แบไรต์ (Barite)                    มยุรี ปาลวงศ์

                แร่แบไรต์ มีสูตรทางเคมีว่า BaSO4 ประกอบด้วย Barium (Ba) 58% และ Sulfate (SO4 ) 41.2%
ความถ่วงจำเพาะ 4.5 ความแข็ง 3-3.5 ส่วนมากมักพบเป็นก้อนหรือชั้นหนา เนื้อละเอียด หนัก มีความวาว
คล้ายแก้วหรือคล้ายมุก มีคุณสมบัติเป็นสารเฉื่อย (inert) ละลายในน้ำและกรดได้น้อยไม่มีพิษ

แหล่งแร่
                แร่แบไรต์มักพบกระจัดกระจายอยู่บนผิวดินมีการกำเนิดแบบเป็นสายแร่หรือกะเปาะอยู่ในรอยแตก
หรือรอยเลื่อนของหินหรือแทรกอยู่ระหว่างชั้นหินดินดาน หินทราย และหินแกรนิต แบไรต์ มักเกิดร่วมกับ
ตะกั่ว พลวง ฟลูออไรต์ สังกะสี และแมงกานีส แหล่งแร่ที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งแร่ภูไม้ตอง บริเวณเขตต่อแดน
ระหว่าง    อ.ลี้    จ.ลำพูน   กับ    อ.ดอยเต่า    จ.เชียงใหม     ่ เป็นเกรดโคลนเจาะอยู่ทางภาคเหนือ ส่วนภาค
ตะวันออกเฉลียงเหนือ ได้แก่  แหล่งบ่อหินยางบ้านธาตุ อ.เมือง จ.เลย ภาคกลางแหล่งแร่ที่แก่งงูเห่า อ.ท่ายาง
จ.เพชรบุรี ส่วนแหล่งแร่ในภาคใต้  ที่เขาไม้ไผ่    อ.ท่าศาลา     จ.นครศรีธรรมราช และ    อ.กาญจนดิษฐ์
จ.สุราษฏร์ธานี

คาดว่าปริมาณแร่สำรองของแบไรต์ทั่วประเทศมีไม่น้อยกว่า 14.35 ล้านเมตริกตัน

การผลิต
                แบไรต์ที่ผลิตในประเทศไทยแบ่งออกเป็น
                1. แบไรต์ก้อน มีการผลิตในจังหวัดเลย สตูล แพร่ นครศรีธรรมราชและแม่ฮ่องสอน ปี 2539
ปริมาณการผลิตแร่แบไรต์ก้อน 20,404 เมตริกตัน มูลค่า 17.0 ล้านบาท หรือปริมาณลดลงร้อยละ 3.45
มูลค่าลดลงร้อยละ 3.41 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ในปี 2540 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 36,832
เมตริกตัน มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น   30.7   ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ   80.54 ใ  นปี 2541
ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 96,421 เมตริกตัน มูลค่า 138.5 ล้านบาท หรือปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 161.79
มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 351.1 ทั้งนี้เพราะปริมาณความต้องการนำเข้าของต่างประเทศมีมากขึ้น ประกอบกับ
การประกาศใช้ระบบเงินลอยตัว จึงทำให้มูลค่าการผลิตในรูปเงินบาทเพิ่มสูงขึ้นด้วย
                2. แบไรต์บด แบ่งออกเป็น 2 เกรด
                -แบไรต์บดเกรดเคมี (chemical grade) ผลผลิตส่วนใหญ่ได้จากจังหวัดเลย โดย หจก.เลขวิสุทธิ์
ในปี 2539ปริมาณการผลิต 9,960 เมตริกตัน มูลค่า 30.0 ล้านบาท หรือปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.70 มูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.89เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ปี 2540 ปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อยเหลือ   9,485
เมตริกตัน มูลค่า   28.5  ล้านบาท หรือปริมาณลดลงร้อยละ   4.76 มูลค่าลดลงร้อยละ  5 ส่วนในปี 2541
ปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 4,400 เมตริกตันมูลค่าลดลงเล็กน้อยเหลือ 27.0 ล้านบาท หรือปริมาณลดลง
ร้อยละ 53.61 มูลค่าลดลงร้อยละ 5.26
                -แบไรต์บดเกรดโคลนเจาะ ผลผลิตส่วนใหญ่ได้มาจากจังหวัดเลยเช่นกัน ในปี 2539 ปริมาณ
การผลิตกระเตื้องขึ้นเป็น 17,710 เมตริกตัน มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 29.8 ล้านบาท หรือปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ
212.40 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 213.68 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา   ปี 2540   ปริมาณการผลิต ลดลงเหลือ
8,500   เมตริกตัน มูลค่าลดลงเหลือ 14.3  ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 52 ในปี 2541
ปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 4,400 เมตริกตันมูลค่าลดลงเล็กน้อย13.9 ล้านบาท หรือปริมาณลดลงร้อยละ
48.24 มูลค่าลดลงร้อยละ 2.80

การใช้
                แร่แบไรต์ที่ผลิตได้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออก ปริมาณ การใช้จึงขึ้นอยู่กับ
สถานการณ์ ในตลาดโลก แร่แบไรต์ที่ใช้ในประเทศส่วนใหญ่ใช้เกรดโคลนเจาะเพียงอย่างเดียว โดย
ใช้ในการทำโคลนผงสำหรับเจาะสำรวจหาแหล่งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ น้ำบาดาล และใช้ในอุตสาหกรรมสี
อุตสาหกรรมแก้ว อุตสาหกรรมยาง  เครื่องปั้นดินเผาและยารักษาโรค
                ในช่วงปี 2539-2541 ปริมาณการใช้แร่แบไรต์เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2539 เพิ่มขึ้นจากปี 2538
ร้อยละ 52.38 เป็น1,600 เมตริกตัน มูลค่า 2.7 ล้านบาท ในปี 2540 เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 126.75 เป็น
3,628 เมตริกตัน มูลค่า 6.1 ล้านบาทและในปี 2541 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 48.02 เป็น 5,370 เมตริกตัน มูลค่า
19.9 ล้านบาททั้งนี้สืบเนื่องมาจากมีการขุดเจาะสำรวจ้ำมันและก๊าซธรรมชาติภายในประเทศเพิ่มขึ้น
ประกอบกับราคาเฉลี่ยแร่แบไรต์ภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นด้วย
                                    ตารางการผลิตแบไรต์ในประเทศ

                                                                              ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                               มูลค่า : ล้านบาท
 
ปี
แบไรต์ก้อน
แบไรต์บด-เกรดเคมี
แบไรต์-เกรดโคลนเจาะ
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
14,204
11.8
11,140
335.0
11,012
18.5
2538
21,134
17.6
9,080
27.3
5,669
9.5
2539
20,404
17.0
9,960
30.0
17,710
29.8
2540
36,832
30.7
9,485
28.5
8,500
14.3
2541
96,421
138.5
4,400
27.0
4,400
13.9
 

การส่งออก
                แร่แบไรต์ที่ประเทศไทยส่งออกเดิมเป็นแร่แบไรต์ก้อน ซึ่งมีราคาต่ำแต่ต่อมาได้มีการส่งออกแร่
แบไรต์บด ทั้งเกรดโคลนเจาะและเกรดเคมีด้วย ทำให้ราคาดีขึ้น แร่แบไรต์ที่ส่งออกแบ่งออกได้ ดังนี้
                1. แร่แบไรต์ก้อน ผู้ส่งออกรายใหญ่ของไทย ได้แก่ บริษัท จัมปาก้า จำกัด และบริษัท พี แอนด์ เอส
แบไรต์ ไมนิ่ง จำกัด โดยส่งไปยังประเทศอินโดนีเซียและสิงคโปร์ ปี 2539 และปี 2540 ปริมาณการส่งออก
มีปริมาณน้อยที่สุดเพียง 5,000 เมตริกตันมูลค่า 4.2 และ 4.1 ล้านบาท ตามลำดับโดยส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
เพียงประเทศเดียว ในปี 2541 ปริมาณการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นเป็น 38,653 เมตริกตัน มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็น
61.3 ล้านบาท หรือปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ  673.06  มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ  1,396.12  เมื่อเปรียบเทียบกับ
ปี  2540  จะเห็นได้ว่ามูลค่าการส่งออกเป็นร้อยละเพิ่มสูงขึ้นกว่าปริมาณเป็นจำนวนมากสาเหตุมาจาก
การประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินแบบลอยตัว ทำให้มูลค่าในรูปเงินบาทสูงขึ้น
                2. แร่แบไรต์บด
                -เกรดเคมี ผู้ส่งออกได้แก่ บริษัท เอเซียนมิเนอรัลรีซอสเซส หจก.เลขวิสุทธิ์ และบริษัท ลักซ์เคมี
อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ส่งไปยังประเทศมาเลเซียมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ออสเตร-เลีย เกาหลีใต้ และ
ไต้หวัน ตามลำดับ ในปี 2539 ปริมาณการส่งออก 12,415 เมตริกตัน มูลค่า 44.3 ล้านบาท หรือปริมาณเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.98 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในปี 2540 ปริมาณการส่งออกลดลง
เหลือ 8,935 เมตริกตัน มูลค่าลดลงเหลือ 39.1 หรือปริมาณลดลงร้อยละ 28.03 มูลค่าลดลงร้อยละ 11.74 และ
ในปี 2541 ปริมาณการส่งออกลดลงเหลือ 4,822 เมตริกตัน มูลค่าลดลงเหลือ 29.0 ล้านบาท หรือปริมาณลดลง
ร้อยละ 46.03 มูลค่าลดลงร้อยละ 25.83
                -เกรดโคลนเจาะ ผู้ส่งออกได้แก่ บริษัท พี แอนด์ เอสแบไรต์ไมนิ่ง จำกัด โดยส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
มากที่สุดรองลงมาได้แก่ บรูไน และมาเลเซีย ตามลำดับ ในปี 2539 ปริมาณการ ส่งออก 5,600 เมตริกตัน
มูลค่า 14.6 ล้านบาทหรือปริมาณลดลงร้อยละ 24.33 มูลค่าลดลงร้อยละ 7.59 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
ในปี 2540 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 7,250 เมตริกตัน มูลค่า 13.4 ล้านบาท หรือปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ
29.46 มูลค่าลดลงร้อยละ 8.22 และใน ปี 2541 ปริมาณการ ส่งออกลดลงเหลือ 4,000 เมตริกตัน มูลค่าเพิ่มขึ้น
16.3 ล้านบาท หรือปริมาณลดลงร้อยละ 44.83 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.64
                                   ตารางการส่งออกแบไรต์ในประเทศ

                                                                                        ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                         มูลค่า : ล้านบาท
 
ปี
แบไรต์ก้อน
แบไรต์บด-เกรดเคมี
แบไรต์-เกรดโคลนเจาะ
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
13,000
9.0
15,055
51.7
7,735
14.3
2538
18,000
13.9
10,988
37.5
7,401
15.8
2539
5,000
4.2
12,415
44.3
5,600
14.6
2540
5,000
4.1
8,935
39.1
7,250
13.4
2541
38,653
61.3
4,822
29.0
4,000
16.3

ราคา
                ราคาแร่แบไรต์ในประเทศแบ่งตามการผลิตได้ดังนี้
                1. ราคาประกาศแร่แบไรต์เฉลี่ยต่อปี เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประเมินสำหรับเรียกเก็บ ค่าภาคหลวงแร่
ตั้งแต่ ปี 2536-2540 ราคา 834 บาทต่อเมตริกตัน ในปี 2541 ราคาแร่แบไรต์ก้อนเพิ่มขึ้นเป็น 1,407.20 บาท
ต่อเมตริกตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 68.73
                2. ราคาประกาศแร่แบไรต์บดเฉลี่ยต่อปี เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประเมินสำหรับเรียกเก็บ ค่าภาคหลวงแร่
ตั้งแต่ ปี 2536-2540
                -เกรดเคมี ราคา 3,010 บาทต่อเมตริกตัน ปี 2541 ราคาแร่แบไรต์บดเกรดเคมีเพิ่มสูงขึ้นเป็น
5,680.83 บาทต่อเมตริกตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 88.73
                -เกรดโคลนเจาะราคา 1,683 บาทต่อเมตริกตัน ปี 2541 ราคาประกาศแร่แบไรต์บดเกรด
โคลนเจาะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3,514.67 บาทต่อเมตริกตันหรือเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 108.83
                สาเหตุที่ราคาประกาศแร่แบไรต์เฉลี่ยต่อปี เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประเมินสำหรับเรียกเก็บค่าภาค
หลวงแร่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นแบบลอยตัว
(floating exchange rate)
                อัตราค่าภาคหลวงแร่แบไรต์ก้อนเก็บในอัตราร้อยละ 7 และแร่แบไรต์บดเก็บในอัตราร้อยละ
2 ของราคาประกาศ

การตลาด
                ตลาดแร่แบไรต์เป็นตลาดของผู้ซื้อ เนื่องจากคุณสมบัติการใช้งานที่จำกัดอีกทั้งยังมีการผลิตสูง
กว่าปริมาณการใช้ประกอบกับตลาดในประเทศมีจำกัด นอกจากนี้การซื้อขายแร่แบไรต์ต้องผ่านคนกลาง
ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัทขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ที่มีเครือข่ายขุดเจาะน้ำมันอยู่ทั่วโลก

จำนวนเหมืองเปิดการ
                ในปี 2541 เหมืองเปิดการแร่แบไรต์มีจำนวน 11 เหมือง ลดลงจากปี 2539 และปี 2540
จำนวน 2 เหมือง

จำนวนคนงาน
                    จำนวนคนงานในปี 2540 มีจำนวน 223 คน แต่ในปี 2541 จำนวนคนงานลดลงเหลือ 195 คน

ปัญหาและอุปสรรค
                1. ปัญหาด้านการตลาด ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ การซื้อขายเป็นแบบกึ่งผูกขาด
ระหว่าง บริษัทผู้ส่งออกกับบริษัทในเครือของบริษัทขุดเจาะสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทำให้
ราคาแร่ไม่เปลี่ยนแปลงเท่าที่ควร ในปี 2541 จะเห็นได้ว่าราคาสูงขึ้น สาเหตุมาจากอัตราการ แลกเปลี่ยน
ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงไม่ใช่เพราะความต้องการใช้แร่เพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด
                2. ปัญหาด้านการเงิน แร่แบไรต์ที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เรียกเก็บเงินไม่ได้หรือ
ล่าช้ากว่ากำหนด ก่อให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องทางด้านการเงินกับบริษัทที่ผลิตและบริษัทส่งออก
                3. ปัญหาด้านแหล่งแร่ เนื่องจากแหล่งแร่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าดงดิบ ทำให้การคมนาคมไม่สะดวก
ประกอบกับในช่วงฤดูฝนมีน้ำท่วมขังขุมเหมืองจึงต้องหยุดกิจการไปจนถึงหน้าแล้ง เพื่อสูบน้ำออก ทำให้
เสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
                4. ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง เป็นเหตุให้การสำรวจขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ซบเซาซึ่งมีผลต่อปริมาณการใช้แร่แบไรต์ลดลงด้วย

แนวโน้ม
                สาเหตุมาจากแร่แบไรต์มีปริมาณการผลิตมากกว่าความต้องการใช้แร่ ทำให้ตลาดอยู่ในวงแคบ
โดยผู้ซื้อจะทำสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้าเป็นระยะยาว จะเห็นได้ว่า     ในปี 2541      การผลิตแร่แบไรต์
ก้อนมี จำนวน 96,421 เมตริกตัน ขณะที่การส่งออกแร่แบไรต์ก้อนมีเพียง 38,653 เมตริกตัน เท่านั้น
คาดว่าสถานการณ์แร่แบไรต์ จะชะลอตัวไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
และของโลกจะดีขึ้น