หินดินดาน (Shale)                                    มยุรี ปาลวงศ์
 

                หินดินดานเป็นหินที่เกิดจากการสะสมตัวของโคลนตมและดินเหนียวมีชั้นบางๆ มีเนื้อละเอียด
ประกอบด้วยดินเหนียว หรือทรายเนื้อละเอียดมาก อาจมีเหล็กแคลเซียมคาร์บอเนต คาร์บอนหรือสารอินทรีย์
ปนทำให้มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เหลือง เทา เขียว และดำ หินดินดานมักจะมีรอยชั้นบาง ๆ (Fissilty) เมื่อ
ปริจะแตกตัวตามรอยชั้น
                หินดินดานใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญชนิดหนึ่งในการผลิตปูนซิเมนต์ สัดส่วนการใช้ประมาณ
ร้อยละ 15-18 ของวัตถุดิบทั้งหมด

แหล่งแร่
                หินดินดานมักพบไม่ไกลจากแหล่งหินปูนมากนัก แหล่งผลิตในภาคกลางที่จังหวัดเพชรบุรีและราชบุรี แหล่งหินดินดานแหล่งใหญ่อยู่ที่จังหวัดสระบุรี        ซึ่งใกล้กับโรงงานผลิตปูนซิเมนต์ ส่วนภาคใต้ที่จังหวัด
นครศรีธรรมราช และสงขลา

การผลิต
                การผลิตหินดินดานผลิตเพื่อสนองความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ภายในประเทศเป็น
ส่วนใหญ่ ในปี 2539 มีปริมาณการผลิต 4.6 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 414.5 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 5.69 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ปี 2540 มีปริมาณการผลิต 5.4 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 484.9 ล้าน
บาท หรือปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.98 และในปี 2541 ปริมาณการผลิตลดลงเหลือเพียง 2.7 ล้าน
เมตริกตัน มูลค่า 245.9 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 50ทั้งนี้เพราะปริมาณความต้องการใช้
ปูนซิเมนต์ลดลงเป็นผลให้หินดินดาน ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซิเมนต์ลดลงตามไปด้วย

การใช้และการส่งออก
                ประเทศไทยผลิตหินดินดานเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมภายในประเทศเท่านั้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรม
ปูนซิเมนต์ ยังไม่มีการส่งออกหินดินดานไปจำหน่ายต่างประเทศในรูปของวัตถุดิบแต่อย่างใด ในปี 2539 มี
ปริมาณการใช้หินดินดาน 3.9 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 351.1 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 9.58
เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ปี 2540 มีปริมาณการใช้ 5.3 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 478.2 ล้านบาท หรือปริมาณ
และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.20 และในปี 2541 มีปริมาณการใช้ลดลงเหลือ 2.7 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 208.2
ล้านบาทหรือลดลงร้อยละ 49.20 มูลค่าลดลงร้อยละ 56.46 สาเหตุ
มาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
                  การผลิตและการใช้หินดินดานในประเทศไทย
                                                                                                                                        ปริมาณ : 1,000 เมตริกตัน
                                                                                                                                            มูลค่า : ล้านบาท
 
ปี
การผลิต
การใช้ภายในประเทศ
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
3,574.3
321.7
3,590.5
323.1
2538
4,357.3
392.2
4,314.3
388.3
2539
4,605.5
414.5
3,900.6
351.1
2540
5,387.4
484.9
5,312.9
478.2
2541
2,732.50
245.9
2,698.9
208.2
 
ราคาประกาศและค่าภาคหลวง
                ราคาประกาศหินดินดานเฉลี่ยต่อปี เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประเมินสำหรับเรียกเก็บค่าภาคหลวง
ตั้งแต่ปี 2536-2541 ราคา 90 บาทต่อเมตริกตัน เสียค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละ 4 ของราคาประกาศ คิด
เป็นค่าภาคหลวง 3.60 บาทต่อเมตริกตัน

เหมืองเปิดการและจำนวนคนงาน
                เดือนธันวาคม ปี 2541 เหมืองเปิดการหินดินดาน มี จำนวน 11 เหมือง ลดลงจากปี 2540 จำนวน
1 เหมือง ส่วนคนงาน มี จำนวน 344 คน ลดลงจากปี 2540 จำนวน 425 คน

แนวโน้ม
               หินดินดานเป็นวัตถุดิบที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ในขณะที่อุตสาหกรรม
ปูนซิเมนต์ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ ย่อมจะมีผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตและการใช้หินดินดานอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ คาดว่าการผลิตและการใช้หินดินดานจะไม่แตกต่างจากปี 2541 มากนัก จนกว่าปัญหาทางด้าน
วิกฤตเศรษฐกิจจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นหินดินดานจึงจะกระเตื้องขึ้นตามความต้องการใช้ปูนซิเมนต์ทั้ง
ภายในและต่างประเทศที่นำเข้าปูนซิเมนต์จากประเทศไทย