หินปูน (Limestone)             มยุรี ปาลวงศ์

                หินปูน หมายถึง หินชั้นหรือหินตะกอนที่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCo3 ) เป็นส่วน
ใหญ่ ในประเทศไทยมีแหล่งหินปูนกระจัดกระจายอยู่เกือบทั่วประเทศ เดิมรู้จักหินปูนเพราะนำมาทำปูน
ขาวเพื่อการก่อสร้าง ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากหินปูนอย่างกว้างขวาง หินปูนแยกประเภทตามลักษณะ
การใช้ได้ ดังนี้
                            1. หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ (Cement Industry)
                            2. หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง (Construction)
                            3. หินปูนประเภทหินประดับ (Dimension Stone)
                            4. หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ (Other Industries)
                คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2538 เห็นชอบในหลักการแนวทางการ ดำเนินงานและ
แผนปฎิบัติการเปลี่ยนแปลงการระเบิดและย่อยหินไปเป็นเทคโนโลยีการทำเหมืองหิน ภายใต้พระราช
บัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ซึ่งกำกับดูแลโดยกรมทรัพยากรธรณี เพื่อแก้ไขปัญหาด้านกำกับ ดูแลการใช้ทรัพยากร
หินของประเทศให้อยู่ภายใต้หน่วยงานเดียวกัน การแก้ไขปัญหาความปลอดภัยในการทำงาน โดยใช้เทคนิค
ทางวิศวกรรมเหมืองแร่ การแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมี การจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
อย่างเหมาะสม และกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 77 (พ.ศ. 2539) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 กำหนดให้หินทุกชนิดเป็นแร่ชนิดหินประดับ หรือชนิดหินอุตสาหกรรม
เมื่อวันที่    15 มีนาคม    2539     ซึ่งมีผลให้การประกอบกิจการผลิตหินเพื่อการก่อสร้างทั้งหมดมาอยู่ภายใต้
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

แหล่งแร่
                แหล่งหินคาร์บอเนตหรือหินปูนและหินปูนเนื้อโดโลมิติก มีอยู่แทบทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นไม่มีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้

การผลิต
                การผลิตหินปูนที่สำคัญของไทย แยกพิจารณาตามลักษณะการใช้ได้ ดังนี้
                1. หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ แหล่งสำคัญอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีปริมาณ การผลิตปูนซีเมนต์
เกิน   80%   ของปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศ ส่วนแหล่งผลิตอื่น ๆ ไ  ด้แก่         จังหวัดนครสวรรค์     เพชรบุรี
นครศรีธรรมราช ราชบุรี และลำปาง ในปี 2536 และปี 2537 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณร้อยละ
28-30 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2538-2540 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเหลือประมาณร้อยละ 8-15 ต่อปี
สาเหตุมาจากการก่อสร้างชะลอตัวลง เพราะถึงจุดอิ่มตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2539 การผลิตหินปูน
เพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์มีปริมาณ 50.06 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 4,255 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่า เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.88 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ปี 2540 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 58.76 ล้านเมตริกตัน มูลค่า
4,994.4 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.38 ปี 2541 ปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 37.25 ล้าน
เมตริกตัน มูลค่า 3,166.3 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 36.60 เนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทาง
เศรษฐกิจ
                2. หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี 2539 มี
ปริมาณการผลิต 7.73 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 541.0 ล้านบาท ปี 2540 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 26.29 ล้าน
เมตริกตัน มูลค่า 1,840.1 ล้านบาท หรือปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 240.13 เมื่อ เปรียบเทียบกับปีที่ผ่าน
มา ในปี 2541 ปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 18.16 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 1,270.9 ล้านบาท หรือปริมาณและ
มูลค่าลดลงร้อยละ 30.93
                3. หินปูนประเภทหินประดับ ปริมาณการผลิตในปี 2539 มีจำนวน 1,893 เมตริกตัน มูลค่า 3.8 ล้านบาท
หรือปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 244.89 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 153.33 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ปี 2540 การผลิต
มีปริมาณลดลงเหลือ 529 เมตริกตัน มูลค่า 1 ล้านบาท หรือปริมาณลดลง ร้อยละ 72.05 มูลค่าลดลงร้อยละ 26.32
ส่วนในปี 2541 ปริมาณการผลิตลดลงเหลือเพียง 233 เมตริกตัน มูลค่าเพียง 0.5 ล้านบาท เท่านั้น
                4. หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ในปี 2539 ปริมาณการผลิตมีจำนวน 3.03 เมตริกตัน มูลค่า 257.3 ล้านบาท หรือปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.64    มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.55    เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา   ในปี 2540 ปริมาณ
การผลิตลดลงเหลือ 2.64 ล้านเมตริกตัน   มูลค่า 224.7   ล้านบาท หรือปริมาณลดลงร้อยละ    12.87 มูลค่าลดลงร้อยละ
12.67     ส่วนในปี 2541 การผลิตลดลงเหลือเพียง   0.22   ล้านเมตริกตัน   มูลค่าเพียง 19.1 ล้านบาทหรือปริมาณลดลง
ร้อยละ 91.67 มูลค่าลดลงร้อยละ 91.50

                        ตารางการผลิตหินปูนในประเทศไทย
                                                                                                                                           ปริมาณ : พันเมตริกตัน
                                                                                                                                               มูลค่า : ล้านบาท
ปี
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง
หินปูนประเภท หินประดับ
หินปูนเพื่อ อุตสาหกรรมอื่นๆ
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
42,223.7
3,589
-
-
1.4
2.8
1,658.7
141.0
2538
45,559.2
3,872.5
-
-
0.8
1.5
2,689.2
228.6
2539
50,058.4
4,255.0
7,728.9
541.0
1.9
3.8
3,027.0
257.3
2540
58,757.1
4,994.4
26,287.6
1,840.1
0.5
1.0
2,643.5
224.7
2541
37,251.1
3,166.3
18,156.3
1,270.9
0.2
0.5
224.1
19.1
 

การใช้

                    หินปูนเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตปูนซีเมนต์ประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณ วัตถุดิบ
ทั้งหมด  ดังนั้น อัตราการใช้หินปูนจึงสอดคล้องกับอัตราการผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2539 การใช้ หินปูน
เพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีปริมาณ 50.61 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 4,301.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 83.25
ของปริมาณการใช้หินปูน ทั้งหมด ปี 2540-2541 การใช้หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ลดลงเหลือ
ร้อยละ 68.27 และ 66.16 ตามลำดับทั้งนี้ เพราะปริมาณความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ลดลงเนื่องจากปัญหา
ทางด้านเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ
                การใช้หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างได้เปลี่ยนมาอยู่ในความรับผิดชอบและกำกับ    ดูแล
โดยกรมทรัพยากรธรณี ภายใต้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ในปี 2539 การใช้หินปูน มีปริมาณ 7.21 ล้าน
เมตริกตัน มูลค่า 504.8 ล้านบาท ปี 2540 การใช้หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมการ ก่อสร้างมีปริมาณ 22.28 ล้าน
เมตริกตัน มูลค่า 1,559.6 ล้านบาทหรือการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 208.94 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 208.95 เมื่อเปรียบ
เทียบกับปีที่ผ่านมา ในปี 2541 การใช้หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมการ ก่อสร้างมีปริมาณ 16.34 ล้านเมตริกตัน
มูลค่า 1,143.8 ล้านบาทหรือปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 27.31
                การใช้หินปูนประเภทหินประดับมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในปี 2539 มีปริมาณ711 ล้าน
เมตริกตัน มูลค่า 1.4 ล้านบาทหรือปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.29 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.55 เมื่อ เปรียบเทียบ
กับปีที่ผ่านมาปี 2540 การใช้หินปูนประเภทหินประดับมีปริมาณ 656 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 1.3 ล้านบาท
หรือปริมาณลดลงร้อยละ 7.74 มูลค่าลดลงร้อยละ 7.14 ในปี 2541 การใช้มีปริมาณ 176 ล้านเมตริกตัน
มูลค่า 0.4 ล้านบาทหรือ ปริมาณลดลงร้อยละ 73.17 มูลค่าลดลงร้อยละ 69.23
                การใช้หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ในปี 2539 มีปริมาณ 2.96 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 251.2 ล้านบาท
ปี 2540 การใช้หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ มีปริมาณ 3.36 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 285.2 ล้านบาท หรือปริมาณ
และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.54 ปี 2541 การใช้มีปริมาณ 1.07 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 91.3 ล้านบาทหรือปริมาณ
และมูลค่าลดลงร้อยละ 67.98

                                        ตารางการใช้หินปูนในประเทศ
                                                                                                                                                                   ปริมาณ : พันเมตริกตัน
                                                                                                                                                                       มูลค่า : ล้านบาท 
ปี
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง
หินปูนประเภท หินประดับ
หินปูนเพื่อ อุตสาหกรรมอื่นๆ
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
43,912.0
3,732.5
-
-
1.3
2.9
-
2538
48,263.6
4,102.4
-
-
0.4
0.9
-
2539
50,609.1
4,301.8
7,211.8
504.8
0.7
1.4
2,955.4
251.2
2540
55,275.5
4,698.4
22,280.1
1,559.6
0.7
1.3
3,355.4
285.2
2541
35,405.5
3,009.5
16,339.3
1,143.8
0.2
0.4
1,074.1
91.3

 
 
การส่งออก
                ประเทศไทยเคยส่งออกหินปูนในรูปหินปูนบด (Ground) ตั้งแต่ปี 2535-2537 แต่มีปริมาณเพียง
เล็กน้อยปีละไม่เกิน 2,000 เมตริกตัน หลังจากนั้นยังไม่มีการส่งออกหินปูนไปยัง ต่างประเทศอีกเลย

ราคาประกาศและค่าภาคหลวง
                หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปี 2539-2541 ราคาเฉลี่ย 85 บาทต่อเมตริกตันเสียค่า
ภาคหลวงในอัตราร้อยละ 4 ของราคาประกาศ คิดเป็นค่าภาคหลวง 3.40 บาทต่อเมตริกตัน 
                หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ในปี 2539-2541 ราคาเฉลี่ย 70 บาทต่อเมตริกตันเสียค่า
ภาคหลวงในอัตราร้อยละ 4 ของราคาประกาศ คิดเป็นค่าภาคหลวง 2.80 บาทต่อเมตริกตัน
                หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ในปี 2539-2541 ราคาเฉลี่ย 85 บาทต่อเมตริกตันเสีย ค่า
ภาคหลวงในอัตราร้อยละ 4 ของราคาประกาศ คิดเป็นค่าภาคหลวง 3.40 บาทต่อเมตริกตัน

เหมืองเปิดการและจำนวนคนงาน

                ในปี 2540 เหมืองหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ เปิดการมีจำนวน 331 เหมือง จำนวน
คนงาน1,679 คน เหมืองหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง เปิดการมีจำนวน     233     เหมือง จำนวน
คนงาน 4,065 คนเหมืองหินปูนประเภทหินประดับ เปิดการมีจำนวน 13 เหมือง จำนวนคนงาน 179 คน
เหมืองหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆ เปิดการมีจำนวน 47 เหมือง จำนวนคนงาน 923 คน
                ในปี 2541 ณ เดือนธันวาคม เหมืองหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซิเมนต์ เปิดการลดลง 5 เหมือง
จำนวนคนงานลดลง 403 คน เหมืองหินปูนเพื่อุตสาหกรรมก่อสร้าง เปิดการลดลง 27 เหมือง จำนวน
คนงานลดลง544 คน เหมืองหินปูนประเภทหินประดับ เปิดการลดลง 9 เหมือง จำนวนคนงานลดลง
135 คน เหมืองหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆ เปิดการลดลง 28 เหมือง จำนวนคนงานลดลง 557 คน

ปัญหาและอุปสรรค
                จากการที่การระเบิดและย่อยหินเปลี่ยนไปเป็นเทคโนโลยีการทำเหมืองหิน ซึ่งอยู่ ภายใต้การ
กำกับดูแลของกรมทรัพยากรธรณี ปัญหาการกำหนดขอบเขตแหล่งหินและปัญหาพื้นที่แหล่งหิน ได้รับ
การแก้ไข เป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง ประกอบกับเกิดภาวะวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ประกอบ
ธุรกิจชะลอ การผลิตลงชั่วคราว ปัญหาทางด้านแหล่งหินจึงลดลงตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกันผู้ประกอบ
ธุรกิจเหมืองหินปูนกลับต้องประสบปัญหาด้านอื่น เช่น
                1. ปัญหาด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากเครื่องมือ เครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการ
ทำเหมืองและโรงโม่หินมีราคาสูง ส่วนใหญ่ผลิตในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูง ทำให้
ต้นทุนในการผลิตหินปูนสูงขึ้นด้วย
                2. ปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงิน ผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นเหตุให้ภาค
อุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการก่อสร้างขาดสภาพคล่องทางด้านการเงิน เนื่อง
จากอำนาจซื้อลดลง การก่อสร้างโครงการใหญ่ๆ ของรัฐชะลอตัวลง ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ต่างชะลอ
การก่อสร้างหรือปิดกิจการไปในที่สุด ทำให้หินปูน ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างมีปริมาณสำรองเกิน
ความต้องการ จำหน่ายไม่ได้ หรือเก็บเงินได้ล่าช้ากว่ากำหนด ขาดเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ
                3.ปัญหาด้านการตลาด ในช่วง 3-5 ปี ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการเหมืองหินปูน รายใหม่เข้ามาลงทุน
เพิ่มมากขึ้น เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณหินปูนผลิตได้เกินความต้องการของตลาด จึง
เกิดอุปทานส่วนเกิน เป็นผลให้ผู้ประกอบการต้องเร่งระบายสินค้า     โดยการปรับลดราคาลง  เพื่อกระตุ้น
การขายทำให้การแข่งขันด้านการตลาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรุนแรง

แนวโน้ม
                ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปี ข้างหน้า คาดว่าสถานการณ์ของหินปูนจะชะลอตัวไปอีกระยะหนึ่ง แม้ว่าโครงการของรัฐจะเริ่มอนุมัติให้ดำเนินการได้ แต่มีเพียงโครงการเล็กๆ เท่านั้น      ประกอบกับ
ปริมาณหินปูนยังค้างอยู่ในสต็อกเป็นจำนวนมาก