การเปรียบเทียบพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือก

(Castanea mollossima L.)

: การเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และลักษณะสัณฐานวิทยา

Varietal Comparison of Selected Chinese Chestnuts (Castanea mollossima L.)

 : Growth, Fruit Production and Morphological Characterisation

 

เสริมสกุล พจนการุณ  และเชวง  แก้วรักษ์

สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

sermdoa@yahoo.com

 

บทคัดย่อ

ศึกษาเปรียบเทียบพันธุ์เกาลัดจีนอายุ 5 ปี ที่คัดเลือกจากสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ และสถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย จำนวน 8 สายพันธุ์ มาปลูกทดสอบ ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย (927 m asl, 17°17’N 101°24’E) เปรียบเทียบกับพันธุ์การค้าของจีน ‘Khunming’ (control) พบว่า เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกมีการเจริญเติบโตด้านความสูงของต้น ความกว้างทรงพุ่มและเส้นรอบโคนลำต้นแตกต่างกัน (p < 0.05) เมื่อนำปัจจัยการเจริญเติบโตที่ศึกษามาวิเคราะห์โดยใช้ Hierarchical cluster analysis สามารถแบ่งกลุ่มเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยที่พันธุ์ ‘วาวี เบอร์และ ‘แม่จอนหลวง เบอร์ มีการเจริญเติบโตโดยรวมดีกว่าพันธุ์ ‘Khunming’ ขณะที่พันธุ์ ‘วาวี เบอร์เจริญเติบโตใกล้เคียงกัน สำหรับเปอร์เซ็นต์ต้นที่ติดผลของพันธุ์ ‘วาวี เบอร์มีค่าสูงที่สุด (91.67%) รองลงมาคือ พันธุ์ ‘วาวี เบอร์1’ (88.89%) และ ‘แม่จอนหลวง เบอร์2’ (71.43%) ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์ ‘Khunming’ และ ‘แม่จอนหลวง เบอร์ ไม่ติดผลเลย นอกจากนี้ พันธุ์ ‘วาวี เบอร์ ให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นสูงที่สุด โดยมีอัตราส่วนเมล็ดต่อเปลือกต่ำที่สุด ซึ่งมีน้ำหนักกลีบ(เมล็ด)สูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆที่มีวางจำหน่ายทั่วไป ดังนั้น พันธุ์ ‘วาวี เบอร์จึงเป็นพันธุ์ที่สามารถปรับตัวได้ดีที่สุดบนพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งแตกต่างจากผลการปลูกทดสอบ ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ที่พบว่าพันธุ์ ‘วาวี เบอร์ให้ผลผลิตสูงสุดทั้งปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างเล็กน้อยในลักษณะทางสัณฐานวิทยาของใบและผลเกาลัดจีนระหว่างแต่ละพันธุ์

 

คำสำคัญ :  เกาลัดจีน, การเจริญเติบโต, สัณฐานวิทยา

 

Abstract

             Eight selected Chinese chestnut (Castanea mollissima L.) cultivars from China (selected by Mae Chon Luang Highland Agricultural Experiment Station, Chiang Mai and Wawi Highland Agricultural Experiment Station, Chiang Rai ) were grown at Phurua Highland Agricult

ural Experiment station, Phurua, Loei (927 m asl, 17°17’N 101°24’E) in 1997.  Morphology of leaves and fruits, growth and fruit production of this selected Chinese chestnut trees were studied in the northeastern highland and compared with Chinese commercial cultivar ‘Khunming’ (control).  They were some distinction in the morphology of leaves and fruits among the cultivars. Moreover, there were significant difference (p < 0.05) among the eight cultivars and control in canopy height, canopy width and trunk girth. These growth factors were analyzed for a similarity among the cultivars and Hierarchical cluster.  The analysis revealed that the cultivars could be divided into two main groups.  Among all cultivars, the growth of ‘Wawi#2’ and ‘Mae Chon Luang #4’ were higher than ‘Khunming’, where as ‘Wawi#  was nearly the same. ‘Wawa#2’ gave higher percentage of bearing-fruit-trees (91.71%) than ‘Wawi#1’ (88.89%) and ‘Mae Chon Luang#2’ (71.43%), respectively. Therefore, ‘Wawi#2’ showed the best trend to grow in the northeastern highland; but distinct from the growing at Mae Chon Luang HAES which ‘Wawi#1’  gave the highest fruit production in quantity and quality.

             It could be concluded that there were difference among the selected cultivars and control in the morphology of leaves and fruits, growth and fruit production of the Chinese chestnut trees.

 

Keywords : Chinese chestnut (Castanea mollissima L.),  growth, morphology

 


1. คำนำ

             เกาลัด (Castanea spp.) เป็นพืชเคี้ยวมันที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับต้นโอ๊ค (Quercus) ซึ่งอยู่ในตระกูล Fagaceae เกาลัดมีการปลูกมากในทุกภูมิภาคของโลกใช้ประโยชน์ทั้งการผลิตน้ำมัน สร้างที่อยู่อาศัย เพื่อความสวยงามและที่สำคัญคือใช้เป็นอาหารซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผลเกาลัดจะมีปริมาณแป้งมากกว่าไขมัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์  เกาลัดที่ปลูกกันเป็นพืชเศรษฐกิจมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ 1) เกาลัดจีน (Chinese chestnut) Castanea mollissima B1 มีถิ่นกำเนิดในสาธารณรัฐประชาชนจีนและปลูกกันมากทางตอนใต้ ซึ่งต้องการอากาศหนาวเย็นต่ำถึงปานกลาง ผลมีคุณภาพดีที่สุดและมีปริมาณการผลิตมากกว่าเกาลัดทุกสายพันธุ์ 2) เกาลัดยุโรป (European chestnut) C. sativa Mill มีรสชาติค่อนข้างหวาน เรียกว่า Sweet Chestnut ปลูกมากในประเทศอิตาลี ชิลี สเปน และกลุ่มประเทศเมดิเตอร์เรเนียน ต้องการอากาศหนาวเย็นสูง 3) เกาลัดญี่ปุ่น (Japanese chestnut) C. crenata Sieb & Zucc. ปลูกมากในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ต้องการอากาศหนาวเย็นปานกลางถึงสูง 4) เกาลัดอเมริกา (American Chestnut) C. dentata Borkh. ปลูกมากในประเทศอเมริกา ต้องการอากาศหนาวเย็นสูง 5) เกาลัดลูกผสม (hybrid) ซึ่งเกิดจากการผสมข้ามระหว่างเกาลัดชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะในอเมริกาได้นำเกาลัดจีนจากทางตอนกลางและตอนใต้ของจีนไปปลูกและคัดเลือกต้นที่ดีเด่นปลูกขยายพันธุ์และทดสอบพันธุ์ และในปี ค.. 1949 ได้นำพันธุ์จากประเทศจีนเข้าไปอีก ได้แก่ Nanking, Meiling และ Kuling ต่อมาได้นำเมล็ดเข้าไปปลูกคัดเลือกอีกมากมายจนมีพันธุ์แพร่หลายในปัจจุบัน [6]  สำหรับประเทศไทยการปลูกเกาลัดยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากยังเป็นพืชใหม่และขาดพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพอากาศบนที่สูงของประเทศไทยและประสบปัญหาหลักคือเกาลัดทุกพันธุ์เป็น self-sterile ต้องปลูกตั้งแต่ 2 พันธุ์ ขึ้นไปในบริเวณเดียวกันเพื่อช่วยในการผสมข้าม  [6]  ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าเมล็ดเกาลัดสดจากประเทศจีนและอเมริกา ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีนปีละหลายสิบล้านบาท ซึ่งมีทั้งลักษณะลักลอบนำเข้าและที่ผ่านด่านศุลกากร ซึ่งเกาลัดจะมีราคาสูง ราคาเมล็ดสดนำเข้าราคากิโลกรัมละ 35-50 บาท ราคาจำหน่ายเมล็ดสดกิโลกรัมละ 90-170 บาท ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ซึ่งเมื่อนำมาคั่วหรือแปรรูปเป็นอาหารหรือของขบเคี้ยว จะมีราคาสูง 300-400 บาท ผลผลิตรวมทั่วโลกของเกาลัดในปี 1998 มีปริมาณถึง 538,511 ตัน โดยต้นเกาลัดส่วนใหญ่ปลูกในทวีปเอเชีย (สาธารณรัฐประชาชนจีน, สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น) 64% และในทวีปยุโรป (ตุรกี, อิตาลี, โครเอเชีย, สเปน, โปรตุเกส และฝรั่งเศส) 28% นอกนั้นปลูกในซีกโลกใต้บริเวณประเทศออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ชิลี และอาร์เจนตินา  [4]

             เกาลัดจีนมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายพันธุ์ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงกว้างตั้งแต่ละติจูด 40o30' ถึง 18o30' เหนือ โดยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนบนพื้นที่สูงและพื้นที่ภูเขา ในอดีตการผลิตเกาลัดจีนโดยเทคนิคการปลูกดั้งเดิมให้ผลผลิตต่อไร่และคุณภาพต่ำ (90 – 180 ตัน/ha) เริ่มมีการพัฒนาระบบการปลูกเกาลัดจีนในปี 1986 เป็นต้นมา จึงทำให้ผลผลิตเกาลัดจีนโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 83,197 ตัน ในปี 1985 เป็น 247,025 ตัน ในปี 1995 พื้นที่ปลูกในปี 1998 มีมากขึ้นอย่างมากถึง 667,000 ha จากเพียง 106,000 ha ในปี 1962 และ 284,000 ha ในปี 1982 ตามลำดับ [5]  โดยมีผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 225 กิโลกรัม/ha ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ แต่มีบางพื้นที่ที่เป็นสวนเกาลัดจีนที่จัดระบบการปลูกเป็นแบบระบบชิด สามารถให้ผลผลิตสูงถึง 3 ตัน/ha ซึ่งผลผลิตสูงสุดที่มีการศึกษาจากสถาบันพืชศาสตร์ Jiangsu คือ 8,025 กิโลกรัม/ha รองลงมาคือที่เมือง Feixian จังหวัด Shandong คือ 7,850 กิโลกรัม/ha ข้อดีของเกาลัดจีนนอกจากจะมีเมล็ดที่แข็งสะดวกต่อการขนส่ง ตลอดจนผลเกาลัดจะมีความชื้นสูง (~ 45%)    มีคาร์โบไฮเดรตสูง   (~ 50%) มีไขมันต่ำ (~ 1%) และมีโปรตีนปานกลาง (~ 4%) นอกจากนี้ยังมีนิสัยชอบขึ้นบนภูเขาหรือพื้นที่ที่มีความลาดเอียง ดินระบายน้ำดีและทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย [4]  สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ และสถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย ได้นำเมล็ดพันธุ์เกาลัดจีนจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาปลูกเพื่อคัดเลือกหาสายต้นที่ดีให้ผลผลิตสูง สำหรับส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกเป็นการค้า และมีผลพลอยได้คือเพิ่มสภาพพื้นที่ป่า อีกทั้งสามารถอนุรักษ์ต้นน้ำบนที่สูงในภาคเหนือ โดยสามารถคัดเลือกได้ 8 พันธุ์ (จำรองและคณะ, 2540) ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงนำเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกดังกล่าวมาปลูกทดสอบเพื่อเปรียบเทียบพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศบนพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือสำหรับส่งเสริมเกษตรกรปลูกเป็นการค้า โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาพันธุ์เกาลัดจีนที่มีการเจริญเติบโตดีและสามารถให้ผลผลิตในปริมาณและคุณภาพสูงเทียบเท่าเกาลัดจีนที่นำเข้ามาจำหน่ายจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

 

2. วิธีการทดลอง

             ทำการเปรียบเทียบพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัด วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 6 ซ้ำ 9 กรรมวิธี (สายพันธุ์) เริ่มทำการขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอดบนต้นตอเกาลัดจีนที่ได้จากการเพาะเมล็ดช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งใช้ระยะปลูก 8x8 เมตร ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัด ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ อ. ภูเรือ จ. เลย (927 m asl, 17°17’N 101°24’E) ในปีพ.2540 โดยมีพันธุ์ที่ใช้ในการทดลองเปรียบเทียบพันธุ์ได้แก่ สายพันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์1 (MCL 40/17-008), แม่จอนหลวง เบอร์2 (MCL 22/19-016), แม่จอนหลวง เบอร์3  (MCL 73/9-019), แม่จอนหลวง เบอร์4 (MCL 7/19-032), แม่จอนหลวง เบอร์5 (MCL 66/12-025), วาวี เบอร์1, วาวี เบอร์2, วาวี เบอร์5 และสายพันธุ์เปรียบเทียบ (Khunming) จากเมืองคุนหมิงประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  บันทึกการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ เปอร์เซ็นต์การให้ผลผลิต คุณภาพผลผลิตและลักษณะทางสัณฐานวิทยาบางประการของใบและผลเกาลัดจีน ตลอดจนการวัดสีใบโดยใช้เครื่องวัดสี MINOLTA รุ่น CR-300 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS

 

3. ผลการทดลองและวิจารณ์

             จากการศึกษาเปรียบเทียบพันธุ์เกาลัดจีนอายุ 5 ปี ที่คัดเลือกได้จากสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ และสถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย จำนวน 8 สายพันธุ์มาปลูกทดสอบ ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย (927 m asl, 17°17’N 101°24’E) เปรียบเทียบกับพันธุ์การค้าของจีน (Khunming) พบว่า เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกมีการเจริญเติบโตด้านความสูงของต้น ความกว้างทรงพุ่มและเส้นรอบโคนลำต้นแตกต่างกัน (p < 0.05) เมื่อนำปัจจัยการเจริญเติบโตที่ศึกษามาวิเคราะห์โดยใช้ hierarchical cluster analysis (ภาพที่ 1) สามารถแบ่งกลุ่มเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้  กลุ่มที่หนึ่ง มีอัตราการเจริญเติบโตโดยรวมสูงกว่าหรือใกล้เคียงกับพันธุ์การค้าของจีน ‘Khunming’ ได้แก่ พันธุ์ ‘วาวี เบอร์และ ‘แม่จอนหลวง เบอร์มีอัตราการเจริญเติบโตโดยรวมสูงกว่าพันธุ์ ‘Khunming’ ขณะที่พันธุ์ ‘วาวี เบอร์มีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน  กลุ่มที่สอง มีการเจริญเติบโตโดยรวมต่ำกว่าพันธุ์การค้า ‘Khunming’ ได้แก่ ‘พันธุ์วาวี เบอร์1’, ‘แม่จอนหลวง เบอร์5’, ‘แม่จอนหลวง เบอร์1’, ‘แม่จอนหลวง เบอร์และ ‘แม่จอนหลวง เบอร์  [3]

             สำหรับการให้ผลผลิตนั้น พบว่าในฤดูกาลปี 2544-2545 นี้ พันธุ์ ‘วาวี เบอร์มีเปอร์เซ็นต์ต้นที่ติดผลสูงที่สุด (91.67%) รองลงมาคือพันธุ์ ‘วาวี เบอร์1’ (88.89%), ‘แม่จอนหลวง เบอร์2’ (71.43%), ‘แม่จอนหลวง เบอร์5’ (55.56%), ‘แม่จอนหลวง เบอร์4’ (44.44%) , ‘วาวี เบอร์5’ (40.00%) และ ‘แม่จอนหลวง เบอร์1’ (20.00%) ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์และพันธุ์ Khunming ไม่ให้ผลผลิตในฤดูกาลนี้  [3]  เมื่อพิจารณาน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น พบว่า พันธุ์ ‘วาวี เบอร์ ให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นสูงที่สุด ถึง 2166.6 กรัม รองลงมาคือ พันธุ์ ‘วาวี เบอร์1’ (1,790.2 กรัม) และพันธุ์ ‘วาวี เบอร์ 5’ (1376.2 กรัม) ขณะที่พันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์ให้น้ำหนักผลผลิตต่ำสุด (952.0 กรัม) ดังตารางที่ 1 แต่เมื่อพิจารณาขนาดของเมล็ด (nut) และน้ำหนักกลีบ (kernel or cotyledon) กลับพบว่าพันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์มีน้ำหนักสูงที่สุด รองลงมาคือ ‘วาวี เบอร์1’, ‘วาวี เบอร์ 5’,   ‘แม่จอนหลวง เบอร์และ ‘วาวี เบอร์ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาอัตราส่วนเมล็ด (nut) ต่อเปลือก (shell)  พบว่าพันธุ์ ‘วาวี เบอร์และ ‘วาวี เบอร์   มีอัตราส่วนต่ำที่สุด เท่ากับ 1: 1.51        รองลงมาคือ พันธุ์ ‘วาวี เบอร์5’ (1:1.62)  และ ‘แม่จอนหลวง เบอร์1’ (1:1.80) ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์มีค่าสูงสุดเท่ากับ 1:2.44


 

        Divergency Coefficient

 

                2.04      18.09     34.14     50.20     66.25     82.30

  Varities   Num  +---------+---------+---------+---------+---------+

 

  MCL-2       2   ─┬─────────┐

  MCL-3       3   ─┘         ├───────────────┐

  MCL-1       1   ───────────┘               ├─────────────────────┐

  MCL-5       5   ─────────────┬─────────────┘                    

  WW-1        6   ─────────────┘                                  

  WW-5        8   ─────┬───────────┐                              

  Khunming    9   ─────┘           ├───────────┐                  

  MCL-4       4   ─────────────────┘           ├───────────────────┘

  WW-2        7   ─────────────────────────────┘

 

ภาพที่ 1: Dendrogram ที่ได้จากการวิเคราะห์โดย Hierachical cluster analysis (Average linkage between groups) แสดงการจัดกลุ่มเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกตามข้อมูลการเจริญเติบโตทางกิ่งใบโดยรวม (ความสูงของต้น, ความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ยแนวเหนือ-ใต้/ตะวันออก-ตก และเส้นรอบโคนลำต้นสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร) โดยมีพันธุ์การค้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ‘Khunming’ เป็นสายพันธุ์เปรียบเทียบ

 


 

ตารางที่ 1  เปอร์เซ็นต์ต้นที่ให้ผลผลิต, น้ำหนักผลผลิตต่อต้น (เฉพาะต้นที่ให้ผลผลิต), น้ำหนักผลทั้งเปลือก (nut in bur), น้ำหนักเมล็ด (nut in shell), น้ำหนักเปลือก (bur), อัตราส่วนเมล็ดต่อเปลือก และน้ำหนักกลีบ (เมล็ด) ของเกาลัดจีนสายพันธุ์คัด ที่ปลูกทดสอบ ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ อ. ภูเรือ จ. เลย (ข้อมูลผลผลิตเกาลัดจีน ปี พ.2545)

 

สายพันธุ์

เปอร์เซ็นต์ต้นที่ให้ผลผลิต (%)

น้ำหนักผลผลิตต่อต้น

(กรัม)

น้ำหนักผลสดทั้งเปลือกต่อผล (กรัม)

น้ำหนักเมล็ดต่อผล

(กรัม)

น้ำหนักเปลือกต่อผล

(กรัม)

อัตราส่วนเมล็ดต่อเปลือก

น้ำหนักกลีบ

(กรัม)

MCL-1

MCL-2

MCL-3

MCL-4

MCL-5

WW-1

WW-2

WW-5 Khunming

20.00

71.43

  0.00

44.44

55.56

88.89

91.67

40.00

  0.00

  980.8 ef

  952.0 f

      -

1119.2 de

1191.8 d

1790.2 b

2166.6 a

1376.2 c

     -

31.16 e

72.32 a

     -

42.32 d

50.18 b

45.26 c

32.10 e

41.80 d

     -

11.14 e

21.04 a

     -

14.18 d

16.56 c

18.10 b

12.82 d

16.08 c

     -

20.02 d

51.28 a

       -

28.14 c

33.62 b

27.16 c

19.28 d

25.72 c

      -

1:1.80 bc

1:2.44 a

      -

1:1.99 b

1:2.03 b

1:1.51 c

1:1.51 c

1:1.62 c

       -

  5.97 e

12.99 a

     -

  8.00 d

  9.85 c

11.89 b

  9.55 c

  8.69 d

      -

เฉลี่ย

45.78

1368.1

45.02

15.70

29.31

1:1.85

  9.56

SD

-

437.66

13.09

  3.27

10.39

1:0.38

  2.28

%CV

-

    8.20

  3.86

  6.69

16.88

12.34

  6.32

 

# ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในคอลัมน์เดียวกันที่มีอักษรต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยวิธี DMRT

 


             ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าพันธุ์ ‘วาวี เบอร์ให้ผลผลิตเชิงปริมาณดีที่สุด ขณะที่พันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์และพันธุ์ ‘วาวี เบอร์ให้ผลผลิตเชิงคุณภาพโดยเฉพาะขนาดและน้ำหนักเมล็ดดีที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาโดยรวม พันธุ์ ‘วาวี เบอร์  เป็นพันธุ์ที่น่าสนใจสูงสุดในการคัดเลือกพันธุ์ขั้นต้นนี้ ถึงแม้ว่าจะมีขนาดผล, เมล็ดและกลีบเล็กกว่าพันธุ์ ‘วาวี เบอร์ก็ตาม เนื่องจากพันธุ์ ‘วาวี เบอร์มีอัตราส่วนเมล็ดต่อเปลือกต่ำที่สุดเพียง 1:1.51 ซึ่งเท่ากับพันธุ์ ‘วาวี เบอร์แต่ต่ำกว่า ‘แม่จอนหลวง เบอร์มาก หากเปรียบเทียบผลเกาลัดจีนพันธุ์การค้าทั่วไปที่นำเข้ามาจำหน่ายจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาดมีน้ำหนักกลีบเฉลี่ยเท่ากับ 8.5 กรัม [1] ดังนั้น ขนาดกลีบของเกาลัดจีนสายพันธุ์ ‘วาวี เบอร์ถึงแม้จะต่ำกว่า ‘วาวี เบอร์และ ‘แม่จอนหลวง เบอร์ก็ตาม แต่ก็ยังสูงกว่าขนาดที่นำเข้าจากประเทศจีนมาจำหน่ายเป็นการค้าทั่วไป จึงน่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้

             การให้ผลผลิตระหว่างพันธุ์ ‘วาวี เบอร์และ ‘วาวี เบอร์นี้ มีความน่าสนใจมาก เมื่อเปรียบเทียบผลงานวิจัยนี้กับผลงานวิจัยการเปรียบเทียบและคัดเลือกพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกของสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ (จำรองและคณะ, 2540) พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก กล่าวคือ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น พันธุ์ ‘วาวีเบอร์มีการให้ผลผลิตสูงสุดทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยให้ปริมาณผลผลิตสูงถึง 5,408 กรัม/ต้น (ปี 2538) และ 3,160 กรัม/ต้น (ปี 2539) ขณะที่พันธุ์ ‘วาวีเบอร์ ให้ผลผลิตต่ำกว่าคือ 3,468 กรัม/ต้น  (ปี 2538) และ 480 กรัม/ต้น      (ปี 2539)  ส่วนน้ำหนักผล, เมล็ด และกลีบ มีค่าใกล้เคียงกัน

จึงเห็นได้ชัดเจนว่าเมื่อสถานที่ปลูกทดสอบเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่สูงภาคเหนือเป็นพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลและละติจูดของพื้นที่ปลูกต่ำกว่ามาก ย่อมมีอิทธิพลโดยตรงต่อการให้ผลผลิตของเกาลัดจีนสายพันธุ์ต่างๆมากน้อยแตกต่างกันไป

             ดังนั้น เมื่อพิจารณาการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ และการให้ผลผลิตทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ สามารถคัดเลือกพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกที่มีการเจริญเติบโตทางกิ่งใบสูง, สามารถให้ผลผลิตในปริมาณที่สูง และมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์สูงกว่ามาตรฐานที่นำเข้ามาจำหน่ายจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีความสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่สูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้หนึ่งพันธุ์ คือ พันธุ์ ‘วาวี เบอร์

             สำหรับช่วงเวลาการออกดอกและดอกบานนั้น พบว่า พันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์มีช่วงเวลาออกดอกและดอกบานเร็วที่สุด รองลงมาคือ พันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์1’, ‘แม่จอนหลวง เบอร์และ ‘แม่จอนหลวง เบอร์ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์ ‘วาวี เบอร์1 และ มีช่วงเวลาออกดอกและดอกบานช้าที่สุด สำหรับช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตเกาลัดจีนนั้นพันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์ 1, 2, 4 และ จะเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนมิถุนายนต่อเนื่องถึงปลายเดือนกรกฎาคมหรือต้นเดือนสิงหาคม ขณะที่พันธุ์‘วาวีเบอร์จะเก็บเกี่ยวช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ส่วนพันธุ์ ‘วาวี เบอร์ และ ‘วาวี เบอร์ จะเก็บเกี่ยวช่วงเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน (ตารางที่ 2)  สำหรับลักษณะทางสัณฐานวิทยาของผลเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกได้แสดงรายเอียดดังตารางที่ 3

 


ตารางที่ 2   ช่วงเวลาการออกดอก ดอกบานและช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตเกาลัดจีนสายพันธุ์คัด   สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ. ภูเรือ จ. เลย  (ปี พ.. 2544-2545)

 

พันธุ์

..

.

..

..

..

..

มี..

เม..

..

มิ.

..

.

MCL-1

 

 

 

ออกดอก

ดอกบาน

 

 

 

 

เก็บเกี่ยว

 

MCL-2

 

 

ออกดอก

ดอกบาน

 

 

 

 

 

เก็บเกี่ยว

 

MCL-4

 

 

 

ออกดอก

ดอกบาน

 

 

 

 

เก็บเกี่ยว

 

MCL-5

 

 

 

 

ออกดอก

ดอกบาน

 

 

 

เก็บเกี่ยว

 

WW-1

 

 

 

 

 

 

  ออกดอก

ดอกบาน

 

 

เก็บเกี่ยว

WW-2

 

 

 

 

 

ออกดอก

ดอกบาน

 

 

 

 

เก็บเกี่ยว

WW-5

 

 

 

 

 

ออกดอก

ดอกบาน

 

 

 

 

เก็บเกี่ยว


             ากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของใบเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือก พบว่าเกาลัดจีนพันธุ์‘แม่จอนหลวงเบอร์ 1 ถึง มีใบรูปร่างรีหรือรูปไข่ ขณะที่พันธุ์ ‘วาวี เบอร์ 1, 2 และ มีใบรูปร่างยาวรี ปลายใบแหลมถึงแหลมมาก โดยเฉพาะบริเวณปลายสุดของใบ โคนใบมีลักษณะมน ขอบใบมีลักษณะหยักเป็นฟันเลื่อย โดยกลุ่มพันธุ์ ‘แม่จอนหลวง’ จะมีลักษณะของฟันเลื่อยถี่และยาวและขณะที่กลุ่มพันธุ์ ‘วาวี’ มีลักษณะฟันเลื่อยห่างและสั้นกว่า แผ่นใบเป็นคลื่น ผิวใบมัน เนื้อใบมีลักษณะเหนียวคล้ายหนัง ใบอ่อนมีขนหนาแน่น ใบแก่มีขนน้อยมาก เส้นกลางใบด้านหน้าใบมีสีเขียวอ่อน โดยใบอ่อนมีขนมากและยาวขณะที่ใบแก่มีขนสั้น เส้นกลางใบด้านหลังใบมีสีเขียวอ่อนออกเหลืองนูนชัดเจนมีขนมาก ยกเว้นพันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์   เท่านั้นที่มีขนบริเวณเส้นกลางใบน้อยกว่าพันธุ์อื่นทั้งหน้าใบและหลังใบ และทุกพันธุ์เห็นเส้นกลางใบชัดเจน   แต่พันธุ์‘แม่จอนหลวง เบอร์มีลักษณะพิเศษ คือปลายสุดของใบแหลมมีขน ซึ่งปกติลักษณะใบของเกาลัดจีนนั้นจะมีสัดส่วนความกว้างต่อความยาวสูงกว่าเกาลัดพันธุ์อื่นๆ [6] นอกจากนี้ผลการศึกษาสีของใบเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกทั้งด้านหลังใบและท้องใบในระบบ a*L*b* ได้แสดงดังตารางที่ 4 และหากใช้สีของใบโดยภาพรวมแบ่งกลุ่มสีใบของเกาลัดจีนสายพันธุ์คัด โดยใช้ค่า a*L*b*ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบมาวิเคราะห์โดยใช้ hierarchical cluster analysis พบว่าสามารถจัดกลุ่มตามความคล้ายคลึงกันของสีใบได้เป็น 5 กลุ่ม (ภาพที่ 2) คือ  กลุ่มที่หนึ่ง มี 3 พันธุ์ได้แก่ พันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์ 2, 4 และ  กลุ่มที่สอง มีสามพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ ‘แม่จอนหลวง เบอร์ 1, วาวี เบอร์ และ ‘แม่จอนหลวง เบอร์   กลุ่มที่สาม มีเพียงพันธุ์เดียวคือ ‘วาวี เบอร์ กลุ่มที่สี่ คือ ‘วาวี เบอร์ และ กลุ่มที่ 5 คือ Khunming


 

ตารางที่ 3  ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของผลเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกที่ปลูกทดสอบ ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ อ. ภูเรือ จ. เลย

 

พันธุ์

ลักษณะสัณฐานวิทยาของผล

เปลือกนอก (bur)

เมล็ด (nut in shell)

เนื้อใน (kernel or cotyledon)

MCL-1

มีหนามมาก หนามค่อนข้างแข็งและสั้น

ผิวเปลือกหุ้มเมล็ดเรียบ สีน้ำตาลเทา มีขนสีขาวออกเหลืองหรือครีม มีปริมาณขนมาก

สีขาวออกเหลือง

MCL-2

มีหนามมาก หนามยาวและแข็ง

ผิวเปลือกหุ้มเมล็ดบาง ผิวเรียบ สีน้ำตาลเข้ม มีขนอ่อนสั้น ปริมาณขนมาก

สีขาวออกเหลือง

MCL-4

มีหนามมาก หนามสั้นและแข็ง

ผิวเปลือกหุ้มเมล็ดบาง ผิวเรียบ สีน้ำตาล มีขนอ่อนสั้น สีเทาออกเหลือง

สีขาวออกเหลือง

MCL-5

มีหนามมาก หนามค่อนข้างยาวและแข็ง

เปลือกหุ้มเมล็ดบาง ผิวเรียบ สีน้ำตาล มีขนอ่อนสั้นจำนวนมาก

สีขาวออกเหลือง

WW-1

มีหนามมาก หนามค่อนข้างยาว

เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลอมดำเข้ม

สีครีม

WW-2

มีหนามมาก หนามยาว

เปลือกหุ้มเมล็ด สีน้ำตาลอมดำ

สีครีม

WW-5

มีหนามมาก หนามยาวมาก

เปลือกหุ้มเมล็ด สีน้ำตาลเข้ม

สีครีม

หมายเหตุ :  เกาลัดจีนสายพันธุ์ MCL-3 และ พันธุ์ check (Khunming) ไม่ให้ผลผลิตในฤดูกาลปี พ.. 2544-2545 จึงไม่มีข้อมูล

 

                              

                                                                Divergency coefficients

 

                1.97      4.09      6.21      8.33      10.45      12.57

  Cultivars  Num  +---------+---------+---------+---------+---------+

 

  MCL-2       2   ─┬───┐

  MCL-4       4   ─┘   ├─┐

  MCL-3       3   ─────┘ ├───┐

  MCL-1       1   ─┬───┐   

  WW-2        7   ─┘   ├─┘   ├───────────┐

  MCL-5       5   ─────┘                ├─────────────────────────┐

  WW-1        6   ───────────┘                                    

  WW-5        8   ───────────────────────┘                        

  Khunming    9   ─────────────────────────────────────────────────┘

 

ภาพที่ 2       Dendrogram ที่ได้จากการใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ด้านสีในระบบ a*L*b* ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบเกาลัดจีนที่นำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี hierarchical cluster analysis โดยใช้ average linkage (between group) ในการแบ่งกลุ่มเกาลัดจีน

 

 


ตารางที่ 4  แสดงสีของใบด้านบนและด้านล่างใบในระบบ a*L*b*

 

พันธุ์เกาลัดจีน

สีใบด้านบนในระบบ a*L*b*

สีใบด้านล่างในระบบ a*L*b*

a

L

b

a

L

b

MCL-1

MCL-2

MCL-3

MCL-4

MCL-5

WW-1

WW-2

WW-5

Khunming

12.00 b

10.09 bc

10.10 bc

11.41 bc

12.06 b

  9.34 c

10.73 bc

14.95 a

11.21 bc

39.00 a

39.45 a

36.56 b

39.75 a

39.18 a

36.18 b

39.57 a

40.57 a

36.28 b

14.37 bc

14.36 bc

12.35 bc

15.30 bc

16.42 b

11.15 c

13.63 bc

20.53 a

13.11 bc

  7.29 e

  7.10 e

  7.19 e

  8.21 cd

  9.06  b

  7.36 e

  7.65 de

  8.50 bc

11.50 a

57.51 abc

60.05 ab

59.99 ab

59.19 abc

55.93 bc

55.68 bc

55.26 c

61.07 a

45.51d

13.40 d

14.19 cd

15.87 bc

16.16 b

16.50 b

14.62 cd

15.58 bc

16.43 b

18.89 a

เฉลี่ย

11.32

38.41

14.46

  8.17

56.79

15.73

SD

  2.62

11.28

  4.08

  1.55

  6.41

  1.92

CV (%)

19.34

  4.96

22.65

10.32

  8.36

  7.77

#  ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในคอลัมน์เดียวกันที่มีตัวอักษรต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยวิธี DMRT

* การวัดสีใบในระบบ a*L*b* เป็นการแสดงตำแหน่งของสีใบในพิกัด 3 มิติระหว่าง 3 แกน คือ a*, L* และ b* โดยที่ a* และ b* แสดงถึงแกนในระนาบ (ทิศทาง) ของสี (chromaticity coordinates) : + a* แสดงทิศทางสีแดง (red), -a* แสดงทิศทางสีเขียว (green), +b* แสดงทิศทางสีเหลือง (yellow)  และ –b* แสดงทิศทางสีน้ำเงิน (blue)  ขณะที่ L* แสดงถึงความสว่าง (lightness) : +L* แสดงถึงความสว่างและสีขาว, -L* แสดงถึงความมืดและสีดำ

 


 

4. สรุปผลการทดลอง

             สามารถคัดเลือกพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางกิ่งใบสูง สามารถให้ผลผลิตในปริมาณที่สูงและมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์สูงกว่ามาตรฐานที่นำเข้ามจำหน่ายจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูกบนที่สูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้หนึ่งพันธุ์ คือ พันธุ์ ‘วาวี เบอร์

 

5. ข้อเสนอแนะงานวิจัยที่ควรดำเนินการต่อ

             1. ควรศึกษาเปรียบเทียบพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์ คัดเลือกโดยใช้ลักษณะทางพันธุกรรม ด้วยเทคนิค random amplified polymorphic DNA (RAPD) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะลายพิมพ์ RAPD  กับลักษณะการเจริญเติบโตการให้ผลผลิต คุณภาพผลผลิต และลักษณะทางสัณฐานวิทยาของใบและผลเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือก สำหรับใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์เกาลัดจีนต่อไป

             2. ควรศึกษาความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนยอดพันธุ์เกาลัดจีนพันธุ์ดี เช่นพันธุ์ ‘วาวี เบอร์โดยการเสียบยอดโดยใช้พันธุ์พื้นที่เดิมเป็นต้นตอ ซึ่งในพื้นที่สูงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีต้นก่อจำนวนมาก ทั้งก่อในสกุลเกาลัด (Castanea spp.) และก่อสกุลหวาย (Castanopsis spp.) คณะผู้วิจัยจึงได้สนใจศึกษาความเข้ากันได้ระหว่างต้นตอก่อพื้นเมืองกับยอดพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือก และศึกษาอิทธิพลต้นตอก่อพื้นเมือง ที่มีต่อสรีรวิทยาการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยอดพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกตลอดจนคัดเลือกคู่ต้นตอก่อพื้นเมือง-ยอดพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่ หากสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ โดยการเปลี่ยนยอดในระบบ ‘grafting in place’ กับต้นตอก่อพื้นเมืองในบริเวณที่สูงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งในพื้นที่เอกชนและในพื้นที่อนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือ ต้นน้ำต่าง ๆ เป็นบริเวณกว้าง ซึ่งจะประโยชน์และมูลค่าเพิ่มอย่างมหาศาล โดยเปลี่ยนป่าก่อที่มีมูลค่าผลผลิตต่ำมากเป็นป่าเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือกที่มีคุณภาพสูง มีราคาแพง เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนบนพื้นที่สูงอย่างมหาศาล โดยเทียบเคียงกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่กระทำสำเร็จในบางพื้นที่ซึ่งเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีเยี่ยมด้วยวิธีการเสียบยอดที่ใช้พันธุ์ในพื้นที่เดิมเป็นต้นตอ โดยใช้ยอดพันธุ์ที่ได้รับการศึกษาว่าดีเยี่ยม ได้แก่ ‘Chu shu hong’ , ‘Jiu jia zhong’ , ‘Duan ha’ , ‘Qin zha’ , ‘Jiao zha’ และ ‘Jian ding you li’ สำหรับเปลี่ยนยอดในแหล่งพันธุกรรมเกาลัดสายพันธุ์ป่า (wild chestnut) โดยใช้แหล่งต้นตอสำหรับเกาลัดจีนตามธรรมชาติที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ บริเวณเทือกเขา Qin-ling และ Ba-shan เพื่อเปลี่ยนจากป่าธรรมชาติเป็นป่าเศรษฐกิจที่ให้ผลผลิตเกาลัดจีนคุณภาพดีเยี่ยมอย่างมหาศาลของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  [5]

 

6. กิตติกรรมประกาศ

             คณะผู้วิจัยขอขอบคุณ นายจำรอง  ดาวเรือง ผู้อำนวยการสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวงที่กรุณาให้ข้อเสนอแนะ ข้อมูลรายละเอียดและความรู้เกี่ยวกับเกาลัดจีน ตลอดจนแหล่งที่มาของเกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือก และขอขอบคุณ ดร.นิพัฒน์ สุขวิบูลย์ นักวิชาการเกษตร 6. ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงรายที่ได้กรุณาให้ความช่วยเหลือในการใช้เครื่องมือวัดสี MINOLTA รุ่น CR-300 สำหรับวัดสีใบของเกาลัด จนทำให้งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

7. เอกสารอ้างอิง

[1]   จำรอง  ดาวเรือง. 2541. การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ เกาลัดจีน, หน้า 54-64. ใน: แบบประเมินบุคคลของ นายจำรอง  ดาวเรือง เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

        นักวิชาการเกษตร 7. งานวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพ.

[2]   จำรอง  ดาวเรือง, พิจิตร  ศรีปินตา, ประสงค์  มั่นสลุง, ถนอม  ไชยปัญญา, เมืองแก้ว  ชัยสุริยะ และอุทัย  นพคุณวงค์. 2540. การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์เกาลัดจีน, หน้า 1-24. ใน. รายงานผลงานวิจัย

        ประจำปี  2539  ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่. สถาบันวิจัยพืชสวน. เชียงใหม่.

[3]   เสริมสกุล  พจนการุณ และเชวง  แก้วรักษ์. 2545. การเปรียบเทียบพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือก. เอกสารการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28  ภาคโปสเตอร์

        (13-20P) ระหว่างวันที่ 24-26 ตุลาคม 2545 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์. กรุงเทพ. หน้า 514.

[4]  Jackson, D. I. and D. McNeil, 1999. Chestnuts, pp. 292-295. In : Jackson, D. I. And N. E. Looney. (eds) Temperate and Subtropical Fruit Production. CAB International, New York.

[5]  Liu, L. and J.Y. Zhou. 1999. Some considerations on chestnut development in the 21st century in China. Acta Hortic. 494: 85-55.

[6] Woodroof, J.G. 1982. Tree Nuts: Production, Processing and products. Second edition. AVI Publishing Company, Inc. Connecticut. 436 p.