โครงการทำเหมืองแร่โปแตชของอาเซียน

   ตามความตกลงพื้นฐานว่าด้วยโครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Projects ) ข้อ 1 กำหนดไว้ว่า ประเทศสมาชิก แต่ละ ประเทศควรมีโครงการอุตสาหกรรมอาเซียนอย่างน้อยประเทศละ
1 โครงการ โดยประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซียมีโครงการผลิตปุ๋ยยูเรีย ประเทศฟิลิปปินส์ มีโครงการแปรรูปทองแดง ส่วนประเทศไทยมีโครงการทำเหมืองแร่โปแตช โครงการทำเหมืองแร่ โปแตชของอาเซียน ประกอบด้วยส่วนสำคัญของโครงการ 2 ส่วน คือ
เหมืองแร่โปแตช และ โรงงานผลิตปุ๋ยโปแตช โครงการจะผลิต ปุ๋ยโปแตชปีละ 1.1 ล้านตัน อายุของโครงการ 30 ปี ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 544 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

... สถานที่ตั้งโครงการ

    โครงการทำเหมืองแร่โปแตชของอาเซียน ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ปัจจัยสำคัญในการเลือกสถานที่ตั้งของโครงการ คือ
  - ความพร้อมทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โครงการอยู่ห่างจาก อำเภอบำเหน็จณรงค์ประมาณ 10 กิโลเมตร
และอยู่ห่างจาก จังหวัดนครราชสีมา เพียง
    80 กิโลเมตร
  - ความพร้อมทางด้านการคมนาคม สามารถขนส่งได้ทั้ทางรถยนต์ และรถไฟ การเดินทางไปเหมืองฯ สามารถเดินทาง โดยเครื่องบินถึงสนามบินโคราช     และเดินทางต่อโดยทางรถยนต์ ประมาณ 1 ชั่วโมง
แผนที่แสดงที่ตั้งโครงการ

...ปริมาณแร่สำรอง

    บริเวณโครงการคลุมพื้นที่ 100 ตารางกิโลเมตร พบว่ามีแร่โปแตชชนิดคาร์นัลไลท์ที่มีคุณภาพสูง มีความเหมาะสมในเชิงพาณิชย์ อยู่ระดับลึกประมาณ 150 เมตร มีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 23.9 เมตร มีปริมาณไม่น้อยกว่า 570 ล้านตัน ซึ่งเมื่อคิดเป็นปริมาณ แร่ที่จะสามารถผลิตออกมา โดยวิธีการทำเหมืองใต้ดินระบบ Box-Hole ซึ่งเป็นกรรมวิธีการทำเหมือง ที่สามารถนำแร่ออกมาได้หมดทั้งชั้น (Full Seam Extraction) ของ 62 % K2O ในอัตราการผลิต 1.1 ล้านตันต่อปี จะสามารถผลิตได้มากกว่า 30 ปี
รูปแสดงปริมาณแร่สำรอง

... วิธีการทำเหมืองแร่โปแตช

    กรรมวิธีในการทำเหมืองมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี  การที่จะเลือกว่าจะนำวิธีใดมาใช้ในการทำเหมืองแร่โปแตช เพื่อให้โครงการ ได้รับประโยชน์สูงสุดนั้น  ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายประการด้วยกัน เช่น ต้นทุนการดำเนินงานต่ำ มีความปลอดภัยสูง ลักษณะของชั้นแร่โปแตช ความสามารถในการนำแร่ออกมาให้ได้มากที่สุด
    BOX-HOLE เป็นวิธีการทำเหมืองใต้ดินระบบหนึ่ง ซึ่งปลอดภัย ต้นทุนการ ดำเนินงานต่ำ สามารถนำแร่โปแตชออกมาได้ทั้งชั้น และยังเป็นที่นิยมใช้สำหรับ ผู้ผลิตปุ๋ยโปแตชในประเทศต่าง ๆ ดังนั้นจึงนำวิธีนี้มาใช้เป็นวิธีการ ทำเหมืองใต้ดินของโครงการฯ

กรรมวิธีการทำเหมืองใต้ดิน แบบ Box-Hole
เจาะปล่องอุโมงค์ในแนวเอียง (Decline Shaft) ขนาด 3x6 เมตร จำนวน 2 ปล่อง ลึก 180 เมตร เพื่อใช้ในการติดต่อระหว่างโรงงานผลิตปุ๋ยโปแตชบนดิน และเหมืองใต้ดิน  ตลอดแนวปล่องอุโมงค์จะหล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  โดยปล่องอุโมงค์จะมีความหนาของคอนกรีตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามแรงกดของชั้นดิน และหินที่ระดับ 180 เมตร
เจาะปล่องอุโมงค์หลาย ๆ อุโมงค์ในแนวขนานกัน โดยให้หลังคาและพื้นอุโมงค์ติด กับชั้นเกลือ เพื่อให้อุโมงค์มีความแข็งแรง ในขั้นต้นอุโมงค์ (stope) จะมี ขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 400 เมตร สูง 20 - 25 เมตร แต่ละเขต การทำเหมือง (Mining Block) มี 12 อุโมงค์
แต่ละอุโมงค์มีกำแพงค้ำยัน (Wall Pillar) ขนาด กว้าง 20 เมตร ยาว 400 เมตร เป็นตัวแบ่งกั้น และล้อมรอบด้วยแนวกำแพงแร่คาร์นัลไลท์ (Wall Barrier Pillar) กว้าง 50 เมตร

... การแต่งแร่โปแตช

     ขบวนการแต่งแร่โปแตช เป็นการนำแร่โปแตชมาผ่านขบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้แร่โปแตชที่บริสุทธิ์ตามคุณภาพที่ต้องการ
การแต่งแร่โปแตชมีขั้นตอนดังนี้
คัดขนาดแร่ (Ore Crushing) แร่โปแตชจะถูกคัดขนาด และบดให้เล็กลงจนได้ขนาด ที่กำหนดประมาณ 0.1-4.0 มม.
แยกแร่โปแตชด้วยน้ำ (Decomposition by "Clod" Water) นำแร่โปแตชที่ผ่าน การคัดขนาดแล้วไปผสมกับน้ำเย็น เพื่อให้แมกนีเซียมคลอไรด์ละลาย และแยก ออกมาอยู่ในรูปของสารละลาย
ละลายแร่ซิลไวท์ (KCl - Dissolution) แร่ซิลวิไนท์ คือโปแตชเซียมคลอไรด์ และ โซเดียมคลอไรด์ที่อยู่ในรูปของของแข็ง จะถูกนำไปผสมกับน้ำ และส่งผ่าน ระบบการละลายแร่ที่อุณหภูมิ 210 ํ F ซึ่งโปแตชเซียมคลอไรด์ จะละลาย ส่วนโซเดียมคลอไรด์จะยังอยู่ในรูปของของแข็ง จึงถูกแยกออกไปเก็บไว้บริเวณที่เก็บ แร่เกลือหิน
ตกผลึกซิลไวท์ (KCl - Crystallization) สารละลายในรูปของซิลไวท์ จะถูกส่ง เข้าระบบการตกผลึก
อบและอัดเป็นเม็ด (Product Drying and Compaction) ซิลไวท์ที่ได้จะอยู่ใน รูปของสารละลาย นำไปผ่านขั้นตอนการเอาน้ำออกโดยส่งเข้าครื่องอบ (Dryer) และทำให้เป็นเม็ดโดยส่งเข้าเครื่องอัดเม็ด (Compactor) จะได้เป็นปุ๋ยโปแตชออกมา
 
รูปแสดงขบวนการผลิตปุ๋ยโปแตช

... ผลิตผลพลอยได้ของโครงการ

    นอกจากโปแตชเซียมคลอไรด์ที่เป็นผลผลิตหลักของโครงการแล้ว โครงการยังได้เกลือ (NaCl) และ แมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2) เป็นผลิตผลพลอยได้ด้วย
เกลือ (NaCl) เกลือที่ได้จากโครงการจะเป็นเกลือที่มีความบริสุทธิ์ สามารถนำไปใช้ใน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ โดยคาดว่าในช่วงของการผลิต โครงการจะมีเกลือ ที่ได้จากการทำเหมืองแร่โปแตช ประมาณปีละ 2,110,000 ตัน
แมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2) ได้จากการแต่งแร่โปแตช ในขั้นตอนการแนกแร่โปแตช ด้วยน้ำ ซึ่งจะทำให้แมกนีเซียมคลอไรด์ละลาย และแยกออกมาอยู่ในรูป ของสารละลาย มีปริมาณ 4.1 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีความเข้มข้น ของแมกนีเซียมคลอไรด์ประมาณ 450 กรัมต่อลิตร หรือร้อยละ 36.1 โดยน้ำหนัก ซึ่ง ผลิตผลพลอยได้นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ไดใน อุตสาหกรรมต่าง ๆ



..... กลับสู่เมนูหลัก
  .....ย้อนกลับ