สังกะสี (Zinc)                แสงเพ็ชร์ บุดชาดา

                แร่สังกะสีกับแร่ตะกั่วมักเกิดร่วมกันเสมอในธรรมชาติ แร่สังกะสีที่พบในประเทศไทยเป็นแร่
สังกะสีซัลไฟด์ปนกับแร่ตะกั่วซัลไฟด์ ยกเว้นแหล่งแร่บริเวณผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นแร่
สังกะสีในลักษณะของแร่ สมิทโซไนท์ (Smithsonite ; ZnCo3) และแร่ เฮมิมอร์ไฟท์ (Hemimorphite ;
Zn4 (Si2O7) (OH)2 H2O แร่สมิทโซไนท์ สีแร่อาจมีสีเทาขาว เขียวขาว และน้ำตาลขาวมีรูปผลึก แต่ไม่
เด่นชัดนัก มีลักษณะโปร่งใสจนถึงโปร่งแสง แร่เฮมิมอร์ไฟท์ มีสีขาวหรือสีฟ้าอ่อน เขียวอ่อน เหลือง หรือ
น้ำตาลมีรูปผลึกเป็นแผ่นหนาไม่มากนัก ลักษณะโปร่งใส ส่วนแร่สฟาเลอไรท์ (Sphalerite, ZnS) พบปริมาณ
ไม่มากนักในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี จากคุณสมบัติที่มีสารประกอบต่าง ๆ กัน ทำให้แร่สังกะสีแต่ละชนิด
มีคุณสมบัติทางกายภาพบางอย่างแตกต่างกัน กรรมวิธีการถลุงเอาโลหะสังกะสีต่างกันด้วย ขึ้นอยู่กับสาร
ประกอบในแร่แต่ละชนิด

การผลิตแร่สังกะสี
                การทำเหมืองแร่สังกะสีในปัจจุบันที่สำคัญคือ บริเวณผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ของ
บริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด ก่อนการทำเหมืองได้ประเมินปริมาณสำรองแร่สังกะสีไว้ประมาณ 4.5
ล้านเมตริกตัน และได้ทำการก่อสร้างโรงถลุงแร่สังกะสีตั้งแต่ปี 2527 ในระยะแรกทำ การผลิตเฉพาะ
โลหะสังกะสีแท่ง    (Zinc Ingot)    ในระยะต่อมาได้เพิ่มการผลิตโลหะสังกะสีผสม     (Zinc alloy) การถลุงแร่สังกะสีเป็นขบวนการถลุงแร่สังกะสีชนิดซิลิเกตมาจากแหล่งแร่แม่สอด จังหวัดตาก เหมือง
แม่สอดได้เปิดเหมืองมาเป็นปีที่ 15 ผลิตแร่สังกะสีได้ทั้งสิ้นประมาณ 4.4 ล้านเมตริกตัน ที่มีเนื้อโลหะ
สังกะสีเฉลี่ยร้อยละ 22 ปัจจุบันความสมบูรณ์ของแร่ลดลงมีเนื้อโลหะในแร่ประมาณร้อยละ 10 ปริมาณ
แร่สำรองลดลงเหลือประมาณ   370,000-400,000    ตัน ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการนำเข้าแร่จากต่างประเทศ
มีทั้งแร่สังกะสีซิลิเกตและแร่สังกะสีซัลไฟด์ บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการถลุงแร่ใหม่ให้เหมาะสม
กับวัตถุดิบ        โดยลงทุนสร้างโรงย่างแร่หรือโรงงานแคลไซน์ในบริเวณนิคมอุตสาห-กรรมผาแดง
ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง และได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการถลุงแร่ในบางขั้นตอนของ
โรงถลุงสังกะสี จังหวัดตากด้วย
                การผลิตแร่สังกะสีในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2540 มีปริมาณการผลิต 91,132 เมตริกตัน และใน
ปี พ.ศ. 2541 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 114.1 เป็นปริมาณ 195,122 เมตริกตัน มูลค่า 1,508 ล้านบาท
(รายละเอียดปรากฏตามตาราง)

                  ตารางการผลิตแร่สังกะสี
                                                                                                               ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                                   มูลค่า : ล้านบาท
ปี
ปริมาณ
มูลค่า
2537
   
2538
135,198
711.9
2539
181,233
976.9
2540
91,132
581.4
2541
195,122
1,508
การผลิตโลหะ
                บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด ได้พัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงถลุง
สังกะสี โดยการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักรเพิ่มเติมให้สามารถเพิ่มปริมาณการใช้แร่สังกะสี ซิลิเกตเปอร์
เซ็นต์ต่ำ     ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าแร่สังกะสีซัลไฟด์ที่มีการนำเข้าหัวแร่สังกะสีซัลไฟด์จากต่างประเทศ
และมีการปรับเปลี่ยนโรงผลิตแคดเมียมให้มีการผลิตสังกะสีแคดโทดแทนโลหะแคดเมียม ส่งผลให้มี
ผลผลิตโลหะสังกะสีเพิ่มขึ้นในปี 2541   รวมทั้งสิ้น   90,980   เมตริกตัน   จำแนกเป็นโลหะสังกะสีแท่ง
75,904 เมตริกตัน โลหะผสมสังกะสี15,076 เมตริกตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2540 มีผลผลิตรวมเพียง
84,053 เมตริกตัน

                                    การผลิตและการใช้โลหะสังกะสี
                                                                                                                                                        หน่วย : เมตริกตัน
รายการ/ปี
2537
2538
2539
2540
2541
การผลิต          
โลหะสังกะสี
58,513
45,714
55,416
72,035
75,904
โลหะผสมสังกะสี
12,586
10,509
12,643
12,018
15,076
รวม
71,099
56,223
68,059
84,053
90,980
การใช้          
โลหะสังกะสี
57,790
48,040
59,189
54,995
35,989
โลหะผสมสังกะสี
12,465
11,321
12,234
10,491
7,735
รวม
70,255
59,361
71,423
65,486
43,724
ที่มา : ฝ่ายพัฒนาโลหกรรม กองโลหกรรม

การใช้
                โลหะสังกะสีมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่นใช้ในอุตสาหกรรม
ชุบเหล็กต่าง ๆ เพื่อป้องกันสนิม    เช่น      อุตสาหกรรมทำแผ่นเหล็กชุบสังกะสี     (Galvanized Iron Sheets) การใช้ในอุตสาหกรรมประเภทนี้ประมาณร้อยละ 90       ของปริมาณการใช้รวมทั้งหมด นอกจากนี้ยังใช้ใน
อุตสาหกรรมทำทองเหลือง อุตสาหกรรมทำถ่านไฟฉาย อุตสาหกรรมทำ Zinc Oxide อุตสาหกรรมทำเคมีและ
ใช้ผสมโลหะอื่น ๆ เช่น อลูมิเนียม ทองแดง ตะกั่ว เป็นต้น
                ปริมาณการใช้โลหะผสมสังกะสี (Zinc alloy) ที่ผลิตได้ภายในประเทศในปี พ.ศ. 2540 มีปริมาณ 10,491
เมตริกตัน มูลค่า 541 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2541 ปริมาณการใช้ลดลงถึง ร้อยละ 26.3 เหลือเพียง 7,735 เมตริกตัน
มูลค่า 447.3 ล้านบาท ส่วนปริมาณการใช้โลหะสังกะสี (Zinc metal)       ในปี พ.ศ. 2540 มีปริมาณสูงถึง   54,995
เมตริกตัน มูลค่า 2,296.9 ล้านบาท แต่ในปี พ.ศ. 2541 ปริมาณการใช้ลดลงถึงร้อยละ 34.6 เหลือปริมาณ 35,989
เมตริกตัน มูลค่า 1,710.1 ล้านบาท ปริมาณการใช้ลดลงเนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างหดตัวลงอย่างรุนแรงทั้งโครงการภาครัฐบาลและเอกชนส่งผลกระทบต่อเนื่องแก่
อุตสาหกรรมผู้ใช้โลหะสังกะสี

    ตารางการใช้ การนำเข้าและส่งออกโลหะสังกะสีและโลหะผสมสังกะสี
                                                                                                                                                             ปริมาณ : เมตริกตัน
รายการ/ปี
2537
2538
2539
2540
2541
การนำเข้า 

โลหะสังกะสี 

โลหะผสมสังกะสี 

รวม 

การส่งออก 

โลหะสังกะสี 

โลหะผสมสังกะสี 

รวม

 
28,207
4,935
33,142
0
0
0
44,461
9,517
53,978
0
1
1
37,747
10,002
47,749
20
0
20
21,472
6,662
28,134
22,117
1,561
23,678
14,445
7,233
21,678
41,174
6,993
48,167
                            ตารางการผลิตและการใช้โลหะสังกะสี
                                                                                                                                                            หน่วย : เมตริกตัน
                                                                                                                                                              มูลค่า : ล้านบาท
ปี
การผลิต
การใช้
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
71,099
1,968
70,255
1,944
2538
56,223
1,616
59,361
1,707
2539
68,058
1,966
71,423
2,063
2540
84,053
3,647
65,486
2,841
2541
90,980
4,354
43,724
2,093
 


การส่งออกโลหะสังกะสี
                จากปริมาณความต้องการใช้โลหะสังกะสีภายในประเทศลดลง จึงมีการ ส่งออกไปจำหน่ายยัง
ต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยจำหน่ายไปยังตลาดในภูมิภาคเอเซีย เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง อินเดีย
และประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้มียอดการส่งออกในปี 2541 เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 103.4 มีปริมาณรวม
48,167 เมตริกตัน จำแนกเป็นโลหะสังกะสีแท่งจำนวน 41,174 เมตริกตัน และโลหะผสมสังกะสีจำนวน
6,993 เมตริกตัน เมื่อเทียบกับปี 2540 มีการส่งออกเพียงจำนวน 23,678 เมตริกตัน เป็นโลหะสังกะสีแท่ง
จำนวน 22,117 เมตริกตัน โลหะผสมสังกะสีจำนวน 1,561 เมตริกตันนอกจากการส่งออกในรูปผลิตภัณฑ์
โลหะสังกะสีและโลหะผสมสังกะสีแล้วยังส่งออกในรูปสังกะสีผงและเกล็ด สังกะสีแผ่น หลอดท่อและ
อุปกรณ์ข้อต่อ เป็นต้น

การนำเข้าโลหะสังกะสี
                มีการนำเข้าโลหะสังกะสีและผลิตภัณฑ์โลหะผสมสังกะสีชนิดที่ไม่มีการผลิตในประเทศ  เนื่อง
จากปริมาณความต้องการใช้มีไม่มากนัก ส่วนใหญ่นำเข้าในรูปโลหะสังกะสีและสังกะสีผสม สังกะสีผง
และเกล็ดลวดสังกะสี สังกะสีแผ่น สังกะสีเปลว ลวด หลอดท่อและอุปกรณ์ ข้อต่อ มีการนำเข้าโลหะสังกะสี
จากประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตเรีย   เบลเยี่ยม   จีน   เกาหลี   ญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มอาเซียนปริมาณการ
นำเข้าในปี 2541 มีปริมาณลดลงกว่าร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปี 2540 จากปริมาณการนำเข้า 28,134 เมตริกตัน
เหลือเพียง 21,678 เมตริกตันตามลำดับ

ราคาโลหะสังกะสี
                ราคาโลหะสังกะสีที่ทำการซื้อขายกันส่วนใหญ่ภายในประเทศจะอิงกับราคาตลาดโลก ราคาหลัก
ที่สำคัญ คือ ราคาในตลาดลอนดอน (London Metal Exchange : LME) ราคา LMEเป็นราคาสังกะสีที่มีการ
เคลื่อนไหวทุกวันจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพอุปทานและอุปสงค์สังกะสีที่แท้จริงในตลาด ราคาโลหะสังกะสี
โลกในปี 2541      ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง      โดยมีระดับราคาเฉลี่ยที่   1,024   เหรียญสหรัฐ/เมตริกตัน
ลดลงจากปี 2540 ซึ่งมีระดับราคาเฉลี่ยตลอดปีที่ 1,316 เหรียญสหรัฐ/เมตริกตัน ลดลงร้อยละ22สาเหตุมาจาก
สภาวะของเศรษฐกิจถดถอยในทวีปเอเซียและอเมริกาใต้

                          ตารางราคาโลหะสังกะสีในตลาด LME
                                                                                                                                     หน่วย : เหรียญสหรัฐ/เมตริกตัน
ปี
2537
2538
2539
2540
2541
ราคา
998
1,032
1,025
1,316
1,024
%การเปลี่ยนแปลง
-
+3.4
-0.68
+28.4
-22.2
ที่มา ฝ่ายข้อมูลและสถิต ิ กองวิชาการและวางแผน

ปัญหาและอุปสรรค
                ปัญหาที่สำคัญของการผลิตสังกะสีของประเทศไทย คือ แหล่งแร่สังกะสีซิลิเกต ที่เหมืองแม่สอด มีปริมาณแร่ลดลงและปริมาณแร่ที่มีคุณภาพเนื้อโลหะสังกะสีมีเพียงร้อยละ 5-10 ส่งผลกระทบต่อต้นทุน
การผลิตที่สูงขึ้นตามลำดับ       ต้องมีการนำเข้าสินแร่จากต่างประเทศและต้องมีการปรับปรุงกระบวนการ
ผลิตเพื่อสามารถใช้แร่สังกะสีซิลิเกตและซัลไฟด์ร่วมกันในการผลิต

แนวโน้ม
                การผลิตโลหะสังกะสีจากแร่ที่เหมืองแม่สอดในปัจจุบัน อัตราการส่งแร่ป้อนโรงถลุงมีแนวโน้ม
ลดลง บริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด ได้ดำเนินการเจาะสำรวจแร่เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียง และพื้นที่เดิม
แต่มีระดับความลึกเพิ่มขึ้น       พบสินแร่สังกะสีที่มีศักยภาพและคุณภาพเนื้อโลหะสังกะสีในแร่สูงมีการ
ยื่นขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองเพิ่มขึ้นพร้อมกับได้ทำการสำรวจแร่ในต่างประเทศ เช่นการสำรวจแร่ที่
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสหภาพเมียนม่าร์พบปริมาณและศักยภาพแร่สูงพร้อมที่จะลงทุน
ดำเนินการทำเหมืองแร่ในโอกาสต่อไป
                ในด้านการส่งออกจากปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศลดลงจึงมีการส่งออกทดแทนและ
คาดว่าจะมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับแนวโน้มของราคาสังกะสียังคงปรับตัว ลดลงอย่างต่อเนื่อง
คาดว่าในปี 2542 ระดับราคาสังกะสีในตลาดลอนดอนจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา