ฟอสเฟต (Phosphate)            สมบัติ วรินทรนุวัตร

                แร่ฟอสเฟต หมายถึง หินที่มีแคลเซียมฟอสเฟต (CaPO4) หรือมีธาตุฟอสฟอรัส (P) เป็นส่วนประกอบ
ที่สำคัญ แร่ที่สำคัญของฟอสเฟต   ได้แก ่ อะปาไทต์   ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของฟอสเฟตจากน้ำทะเลประเทศไทย
มีการสำรวจแร่ฟอสเฟตอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี 2509 โดยนำแร่ฟอสเฟตส่วนใหญ่มาเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม
การผลิตปุ๋ยเคมี

แหล่งแร่
                การดำเนินการผลิตแร่ฟอสเฟตในประเทศไทย มีการแบ่งชนิดของแร่ฟอสเฟตออกตามแหล่งกำเนิด
ได้ 3 ประเภท   ด้วยกัน คือ
                1. แหล่งแร่ฟอสเฟตแบบกัวโน (Guano deposits) เป็นแหล่งที่เกิดจากการสะสมของมูลสัตว์ปีกต่างๆ
เช่น มูลนกเค้าแมว มูลค้างคาว ตามเขาหินปูนโดยมีแหล่งแร่ฟอสเฟตในพื้นที่ดังนี้
                -เขาคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (แหล่งแรกที่พบในประเทศไทย)
                -บ้านสบเมย อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน (ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ในอดีต ปัจจุบันทำเหมืองหมดแล้ว)
                -บ้านหาดปู่ด้าย ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
                -เขาฟักม้า บ้านหนองแซ่เลา ตำบลหินกอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
                -บ้านรางเข้ อำเภอท่าเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
                -เขาอีตุ้ม บ้านนากาญจน์ จังหวัดกาญจนบุรี (โดยแร่ฟอสเฟตแบบกัวโนนี้ ยังพบมากในพื้นที่
                  จังหวัดกาญจนบุรีอยู่)
                -เขาพนมวงศ์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
                -เขาชะโงก และเขาเทพพนม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
                2. แหล่งแร่ฟอสเฟตแบบอะลูมิเนียมฟอสเฟต เป็นแหล่งที่เกิดจากการสะสมตัวของฟอสฟอรัส
ในชั้นหินทราย พบที่บ้านเหล่าขาม อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
                3. แหล่งแร่ฟอสเฟต แบบหินชั้น เป็นแหล่งที่เกิดจากฟอสฟอรัสแทรกอยู่ใน หินดินดาน พบ
บริเวณเขตติดต่อระหว่างอำเภอฝาง กับอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
                ซึ่งจากปริมาณแร่ฟอสเฟตทั้ง 3 ประเภท มีการสำรวจอย่างคร่าว ๆ ว่ามีปริมาณสำรองของแร่
ฟอสเฟตประมาณ 2 แสนตัน โดยมีความสมบูรณ์ของฟอสฟอรัสเพนตอกไซด์ (P2 O5 ) ร้อยละ 14-35
การผลิต
                การผลิตแร่ฟอสเฟตในประเทศไทยเริ่มต้น ตั้งแต่ปี 2512 จนถึงปัจจุบันคิดเป็นระยะเวลา 30 ปี
ซึ่งการผลิตแร่ฟอสเฟตในประเทศไทยเป็นการผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว สำหรับ
ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2537-2541 นั้น ในปี 2538 ประเทศไทยสามารถผลิต แร่ฟอสเฟตในปริมาณ
มากที่สุด คือผลิตแร่ฟอสเฟตได้ จำนวน 9,301 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 3.9 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการผลิต
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.18   หลังจากนั้นการผลิตแร่ฟอสเฟตในประเทศมีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ โดย
ในปี 2539 ปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 3,525 เมตริกตันคิดเป็น มูลค่า 1.5 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่า
การผลิตลดลงจากปี 2538 ร้อยละ62.10 และ 61.54 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2538 ในปี 2540 ปริมาณ
การผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 3,818เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 1.6 ล้านบาท หรือปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.31
โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.67 ส่วนในปี 2541 มีปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 3,029 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า
1.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 20.67 และมูลค่าลดลงร้อยละ 18.75 โดยมีสาเหตุ
สำคัญจากแหล่งแร่ฟอสเฟตของเหมืองเปิดการที่ดำเนินการอยู่มีปริมาณแร่ฟอสเฟตลดลง

การใช้ภายในประเทศ
                การผลิตแร่ฟอสเฟตของประเทศไทย ผลิตเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม ต่อเนื่อง
ภายในประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของแร่ ส่วนประกอบของฟอสเฟตที่มี P2 O5 สูงกว่าร้อยละ 30 ใช้
ในอุตสาหกรรมปุ๋ย ส่วนฟอสเฟตที่มี P2 O5 ร้อยละ 20-30 ใช้ในการผลิตธาตุฟอสฟอรัส ซึ่งนำมาเป็น
วัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ผงซักฟอก วัสดุไฟฟ้า วัตถุระเบิด ดอกไม้ไฟ ไม้ขีดไฟ ยารักษาโรค
การกลั่นน้ำมันและอุตสาหกรรมเหล็กกล้า
                ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น ในปี 2538 มีปริมาณการใช้แร่ฟอสเฟตภายในประเทศมาก ที่สุดคือ
10,925 เมตริกตัน และคิดเป็นมูลค่า 4.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการใช้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในสัดส่วนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 72.24 หลังจากนั้นการใช้แร่ฟอสเฟตในประเทศมีปริมาณการใช้ลดลงอย่าง ต่อเนื่อง โดยในปี 2539
ปริมาณการใช้ลดลงเหลือ 4,131 เมตริกตันมูลค่า 1.7 ล้านบาท หรือลดลง ร้อยละ 62.19 มูลค่าลดลงร้อยละ
62.23 ปี 2540 ปริมาณการใช้ลดลงเหลือ 3,308 เมตริกตันมูลค่าลดลงเหลือ 1.4 หรือลดลงร้อยละ 69.72 มูลค่า
ลดลงร้อยละ 68.89 และปี 2541 ปริมาณการใช้ลดลงเหลือ 3,194 เมตริกตัน มูลค่า 1.3 หรือปริมาณการใช้
ลดลงร้อยละ 70.76 มูลค่าลดลงร้อยละ 71.11
              ตารางการผลิตและการใช้แร่ฟอสเฟตในประเทศ
                                                                                                                                   ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                                                       มูลค่า : ล้านบาท
ปี
การผลิต
การใช้ในประเทศ
2537
7,739
3.2
6,343
2.6
2538
9,301
3.9
10,925
4.5
2539
3,525
1.5
4,131
1.7
2540
3,818
1.6
3,308
1.4
2541
3,029
1.3
3,194
1.3

ราคา
                ในปี 2541 มีราคาประกาศซื้อขายเฉลี่ยที่ 416 บาทต่อเมตริกตันและมีอัตราค่าภาคหลวงแร่
ร้อยละ 4 ของราคาประกาศต่อ 1 หน่วย น้ำหนัก คิดเป็น 16.64 บาทต่อเมตริกตัน

จำนวนเหมืองเปิดการ
                จำนวนเหมืองเปิดการของแร่ฟอสเฟต ในปี 2541 มีจำนวน 10 เหมือง ซึ่งมีการปิดเหมือง
จากปี 2540 จำนวน 2 เหมือง เนื่องจากสิ้นสุดระยะโครงการของเหมืองเปิดการประกอบกับปริมาณ
แร่ฟอสเฟตของเหมืองมีปริมาณลดลงไม่เพียงพอกับการขุดเจาะ นอกจากนี้ยังไม่สามารถหาแหล่ง
ผลิตแร่ฟอสเฟตใหม่เพิ่มขึ้นได้

จำนวนคนงาน
                จำนวนคนงานในเหมืองที่เปิดดำเนินการของแร่ฟอสเฟตในปี พ.ศ. 2540 มีจำนวน 99 คน
ลดลงจาก ปี 2539 จำนวน 106 คน เนื่องจากการเปิดเหมืองลง 2 เหมือง และในปี 2541 ก็มีการลด
คนงานอีก 14 คน เหลือยอดรวมคนงานในเหมือง 85 คน

ปัญหาและอุปสรรค
               ปัญหาด้านการตลาดของแร่ฟอสเฟตโดยส่วนใหญ่ของการผลิตในประเทศไทยเป็นการผลิต
เพื่อใช้ในงานเกษตรกรรมภายในประเทศ ซึ่งผู้ผลิตโดยส่วนใหญ่มิได้เป็นผู้ขายโดยตรง จึงก่อให้เกิด
มีพ่อค้าคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดจำหน่าย ดังนั้นจึงส่งผลกระทบในด้านราคา

แนวโน้ม
                เนื่องจากการใช้แร่ฟอสเฟตส่วนใหญ่เป็นการใช้ในงานเกษตรกรรม(ปุ๋ย) และในปัจจุบัน
ประเทศไทยยังมีการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศ ดังนั้นเราจึงช่องว่างในการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า
จากต่างประเทศได้ คาดว่า ในปี 2542 จะมีการผลิตปุ๋ยเพิ่มสูงกว่าปี 2541 จึงจะส่งผลให้มีการใช้
แร่ฟอสเฟตเพิ่มขึ้น