าง 2.55-2.75 กลุ่มแร่เฟลด์สปาร์เป็นกลุ่มแร่ค่อนข้างใหญ่มีเกือบ 20 ชนิดด้วยกัน แต่ที่รู้จักกันมากมีประมาณ 9 ชนิดด้วยกันและมีเพียง 2-3 ชนิดเท่านั้นที่พบและมีการผลิตขึ้นมาใช้ประโยชน์กันมาก

 

กลุ่มพลาจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ (The plagioclase feldspars)

กลุ่มอัลคาไลด์เฟลด์สปาร์ (The K-feldspars or alkali felspars)

 

กลุ่มพลาจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ (The Plagioclase  feldspars)

 

แร่อัลไบต์ (Albite or Sodium aluminum silicate) เป็นแร่สำคัญที่สุดที่มีการนำมาใช้ประโยชนในทางการค้า มีสูตรทางเคมีคือ NaAl2Si2O8  มีสีมีสีขาว สีเทา เขียว สีแดงเข้มเหลือง หรืออาจไม่มีสี ความวาวคล้ายแก้วหรือคล้ายมุก หรือด้านแบบดินระบบผลึกแบบไตรคลินิค (triclinic) อาจเกิดเป็นผลึกแฝด (twinned) ความแข็งระหว่าง 6-6.5 ถ.พ.2.61 โปร่งแสงโปร่งใสจนถึงทึบแสงมักเกิดร่วมกับแร่ ควอทซ์ (Quartz) แร่ทัวมาลีน (Tourmaline) และแร่มัสโคไวต์ (Muscovite ) ไบโอไทต์ Biotite  

 

แร่ Albite จากประเทศบราซิล

แร่ออริโกเคลส (Oligoclase or Sodium calcium aluminum silicate) ประกอบด้วยอัลไบต์ 90-70 % และ อะนอร์ไทต์10-30 % เป็นแร่ที่ไม่ค่อยรู้จักกันมากนักแต่ได้เคยมีการนำมาทำเป็นแร่กึ่งรัตนชาติ (semi-precious stone) เรียกว่า sunstone และ moonstone หิน sunstone  มีสูตรทางเคมีคือ Na.CA.Al2Si2O8  มีสีแดงสดเนื่องจากมีแร่เหล็กชนิด Hematite ผสมอยู่ส่วน moonstone มีสีคล้ายแร่ labradorescence แต่สีจางกว่าแร่ชนิดนี้มักมีสีเทาสีเขียวอ่อนสีน้ำตาลหรือสีเหลือง ความวาวคล้ายแก้วแต่หากมีการผุพังทำลายจะมีความด้านคล้ายดินความแข็งระหว่าง 6-6.5 ถ.พ. 2.65-2.68  มีระบบผลึกแบบไตรคลินิค (triclinic) รอยแตกแบบก้นหอย แนวแยกชนิดสมบูรณ์ในแนวหนึ่งและกือบสมบูรณ์ในอีกแนวที่เกือบตั้งฉากกัน ผงละเอียดสีขาวมักเกิดร่วมกับแร่ควอทซ์ (quartz) แร่มัสโคไวต์ (muscovite)  และ K-feldspars

Click Here for Larger Plagioclase Image

แร่ Oligoclase ชนิด sunstone ประเทศนอรเว

 

แร่ Oligoclase ชนิด moonstone ประเทศอินเดีย และรัสเซีย

 

แร่แอนดีซีน (Andesine :Sodium calcium aluminum silicate) ประกอบด้วยอัลไบต์ 70-50 % และ อะนอร์ไทต์30-50 % เป็นพลาจิโอเคลส Plagioclase ที่สำคัญของหินอัคนีชนิดหินไดออไรต์ (DIORITE) และหินแอนดีไซต์ (ANDESITE) ไม่ค่อยพบแร่ชนิดนี้บ่อยนัก ชื่อของแร่มาจากชื่อเทือกเขาแอนดีสซึ่งประกอบด้วยลาวาของหินแอนดีไซต์ มีระบบผลึกแบบไตรคลินิค (triclinic) อาจเกิดเป็นผลึกแฝด (twinned) ความแข็งระหว่าง 6-6.5 ถ.พ. 2.68-2.71 รอยแตกแบบก้นหอย (Conchoidal Fracture) ความวาวคล้ายแก้ว หรือด้านคล้ายดิน แนวแยกชนิดสมบูรณ์ในแนวหนึ่งและกือบสมบูรณ์ในอีกแนวที่เกือบตั้งฉากกัน

แร่พลาจิโอเคลสชนิด แอนดีซีน

 

แร่ลาบราดอไรต์ (Labradorite :Calcium sodium aluminum silicate) ประกอบด้วยอัลไบต์ 50-30 % และ อะนอร์ไทต์ 50-70 % เป็นแร่ที่มีความสวยงามและมีสเน่ห์มากชนิดหนึ่ง ความวาวคล้ายแก้วแต่หากมีการผุพังทำลายมากจะมีความด้านคล้ายดิน ความแข็ง 6-6.5 ถ.พ. 2.70 - 2.74 มีระบบผลึกแบบไตรคลินิค (triclinic) และมักเกิดเป็นผลึกแฝดแร่ชนดนี้มีรอยแยกและแนวระนาบของรอยแตกที่สามารถเล่นแสงทำให้เกดสีต่างๆที่สวยงามได้เรียกว่า “labradorescence” (Picture 1)  มีสีเทาจนถึงสีควันไฟ โปร่งใสจนถึงโปร่งแสงมักเกดร่วมกับแร่ Biotite  แร่ pyroxene และ hornblende

แร่ Labradorite จากประเทศมาดากาสกา

แร่ไบทาวไนต์ (Bytownite :Calcium sodium aluminum silicate) ประกอบด้วยอัลไบต์ 30-10 % และ อะนอร์ไทต์ 70-90 % เป็นแร่ที่ไม่ค่อยพบบ่อยนักมีคุณสมบัติต่างๆคล้ายกับแร่ Labradorite เพียงแต่ดัชนีการหักเหของแสงต่างกันเท่านั้น

แร่ Bytownite ประเทศเม็กซิโก

แร่อะนอร์ไทต์ (Anorthite :Calcium aluminum silicate) ประกอบด้วยอัลไบต์ 10-0 % และ อะนอร์ไทต์ 90-100 %  มักเกิดร่วมกับแร่ biotite, augite, hornblende และ pyroxenes ระบบผลึกแบบไตรคลินิค (triclinic)  อาจเกิดเป็นผลึกแฝด(Twin) ความแข็งระหว่าง 6-6.5 ถ.พ. 2.76 ความวาวคล้ายแก้วแต่หากมีการผุพังทำลายจะมีความด้านคล้ายดิน รอยแตกแบบก้นหอยแนวแยกชนิดสมบูรณ์ในแนวหนึ่งและเกือบสมบูรณ์ในอีกแนวที่เกือบตั้งฉากกัน

แร่ Anorthite จากเกาะฮอกไกโดประเทศญี่ปุ่น

กลุ่มอัลคาไลดเฟลด์สปาร(The K-feldspars or alkali felspars)

 

แร่ไมโครไคล (Microcline : Potassium aluminum silicate) เป็นแร่ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปแต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนักเคยมีการนำมาทำเป็นแร่กึ่งรัตนชาติ (semi-precious stone) รู้จักกันในนามของแร่ อเมซอนไนต์ และ แร่เพอร์ไทต์ (Amazonite and Perthite) แร่ อเมซอนไนต์ มีสีเขียวเข้มเหมาะแก่การนำมาแกะสลักและขัดผวให้วาวสวยส่วนแร่แร่เพอร์ไทต์ มีลักษณะเป็นแถบสีคล้ายกับแถบสีของม้าลาย

 

ชื่อแร่ มาจากภาษากรีก ไมโคร (micro) แปลว่าเล็ก incline แปลว่าเอียง เนื่องจากรอยแยกแนวเรียบเกือบตั้งฉากกัน คือเอียงไปเล็กน้อยชื่อแร่มาจากภาษากรีก ไมโคร แปลว่าเล็ก incline แปลว่าเอียง เนื่องจากรอยแยกแนวเรียบเกือบตั้งฉากกัน คือเอียงไปเล็กน้อย

คุณสมบัติทางฟิสิกส์คุณสมบัติทางฟิสิกส์- ระบบผลึกแบบไตรคลินิค ((triclinic)) ความแข็ง 6 มี ถพ. ระหว่าง 2.54- 2.57    รอยแยกแนวเรียบสองแนวเกือบตั้งฉากกัน ความวาวคล้ายแก้ว สีขาว เหลืองอ่อนหรือสีแดง  สีเขียวอ่อนเรียกว่าอะเมซอนสโตน (Amazone stone) เนื้อผลึกมีลักษณะโปร่งใสจนถึงโปร่งแสง

คุณสมบัติทางเคมี –มีสูตรทางเคมีคือ K Al2Si2O8 เหมือนกับออร์โทเคลสอาจมีโซเดียมแทนที่โปตัสเซียมบางส่วน

แร่ Microcline รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา

ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ  - ต่างจากออร์โทเคลสที่ระบบผลึกและมีผลึกแฝดซึ่งสังเกตได้ด้วยกล้องจุลทัศน์ ดูจากสีถ้ามีสีเขียวเข้มหรือออกสีฟ้าก็เป็นแร่ไมโครไคล

 

ประโยชน์ ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกเช่นเดียวกับออร์โทเคลส แร่อะเมซอนสโตนนำไปขัดเป็นหินประดับชนิดดีๆ เนื้อสีเขียวสวยนิยมนำไปเจียรไนเป็นรัตนชาติ

 

แร่ซานีดีน (Sanidine : Potassium sodium aluminum silicate) รูปผลึก ระบบ Monoclinic - Prismatic  ความแข็ง 6 มี ถพ. 2.52   มีเนื้อคล้ายแก้ว หรือคล้ายมุก ไม่มีสี สีขาว เทา เหลือง ผงละเอียดสีขาว ผลึกโปร่งใส มักพบเป็นฟิโนคริส (phenocryst)อยู่ในหินอัคนี

 

แร่ Sanidine ประเทศเม็กซิโก

แร่ออร์โธเคลส (Orthoclase : Potassium aluminum silicate)

 

 

แร่ Orthoclaseจากประเทศบราซิล

ชื่อแร่ หมายถึงรอยแยกแนวเรียบที่ตั้งฉากกันตามลักษณะของแร่ชนิดนี้

>>  คุณสมบัติทางฟิสิกส์

คุณสมบัติทางฟิสิกส์ – รูปผลึกแบบโมโนคลินิค (Monoclinic - Prismatic)  ความแข็ง 6 มี ถพ. 2.57   รอยแยกแนวเรียบสองแนวทำมุมฉากกัน ความวาวคล้ายแก้ว อาจมีสีขาว สีเทา สีแดงเข้ม หรือไม่มีสี ผงละเอียดสีขาว ชนิดไม่มีสีมีเนื้อโปร่งใสถึงโปร่งแสงเรียกว่า Adularia ที่มีคุณสมบัติในการเล่นสีเหลือบขาวนวลคล้ายแสงจันทร์ เรียกว่าแร่จันทร์กานต์ (MOONSTONE) เช่นเดียวกัน Moonstone อาจหมายถึงMoonstone ที่เป็นแร่เฟลด์สปาร์ชนิด Oligoclase  ก็ได้

>>  คุณสมบัติทางเคมี

คุณสมบัติทางเคมี –มีสูตรทางเคมีคือ K Al2Si2O8 มี K2O16.9 %  Al2O3 18.4 % และ SiO2 64.7% แร่ Microcline และแร่ Orthoclase  รวมเรียกว่าโพตัสเฟลด์สปาร์ แร่ทั้งสองชนิดมีสูตรทางเคมีเหมือนกันต่างกันที่ระบบผลึก อาจมีโซเดียมเข้าไปแทนที่โปตัสเซี่ยม ในบางส่วน      

 

แร่เฟลด์สปาร์ (Feldspar) หรือหินฟันม้า เป็นกลุ่มแร่ประกอบหิน ที่มีส่วนประกอบของธาตุโปรแตสเซียม โซเดียม และแคลเซียมซิลิเกต เป็นส่วนประกอบสำคัญที่สำคัญและพบบ่อยมี  3  ชนิดคือ

                  -แร่ Microcline และแร่ Orthoclase  เป็นโพตัสเฟลด์สปาร์ มีสูตรทางเคมีคือ K Al2Si2O8 มี K2O16.9 %  Al2O3 18.4 % และ SiO2 64.7% แร่ทั้งสองชนิดมีสูตรทางเคมีเหมือนกันต่างกันที่ระบบผลึกอาจมีโซเดียมเข้าไปแทนที่โปแตสเซี่ยม ในบางส่วน เกิดขณะที่หินอัคนีตกผลึก มักพบอยู่ในหินแกรนิต และสายเป็กมาไทต์

                  -แร่ Albite (โซดาเฟลด์สปาร์) มีสูตรทางเคมีคือ NaAl2Si2O8  มีสีมีสีขาว สีเทา เขียว สีแดงเข้มเหลือง หรืออาจไม่มีสี ความวาวคล้ายแก้วหรือคล้ายมุก

                  -แร่ Anorthite (ไลม์เฟลด์สปาร์) มีสูตรทางเคมีคือ CaAl2Si2O8 มีสีมีสีขาว สีเทา เขียว สีแดงเข้มเหลือง หรืออาจไม่มีสี ความวาวคล้ายแก้วหรือคล้ายมุก

                  ทั้งแร่ Albite และแร่ Anorthite มักเกิดร่วมกันเกิดขณะที่หินอัคนีตกผลึก มักพบอยู่ในหินแกรนิต และหินแปร บางชนิดในประเทศไทยพบในหินแกรนิตเท่านั้น

 

ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ  ดูจากสี  ความแข็ง และรอยแยกแนวเรียบ ต่างจากเฟลด์สปาร์ชนิดอื่นที่มีรอยแยกแนวเรียบตั้งฉากกันและไม่มีร่องขนานถี่ๆ บนผิวหน้าของรอยแยกแนวเรียบ

                 

การกำเนิด    เกิดขณะที่มีการตกผลึกของหินอัคนีระดับลึก หรืออาจเกิดจากสารละลายน้ำแร่ร้อน (Hydrothermal Solution) เกิดในหินเปกมาไทต์ หรือในหินอัคนีเช่นหินแกรนิต และอาจเกิดในชั้นหินทราย (Arkosic sandstone) และในหินแปรเช่นหินไนส์                                 

 

แหล่ง  ประเทศไทย พบอยู่ในหินแกรนิต หินเปกมาไทท์ และหินไนต์ ที่จังหวัด ตาก นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี ราชบุรี เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และอุทัยธานี

            ต่างประเทศ พบมากที่ประเทศอิตาลี ตุรกี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน สาธารณรัฐเช็ค สเปน เกาหลีไต้ เม็กซิโก อียิป อหร่าน เวเนซูเอล่า โปรตุเกตุ อินเดีย กรีก อาฟริกาใต้ นอรเว อาเจนตินา โคลัมเบีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น บราซิล เป็นต้น

 

ประโยชน์  ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก โดยนำไปผสมกับดินขาวและทรายหรือหินขวอทซ์ ทำหน้าที่เป็นน้ำประสาร (Cement) หรือตัวช่วยหลอม(flux)และช่วยลดอุณหภูมิการหลอมเหลวของเซรามิค นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมแก้ว อะลูมินาในเฟลด์สปาร์เมื่อหลอมตัวกับแก้ว จะทำให้ผลิตภัณฑ์แก้วมีความเหนียวคงทนต่อการ กระทบกระแทก ความกดดัน ความร้อนเฉียบพลันและความเป็นกรดด่างได้สูง ทำให้อยู่ตัวไม่กลายเป็น ผลึกขณะเย็นตัวทำให้สามารถจัดเป็นรูปร่างได้ ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์ เฟลด็ สปาร์ใช้ผสมในเนื้อดินปั้น เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์หลอมตัวที่อุณหภูมิต่ำ และมีความโปร่งแสงและใช้ผสมในน้ำยาเคลือบ เพื่อทำให้ผลิต ภัณฑ์มีความแวววาวเฟลด์สปาร์ละเอียดใช้ทำผงขัดทำความสะอาดเครื่องแก้ว และเครื่องเคลือบสีขาวใช้เป็น ส่วนผสมในอุตสาหกรรมทำสีและอุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง ใช้เป็นตัวเติมในอุตสาหกรรมพลาสติกและ ยาง  นอกจากนี้ยังใช้เป็นน้ำประสานหรือตัวช่วยหลอม(flux)ในอุตสาหกรรมต่างๆ และใช้ทำฟันปลอม

 

สำหรับในประเทศไทยแร่เฟลด์สปาร์ที่มี 2 กลุ่มคือ

                  1.กลุ่มแร่โซเดียมเฟลด์สปาร์ มักเป็น plagioclase feldspar  ซึ่งเป็นกลุ่มของ soda และ lime รวมถึง Albite  ที่มีการแทนที่ของโซเดียม โดยแคลเซียม ในอัตราส่วนที่ต่างกัน Na-Ca Al2Si2O8 และมักมี Orthoclase หรือ Microcline ปนอยู่ด้วยเสมอแหล่งใหญ่ที่พบและมีการผลิตอยู่ที่จังหวัดตาก และนครศรีธรรมราช  

                  ลักษณะการขายและราคา

                  - แร่ก้อนขนาด 2-4 นิ้ว ราคาตันละ 500- 800 บาทขึ้นอยู่กับคุณภาพของแร่ โดยมี เปอร์ของส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้

                        Na2O  4- 11 %

                        K2O 1-3  %

                        CaO 1-4 %

                        Al2O3 13-17  %

                        SiO2 64- 71 %

                        Fe2O3 0.1-1 %

                  - แร่บด ราคาตันละ 1,500-3,000 บาทแล้วแต่ขนาดและคุณภาพของแร่

                  การผลิต-ปัจจุบันมีการผลิตแหล่งใหญ่ที่จังหวัดตากและนครศรีธรรมราช

                  การตลาด- ไทยส่งเป็นสินค้าออกไปขายยังประเทศไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศในอ่าวเปอร์เซียหลายประเทศ

                  2.กลุ่มแร่ โพตัสเฟลด์สปาร์ มักเป็นแร่ชนิด Orthoclase มีสีขาว สีเทา สีแดงเข้มหรืออาจไม่มีสี แหล่งที่พบและมีการผลิตอยู่ที่จังหวัด ราชบุรี เชียงใหม่ ตาก และแม่อ่องสอน

                  ประโยชน์ –ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกโดยใช้ทำน้ำเคลือบผิวของเซรามิคและเครื่องสุขภัณฑ์ ต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้ในการทำฟันปลอม

                  ลักษณะการขายและราคา

                  - แร่ก้อนขนาด 2-4 นิ้ว ราคาตันละ 1,500 - 2,000 บาทขึ้นอยู่กับคุณภาพของแร่ โดยมี เปอร์เซนตของส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้

                        K2O 6 -12  %

                        Na2O  1 – 2  %

                        Al2O3 13-17  %

                        SiO2 64- 71 %

                        Fe2O3 0.1-1 %

                  - แร่บดราคาตันละ 3,000-15,000 บาทแล้วแต่ขนาดและคุณภาพของแร่

                  การผลิต- ปัจจุบันมีการผลิตที่จังหวัดราชบุรีแหล่งเดียว ปริมาณไม่มากนัก

                  การตลาด- ประเทศไทยผลิตไม่พอใช้ต้องสั่งเข้าจากต่างประเทศแต่ความต้องการของตลาดมีไม่มากเหมือนโซเดียมเฟลด์สปาร์ เนื่องจากใช้ทำน้ำเคลือบในอุตสาหกรรมเซรามิคไม่ได้ใช้เป็นส่วนผสม

การผลิตแร่ 

                มีการผลิตแร่โซดาเฟลด์สปาร์ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตากส่วน โพตัสเซียมเฟลด์สปาร์ มีการผลิตที่จังหวัดราชบุรี เพียงจังหวัดเดียวเท่านั้นในปี 2545 ปริมาณการผลิตเฟลด์สปาร์ทั้งสองชนิดรวม 780,000 ตัน มูลค่า 600 ล้านบาท เป็นการผลิตโซเดียมเฟลด์สปาร์ ประมาณ 735,000 ตันและโพตัสเซียมเฟลด์สปาร์ ประมาณ 48,000.ตัน

การใช้

               ปริมาณการใช้เฟลด์สปาร์ทั้งสองชนิดรวม 350,000 ตันหรือประมาณ 40 % ของปริมาณการผลิตส่วนที่เหลือส่งออกไปขายต่างประเทศส่วนใหญ่ส่งไปยังมาเลเซีย และไต้หวัน ประเทศอื่นก็มี เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

 

ราคา

               ราคาแร่ ณ วันนั้นๆ  ราคาประกาศเพื่อใช้ในการเก็บค่าภาคหลวง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีดังนี้

                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) 700 บาท/เมตริกตัน

                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (บด) 1,400 บาท/เมตริกตัน

                โพตัสเซียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) 1,700 บาท/เมตริกตัน

                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (บด) 2,400 บาท/เมตริกตัน

ค่าภาคหลวง

                การเก็บค่าภาคหลวงแร่เฟลด์สปาร์ก้อนและบดเก็บที่ร้อยละ 4 และ 2 ตามลำดับของราคาประกาศ ดังนั้น  ค่าภาคหลวง

                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) 28 บาท/เมตริกตัน

                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (บด) 28 บาท/เมตริกตัน

                โพตัสเซียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) 68 บาท/เมตริกตัน

                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (บด) 48 บาท/เมตริกตัน

การนำเข้า

                1. โพตัสเซียมเฟลด์สปาร์ ในปี 2545 มีปริมาณนำเข้า 21,654 ตัน มูลค่าประมาณ 64 ล้านบาท ส่วนใหญ่ นำเข้าจากเกาหลีใต้ มาเลเซีย และไต้หวัน

                2. โซเดียมเฟลด์สปาร์ ในปี 2545 มีปริมาณนำเข้า 1,900 ตัน มูลค่า ประมาณ 8 ล้านบาท ส่วนใหญ่นำเข้าจากอินเดีย

                3. มีการนำเข้าเฟลด์สปาร์ชนิดอื่น ๆ   ที่ไม่ใช้โพตัสเซียมหรือโซเดียมเฟลด์สปาร์ ปริมาณ  3,649   ตัน มูลค่าประมาณ  21 ล้าน บาท

 

การส่งออก

                การส่งออกเฟลด์สปาร์ส่วนใหญ่เป็นโซเดียมเฟลด์สปาร์

                - โซเดียมเฟลด์สปาร์ การส่งออกโซเดียมเฟลด์สปาร์ ในปี 2545 มีปริมาณส่งออก 350,000 ตัน มูลค่าประมาณ 250 ล้านบาท

 

ประเทศผู้ผลิตแร่เฟลด์สปาร์ที่สำคัญในปีพ.ศ.2545

 

                   ประเทศ

ปริมาณการผลิต(ตัน)

อิตาลี

2,600,000

ตุรกี

1,200,000

สหรัฐอเมริกา

820,000

ไทย

700,000

ฝรั่งเศส

650,000

เยอรมัน

450,000

สาธารณรัฐเช็ค

400,000

สเปน

450,000

เกาหลีไต้

390,000

เม็กซิโก

350,000

อียิป

300,000

อหร่าน

250,000

เวเนซูเอล่า

140,000

โปรตุเกตุ

120,000

อินเดีย

110,000

กรีก

95,000

อาฟริกาใต้

82,000

นอรเว

75,000

อาเจนตินา

60,000

โคลัมเบีย

55,000

ออสเตรเลีย

50,000

ญี่ปุ่น

50,000

บราซิล

60,000

ประเทศอื่นๆ

440,000