หินแกรนิต (Granite)            กฤษณา แก้วสวัสดิ์

                หินแกรนิต เป็นหินอัคนีแทรกซอน (intrusive) เนื้อหยาบ – หยาบมาก ที่เกิดจากการ ตกผลึก
ของแร่จากหินหนืด (magma) และแข็งตัวในระดับลึก หรือโดยการเปลี่ยนสภาพทางเคมีของ หินเดิม
แร่ประกอบหินที่สำคัญ ๆ ได้แก่ แร่ควอร์ตซ โปตัสเซียมเฟลด์สปาร์ พลาจิโอเครส ไมกา แอมฟิโบล และ
ไพร็อกซีน
                หินแกรนิต ตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 58 (พ.ศ.2528) ถูกจัดเป็นหิน
ประดับชนิดหนึ่ง ซึ่งหมายถึงหินอัคนีทุกชนิดที่สามารถนำมาผลิตในอุตสาหกรรมโดยทำเป็นแผ่นรูป
ทรงอื่นใดเพื่อการประดับหรือตกแต่งได้ปัจจุบันหินแกรนิตเป็นวัสดุตกแต่งที่ใช้ในงานก่อสร้างและได้
รับความนิยมจากผู้บริโภคมากในการนำมาปูพื้น บุผนัง และตกแต่งภายในและภายนอกอาคารสำนักงาน
แทนไม้ พรมและกระเบื้องมากขึ้น เนื่องจากมีราคาไม่แพงนักเมื่อเทียบกับ คุณภาพและความสวยงาม

แหล่งแร่
                หินแกรนิตในประเทศไทยมีโผล่ให้เห็นเกือบทั่วประเทศยกเว้นบริเวณที่ราบสูงโคราช คิดเป็น
พื้นที่ประมาณ 40,000 ตร.กม. หรือประมาณ 8% ของพื้นที่ของประเทศ โดยพบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ปัจจุบันมีผู้ได้รับประทานบัตรเหมือง หินแกรนิต
รวมทั้งสิ้น 156 แปลง เป็นประทานบัตรเปิดการจำนวน 69 แปลง และประทานบัตรปิดการจำนวน 87
แปลง โดยมีแหล่งอยู่ในเขตพื้นที่ 19 จังหวัด ดังนี้
                ภาคเหนือ ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย กำแพงเพชร ลำปาง นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ตาก อุทัยธานี
                                    และอุตรดิตถ์
                ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเขตพื้นที่จังหวัดเลยและนครราชสีมา
                ภาคกลาง ในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี
                                   ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรีและสุพรรณบุรี
                ภาคใต้      ในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลาและยะลา
                หินแกรนิตที่พบในเขตพื้นที่ดังกล่าว     มีเนื้อดอกหยาบ เนื้อหยาบถึงหยาบปานกลาง     ผลึก
ขนาดเดียวและสองขนาด มีโทนสีค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่เทา เทาอ่อน เทาขาว เทา-อมชมพู ชมพูส้ม เทาดำ
ถึงสีค่อนข้างดำ ความเข้มของสีแปรตามปริมาณแร่ที่ประกอบอยู่ในหิน

การผลิต
                ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2537-2541) ผลผลิตหินแกรนิตบล็อคซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหิน
แผ่นสำเร็จรูปของโรงงานแปรรูปในประเทศทั้งหมดมีจำนวน 471,885 ตัน มูลค่า 1,022.3 ล้านบาทปริมาณ
การผลิตหินแกรนิตบล็อคของประเทศในแต่ละปีไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นลดลงตลอด โดยในปี 2537
เพิ่มขึ้นร้อยละ   23.48   เป็น   134,927   เมตริกตัน  มูลค่า   367.9   ล้านบาท   ในปี 2538 ลดลงร้อยละ  15.89
เหลือ 113,482   เมตริกตัน  มูลค่า   334.3   ล้านบาท  ปี 2539 เพิ่มขึ้นร้อยละ  17.20   เป็น   132,999   เมตริกตัน
 มูลค่า169.3 ล้านบาท ในปี 2540 ลดลงร้อยละ 51.24 เหลือ 64,846 เมตริกตัน มูลค่า 108.1 ล้านบาท  และใน
ปี 2541 ลดลงอีกร้อยละ   60.5   เหลือเพียง  25,631  เมตริกตัน มูลค่า  42.7  ล้านบาทสาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ
อุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์   ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญของหินแกรนิตได้รับผลกระทบอย่าง
รุนแรงจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงิน โดยมีสาเหตุ ต่อเนื่องมาจากการประกาศใช้ระบบอัตราแลก
เปลี่ยนลอยตัวเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540     ทำให้ เงินบาทมีค่าลดลงและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ถดถอยลงมากจนเป็นเหตุให้โครงการ ก่อสร้างต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องระงับหรือเลื่อนการดำเนิน
การออกไปและส่งผลให้ความต้องการใช้หินแกรนิตในอุตสาหกรรมดังกล่าวลดลง ดังนั้น การผลิตหินแกรนิต
ต้องชะลอตัวลงตามภาวะการณ์ดังกล่าว
                ในปี 2541 จังหวัดที่มีการผลิตเป็นจำนวนมากที่สุดคือ จังหวัดตาก ผลิตได้ ร้อยละ 73 ของปริมาณ
การผลิตรวมทั้งประเทศ รองลงมาได้แก่    จังหวัดนครสวรรค์     และฉะเชิงเทรา       ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สำคัญ
ได้แก่  บริษัท สหเฮงมายนิ่ง จำกัด

การใช้
                หินแกรนิตที่ผลิตได้ในประเทศประมาณร้อยละ 95 จะนำมาใช้สำหรับปูพื้น บุผนัง และใช้เป็น
วัสดุตกแต่งในการก่อสร้าง เนื่องจากคุณสมบัติที่ดีในด้านความแข็งแกร่งทนทาน ส่วนการใช้ในกิจการ
อื่น ๆ เช่น ทำเฟอร์นิเจอร์ประเภทต่าง ๆ ทำฮวงซุ้ย และครกมีเพียงเล็กน้อย ความต้องการใช้ หินแกรนิต
บล็อคเพื่อผลิตหินแผ่นสำเร็จรูป ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2537-2541) มีปริมาณไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงเพิ่ม
ขึ้นลดลงตลอด โดยในปี 2537 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.91 เป็น 123,232 เมตริกตัน มูลค่า 336.1 ล้านบาท ปี 2538
ลดลงร้อยละ   14.40   เหลือ   105,484   เมตริกตัน   มูลค่า   308.9   ล้านบาท   ปี 2539    เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.11
เป็น   122,480   เมตริกตัน   มูลค่า   155.4   ล้านบาท   ปี 2540    ลดลงร้อยละ   59.15   เหลือ 50,028 เมตริกตัน
มูลค่า 83.4 ล้านบาท และในปี 2541 ลดลงอีกร้อยละ 49.54 เหลือเพียง 25,245 เมตริกตัน มูลค่า 42.1 ล้านบาท

                 ตารางการผลิตและการใช้หินแกรนิตในประเทศ
                                                                                                                                                  ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                                                                      มูลค่า : ล้านบาท
ปี
การผลิต
การใช้
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
134,927
367.9
123,232
336.1
2538
113,482
334.3
105,484
308.9
2539
132,999
169.3
122,480
155.4
2540
64,846
108.1
50,028
83.4
2541
25,631
42.7
25,245
42.1

การส่งออก
                หินแกรนิตมีการส่งออกทั้งในรูปของหินแกรนิตบล็อคและหินแกรนิตสำเร็จรูป แต่ปริมาณ
การส่งออกมีเพียงเล็กน้อย ส่วนมากจะผลิตเพื่อสนองตลาดในประเทศเป็นสำคัญ โดยทั่วไป     ผู้ผลิต
หินแกรนิตมักไม่ต้องการขายหินแกรนิตบล็อคเพราะการขายหินแกรนิตสำเร็จรูปจะทำให้ได้รับส่วน
เหลื่อมการตลาดมากกว่าการขายหินแกรนิตบล็อค การขายหินแกนิตบล็อคจึงเกิดเฉพาะผู้ผลิตที่ไม่มี
โรงงานแปรรูปของตัวเอง ในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา (2537 –2541) ไม่มีการส่งออก

การนำเข้า
                การนำเข้าหินแกรนิตจากต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิตบล็อคเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบาย
ควบคุมการนำเข้าเฉพาะหินแกรนิตสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์หินแกรนิตโดยมีวัตถุประสงค เพื่อความมั่นคง
และเสถียรภาพแห่งเศรษฐกิจของประเทศ ตามพระราชกฤษฎีกา      ฉบับที่   9     พ.ศ.  2496 และประกาศ
กระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 86 พ.ศ. 2521 แต่อาจจะมีการผ่อนผันให้มีการนำเข้าได้โดยการพิจารณาเป็นกรณี ๆ
ไป และการนำเข้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากโรงงานแปรรูปที่ผลิตหินแผ่นสำเร็จรูปบางรายไม่มีเหมือง
ของตัวเอง จำเป็นต้องนำเข้า จำนวนหินแกรนิตที่นำเข้าจากต่างประเทศในแต่ละปีมีประมาณ 25% ของ
ปริมาณการผลิตในประเทศ

การตลาด
                ตลาดหินแกรนิตสำเร็จรูป ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพราะเป็นตลาดของผู้ซื้อ เนื่องจากมีผู้ผลิตจำนวนมากและผู้ผลิตบางรายนอกจากเป็นผู้ผลิตแล้วยังเป็นผู้นำเข้าอีกด้วย    รวมทั้ง
อุตสาหกรรมการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญของหินแกรนิตได้ชะลอตัว
ลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ    และอำนาจการซื้อลดลง          ส่งผลให้ความต้องการใช้หินแกรนิตใน
อุตสาหกรรมดังกล่าวลดลงอีก และมีผลต่อเนื่องให้ผู้ผลิตแต่ละรายมีปริมาณหินค้างสต็อกอยู่ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 20 ของที่ผลิตได้ในแต่ละปี จากการที่สินค้ามีมากเกินความต้องการของผู้บริโภค ทำให ผู้บริโภค
สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ตามความต้องการทั้งคุณภาพ ขนาด และราคาโดยขึ้นอยู่กับฐานะและรสนิยม
ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ดังนั้น เพื่อไม่ต้องแบกภาระสินค้าคงเหลือ ผู้ผลิตจำเป็นต้องหา หนทางระบาย
สินค้าออกจำหน่ายให้มากขึ้น โดยปรับราคาหินแกรนิตลดลงอย่างต่อเนื่องราคาจำหน่ายหินแกรนิตแผ่น
ขัดมันที่ขายกันทั่วไปในปัจจุบันมีราคาจำหน่ายตั้งแต่ 1,200-2,200 บาทต่อ ตารางเมตร

เหมืองเปิดการและจำนวนคนงาน
                ในปี 2541 มีเหมืองแกรนิตเปิดการทั้งใหญ่และเล็กจำนวน 69 แปลง 56 เหมือง เมื่อเทียบกับปี 2540
ซึ่งมีเหมืองเปิดการทั้งสิ้นจำนวน 102 แปลง 77 เหมือง ลดลง 33 แปลง 21 เหมือง   หรือลดลงร้อยละ 32 และ
27 ตามลำดับ จากจำนวนเหมืองและกำลังการผลิตที่ลดลง ส่งผลให้การว่าจ้าง
                แรงงานในเหมืองหินแกรนิตมีปริมาณลดลงตามด้วย โดยในปี 2541  คนงาน    ในเหมืองหินแกรนิต
(ไม่รวมโรงแต่ง) มีจำนวนทั้งสิ้น 871 คน ลดลงจากจำนวน 1,434 คน ในปี 2540 หรือลดลงคิดเป็น ร้อยละ 39

ปัญหาและอุปสรรค
                ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหินแกรนิตในปัจจุบัน ประสบปัญหาและอุปสรรคในการประกอบ
ธุรกิจ ดังนี้
                1. ปัญหาแหล่งหิน แหล่งหินคุณภาพดีสีสวยเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศหายากต้องนำเข้า
จากต่างประเทศ เมื่อต้นทุนค่าวัตถุดิบสูงขึ้น จะเป็นภาระที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
                2.  ต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากเครื่องจักรอุปกรณ์ และวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำเหมือง
และโรงงานต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีนำเข้าสูง ซึ่งส่วนนี้ก็เป็นภาระที่ทำให้ต้นทุนการผลิต
สูงขึ้นด้วย
                3. ปัญหาทางด้านการเงิน เนื่องจากภาวะวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำและอำนาจการซื้อลดลง
ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจหินแกรนิตส่วนใหญ่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ขาด เงินทุนหมุนเวียน
ในการดำเนินการ จนหลายรายจำต้องปิดกิจการไปบางรายต้องลดการผลิตลง
                4. ปัญหาการตลาด เนื่องจากความต้องการใช้หินแกรนิตลดลงตามการหดตัวของภาคอุตสาหกรรม
การก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้มีหินแกรนิตเกินความต้องการของตลาด การขายหินทำได้
ยากขึ้น เป็นผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคา

แนวโน้ม
                ในปัจจุบันแนวโน้มอุตสาหกรรมหินแกรนิตยังอยู่ในภาวะซบเซาต่อไปอีกระยะหนึ่ง   เนื่องจาก
ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ ตกต่ำและ
อำนาจการซื้อที่หดหายไป ทำให้การผลิตและการใช้หินแกรนิตของประเทศอยู่ในระดับ ค่อนข้างคงที่
หรือลดลง ซึ่งคาดว่ายังคงมีผลต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี ดังนั้นผู้ประกอบการหินแกรนิตคงต้องปรับแผนการ
ดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยลดกำลังการผลิตลงหรือหยุดการผลิตเป็น
การชั่วคราวจนกว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัวขึ้นความต้องการใช้หินแกรนิตในอุตสาหกรรมการ
ก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็จะกระเตื้องขึ้นตาม