ฟลูออไรต์ (Fluorite)                            มยุรี ปาลวงศ์

                 แร่ฟลูออไรต์ (Fluorite หรือ Fluorspar : CaF2 ) หรือ “พลอยอ่อน” เป็นแร่ที่เกิดเป็นสายอยู่ในหิน
และพบมากตามแนวแตกของหิน มักพบเกิดร่วมกับแร่ตะกั่ว (Galena) และสังกะสี (Sphalerite) คุณค่าของแร่
ขึ้นอยู่กับปริมาณของฟลูออรีน (F) แร่นี้ประกอบด้วย แคลเซียม 51.1% และฟลูออรีน 48.9% ความแข็ง 4 มี
ความวาวคล้ายแก้ว มีหลายสี เช่น สีขาว เขียวอ่อน เขียวมรกต เหลืองอมน้ำตาล น้ำเงินอมเขียว น้ำเงินคล้ำค่อน
ข้างดำ และสีม่วง พวกที่มีเนื้อสมานแน่น มักจะมีแถบสีสลับกันให้เห็นเป็นชั้นๆ บางชนิดหรือบางแหล่ง
เรืองแสงได้
                แร่ฟลูออไรต์แบ่งออกเป็น 3 เกรด โดยใช้แคลเซียมฟลูออไรต์ (Calcium Fluoride : CaF2 ) เป็น
ตัวแบ่งคือ
                1. เกรดเคมี เป็นเกรดสูงสุดมี CaF2 ไม่น้อยกว่า 97% ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเกรด Hydrofluoric
Acid หรือทำไดรโอไลต์สังเคราะห์ (Synthetic Cryolite) ซึ่งใช้ในการถลุงแร่อะลูมิเนียมนอกจากนี้ฟลูออไรต์
เปอร์เซ็นต์สูงยังใช้สำหรับแก๊สฟรีออน (Freon) เพื่อใช้สำหรับเครื่องทำความเย็น
                2. เกรดเซรามิก เป็นเกรดสูง มี CaF2 ประมาณ 85-96% ใช้เป็นตัว Opacifier ในอุตสาหกรรมเครื่อง
ปั้นดินเผาและเคลือบเครื่องแก้ว
                3. เกรดโลหกรรม เป็นเกรดต่ำ CaF2 ไม่น้อยกว่า 60% ใช้ในงานประกอบโลหกรรมถลุงแร่ โดย
ทำหน้าที่เป็นสารผสม (Flux) ในการถลุงแร่และการผลิตแก้ว

แหล่งแร่
                แหล่งแร่ฟลูออไรต์ที่สำคัญในภาคเหนือส่วนใหญ่ได้ทำเหมืองไปเป็นจำนวนมากแล้ว ยังเหลือ
แหล่งแร่ที่สำคัญ คือ แหล่งแร่แม่ลาหลวง อ.แม่ลาน้อย และแหล่งแร่มหาลานนา อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งทั้งสองแหล่งเป็นแร่เกรดโลหกรรมและมีเกรดทำกรดฟลูออริกผสมอยู่ด้วย ปริมาณแร่สำรองทั้งสิ้น
ประมาณ 4.093 ล้านเมตริกตัน แหล่งแร่ในภาคกลางอยู่บริเวณ อ.สวนผึ้ง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี และ
อ.บ้านลาด อ.หนองหญ้าปล้อง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี แต่ยังไม่ทราบปริมาณแร่สำรอง ส่วนแหล่งแร่ใน
ภาคใต้ได้แก่ แหล่งแร่ในบริเวณ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ แต่แหล่งแร่นี้มีความสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ
คาดว่าปริมาณแร่ฟลูออไรต์ทั่วประเทศมีปริมาณทั้งสิ้นประมาณ 4.7035 ล้านเมตริกตัน

การผลิต
                แร่ฟลูออไรต์ที่ผลิตในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเกรดโลหกรรม และผลิตเพื่อการส่งออก เนื่องจากยังไม่มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องมารองรับ ในปี 2530 ประเทศไทยเคยผลิตฟลูออไรต์ได้มากเป็น
อันดับ 6 ของโลก โดยผลิตได้ทั้งสิ้น 104,552 มูลค่า 150 ล้านบาท ในปี 2539 ปริมาณการผลิต 17,247
เมตริกตัน มูลค่า 24.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.48 หรือมูลค่าลดลงร้อยละ 28.53 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ปีที่ผ่านมา ปี 2540 ปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 7,826 เมตริกตัน มูลค่า 11.3 ล้านบาท หรือปริมาณลดลง
ร้อยละ 54.62 และมูลค่าลดลงร้อยละ 54.44 ในปี 2541 ปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 3,743 เมตริกตัน
มูลค่า 10.56 ล้านบาท หรือปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 52.17 มูลค่าลดลงร้อยละ 6.90

การใช้
                ประเทศไทยมีการใช้แร่ฟลูออไรต์ภายในประเทศเพียงเล็กน้อยเท่านั้น บางปีก็ไม่มีปริมาณ
การใช้ในประเทศ แร่ฟลูออไรต์ใช้ในอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา และเคลือบ
เครื่องแก้ว ส่วนฟลูออไรต์ที่มีเปอร์เซ็นต์สูงใช้ทำแก๊สฟรีออน (Freon) สำหรับเครื่องปรับอากาศและ
ตู้เย็น
                ปี 2539 ปริมาณการใช้ฟลูออไรต์ 362 เมตริกตัน มูลค่า 0.5 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2538 ไม่มี
ปริมาณการใช้ฟลูออไรต์เลย ปี 2540 ปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 467 เมตริกตัน มูลค่า 0.7
ล้านบาท ปี 2541 ปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นเป็น 3,820 เมตริกตัน มูลค่า 10.3 ล้านบาท หรือปริมาณเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 717.99 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,371.43 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

การส่งออก
                แร่ฟลูออไรต์ที่ผลิตในประเทศ ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออก โดยส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น
มากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย ปี 2539 ปริมาณการส่งออก 17,432 เมตริกตัน
มูลค่า 34.2 ล้านบาท ปี 2540 ปริมาณการส่งออกลดลงเหลือ 10,930 เมตริกตัน มูลค่า 20.2 ล้านบาท
หรือลดลงร้อยละ 37.30 มูลค่าลดลงร้อยละ 40.94 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ในปี 2541 ปริมาณ
การส่งออกลดลงเหลือ 7,740 เมตริกตัน มูลค่า 21.7 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 29.19 ในขณะที่
มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.43 สาเหตุมาจากการประกาศใช้ระบบเงินลอยตัว จึงทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น
ตามไปด้วย

                         การผลิต การใช้และการส่งออกฟลูออไรด์
                                                                                                                                                    ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                                                                        มูลค่า : ล้านบาท

 
 
ปี
การผลิต
การใช้
การส่งออก
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
23,705
40.3
-
-
17,826
29.4
2538
24,114
34.7
-
-
14,236
24.4
2539
17,247
24.8
362
0.5
17,432
34.2
2540
7,826
11.3
467
0.7
10,930
20.2
2541
3,743
10.56
3,820
10.3
7,740
21.7
ราคาประกาศและค่าภาคหลวงแร่
                ราคาประกาศแร่ฟลูออไรต์เฉลี่ยต่อปีเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประเมินสำหรับเรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่
ตั้งแต่ปี 2538-2540 ราคา 1,440 บาทต่อเมตริกตัน ปี 2541 เพิ่มขึ้นเป็น 2,852.46 บาทต่อเมตริกตัน เสีย
ค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละ 7    ของราคาประกาศ คิดเป็นค่าภาคหลวง    252.70     บาทต่อเมตริกตัน ส่วนแร่ฟลูออไรต์เกรดเคมีราคาประกาศตั้งแต่ปี    2536-2540   ราคา   2,651    บาทต่อเมตริกตัน
เสียค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละ 4 ของราคาประกาศ คิดเป็นค่าภาคหลวง 106.04 บาทต่อเมตริกตัน

เหมืองเปิดการและจำนวนคนงาน
                เหมืองเปิดการแร่ฟลูออไรต์ ปี 2540 มีจำนวน 17 เหมือง ในขณะที่ เดือนธันวาคม 2541
เหมืองเปิดการลดลงเหลือเพียง 10 เหมือง
                จำนวนคนงาน ปี 2540 มีจำนวนคนงาน 244 คน แต่เดือนธันวาคม 2541 จำนวน
คนงานเหมืองแร่ฟลูออไรต์ลดลงเหลือ 181 คน

แนวโน้ม
                ประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แร่ฟลูออไรต์ เป็นวัตถุดิบในการผลิต คาดว่า
ปริมาณการผลิต การใช้ และการส่งออกชะลอตัวไปอีกระยะหนึ่งในช่วง 2-3 ปี ต่อไป