เฟลด์สปาร์ (Feldspar)         ลัดดา ลาภจตุรภุช

                    อะลูมินาในเฟลด์สปาร์เมื่อหลอมตัวกับแก้ว จะทำให้ผลิตภัณฑ์แก้วมีความเหนียวคงทนต่อการ
กระทบกระแทก ความกดดัน ความร้อนเฉียบพลันและความเป็นกรดด่างได้สูง ทำให้อยู่ตัวไม่กลายเป็น
ผลึกขณะเย็นตัวทำให้สามารถจัดเป็นรูปร่างได้ ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์ เฟลด็สปาร์ใช้ผสมในเนื้อดินปั้น
เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์หลอมตัวที่อุณหภูมิต่ำ และมีความโปร่งแสงและใช้ผสมในน้ำยาเคลือบ เพื่อทำให้ผลิต
ภัณฑ์มีความแวววาวเฟลด์สปาร์ละเอียดใช้ทำผงขัดทำความสะอาดเครื่องแก้ว และเครื่องเคลือบสีขาวใช้เป็น
ส่วนผสมในอุตสาหกรรมทำสีและอตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง ใช้เป็นตัวเติมในอุตสาหกรรมพลาสติกและ
ยาง  นอกจากนี้ยังใช้เป็นน้ำประสานหรือตัวช่วยหลอม(flux)ในอุตสาหกรรมต่างๆและใช้ทำฟันปลอม

การผลิต
                ในปี 2541 ปริมาณการผลิตเฟลด์สปาร์ทั้งสองชนิดรวม 429,693.1 ตัน มูลค่า 417.3 ล้านบาท ปริมาณ
ลดลงร้อยละ 29.8 ขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 14.6 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณผลผลิตรวมทั้งสองชนิด 611,790 ตัน
มูลค่า 488.7 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าในปี 2541 มีการผลิตโซเดียมเฟลด์สปาร์ (บด) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 147.8
ซึ่งทำให้มูลค่ารวมลดลงในอัตราที่น้อยกว่าอัตราการลดลงของปริมาณผลผลิต รายละเอียดของเฟลด์สปาร์
แต่ละชนิดและประเภทมีดังนี้

                -โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (บด)
                    โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (บด) ในปี 2541 มีปริมาณผลผลิต 3,709 ตัน มูลค่า 8.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9
จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณผลผลิต 4,082 ตัน มูลค่า 9.8 ล้านบาท จังหวัดราชบุรีเป็นเพียงจังหวัดเดียวเท่านั้นที่มีผลผลิต
โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (บด) ในปี 2541
                -โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน)
                โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) ในปี 2541 มีปริมาณผลผลิต ทั่วประเทศรวม 4,277 ตัน มูลค่า 7.3 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 60 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณผลผลิต 10,775 ตัน มูลค่า 18.3 ล้านบาท จังหวัดกาญจนบุรีผลิตได้สูงสุดคือ
2,978 ตัน คิดเป็นร้อยละ 69.6 ของผลผลิตรวมทั่วประเทศ
 
                                            ตารางการผลิตเฟลด์สปาร์
                                                                                                                                                                ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                                                                                    มูลค่า : ล้านบาท
ปี
POTASSIUM
POTASSIUM
SODIUM
SODIUM
 
บด
มูลค่า
ก้อน
มูลค่า
บด
มูลค่า
ก้อน
มูลค่า
2537
-
-
26,200
45.0
-
-
528,027
369.6
2538
9,615
23.1
59,748
102.0
7,674
10.7
600,815
420.6
2539
2,773
6.7
13,095
22.2
20,010
28.0
649,105
454.4
2540
4,082
9.8
10,775
18.3
61,060
85.5
535,873
375.1
2541
3,709
8.9
4,277
7.3
151,306
211.8
270,401
189.3

การใช้
                การใช้เฟลด์สปาร์ทั้งสองชนิด ในปี 2541 มีปริมาณการใช้รวม 209,034 ตัน มูลค่า 230.8 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ   25.1   จากปี   2540   ปริมาณการใช้รวมสองชนิดคิดเป็นร้อยละ 48.7 ของ ผลผลิตในปี 2541 การใช้โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์มีปริมาณมากกว่าปริมาณผลผลิตโพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ร้อยละ 16.8 ราย
ละเอียดการใช้แต่ละชนิดมีดังนี้
                -โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (บด)
                โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (บด) ในปี 2541 มีปริมาณการใช้ 5,011 ตัน มูลค่า 12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ43 จากปี 2540 มีการใช้โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (บด) มากกว่าปริมาณที่ผลิตได้ในปี 2541 ร้อยละ35
ขณะที่ปริมาณผลผลิตโพแตสเซียมเฟลด์สปาร์  (บด)  ลดลงร้อยละ 9   ทั้งนี้เป็นเพราะว่าในปี 2538   ซึ่งเป็น
ปีแรกที่เริ่มแยกสถิติการผลิตเฟลด์สปาร์ออกเป็นชนิดก้อนและบด โพแตส-เซียมเฟลด์สปาร์ (บด) ผลิตได้ถึง
9,615 ตัน แต่ไม่มีการใช้เลย สถิติการใช้เฟลด์สปาร์เริ่มแยกเป็นชนิดบดและก้อนในปี 2539
                -โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน)
                โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) ในปี 2541 มีปริมาณการใช้ 4,316 ตัน มูลค่า 7.3 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 15 จากปี 2540 ปริมาณการใช้โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) มากกว่าปริมาณผลผลิตเล็กน้อย
                -โซเดียมเฟลด์สปาร์
                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (บด) ในปี 2541 มีปริมาณการใช้ 102,389 ตัน มูลค่า 143.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 378 ขณะที่โซเดียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) มีปริมาณการใช้เพียง 97,318 ตัน มูลค่า 68.1 ล้านบาท ลดลงถึง
ร้อยละ 61 แสดงให้เห็นว่าได้มีการสั่งซื้อโซเดียมเฟลด์สปาร์(บด)ไปใช้แทนการสั่งซื้อโซเดียมเฟลด์สปาร์
(ก้อน) ไปบด ใช้เองมากขึ้น

                                                การใช้เฟลด์สปาร์
                                                                                                                                                      ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                                                                         มูลค่า : ล้านบาท
ปี
POTASSIUM
POTASSIUM
SODIUM
SODIUM
 
บด
มูลค่า
ก้อน
มูลค่า
บด
มูลค่า
ก้อน
มูลค่า
2537
-
-
25,388
43.0
-
-
528,027
369.6
2538
-
-
22,370
38.0
-
600,815
420.6
2539
3,074
7.4
7,234
12.3
20,010
28.0
649,105
454.4
2540
3,490
8.4
5,076
8.6
61,060
85.5
535,873
375.1
2541
5,011
12.0
4,316
7.3
151,306
211.8
270,401
189.3

ราคา
                ราคาประกาศเพื่อใช้ในการเก็บค่าภาคหลวง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2542 มีดังนี้
                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) 700 บาท/เมตริกตัน
                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (บด) 1,400 บาท/เมตริกตัน
                โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) 1,700 บาท/เมตริกตัน
                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (บด) 2,400 บาท/เมตริกตัน

ค่าภาคหลวง
                การเก็บค่าภาคหลวงแร่เฟลด์สปาร์ก้อนและบดเก็บที่ร้อยละ 4 และ 2 ตามลำดับของราคาประกาศ
ดังนั้น  ค่าภาคหลวง
                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) 28 บาท/เมตริกตัน
                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (บด) 28 บาท/เมตริกตัน
                โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ (ก้อน) 68 บาท/เมตริกตัน
                โซเดียมเฟลด์สปาร์ (บด) 48 บาท/เมตริกตัน

การนำเข้า
                การนำเข้าเฟลด์สปาร์ในปี 2541 มีปริมาณนำเข้าทั้งสิ้น 9,111 ตัน มูลค่า 49.9 ล้านบาท ปริมาณ
ลดลงร้อยละ11.6 มูลค่าลดลงร้อยละ 6.2 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณนำเข้า 10,306 ตัน มูลค่า 53.2 ล้านบาท
รายละเอียด การนำเข้าแยกเป็นประเภทได้ดังนี้
                1. โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์
                การนำเข้าโพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ ในปี 2541 มีปริมาณนำเข้า 3,129 ตัน มูลค่า 9.3 ล้านบาท
ปริมาณนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.4 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณนำเข้า 1,903 ตัน
มูลค่า 8.4 ล้านบาท ส่วนใหญ่ นำเข้าจากเกาหลีใต้ มาเลเซีย และไต้หวัน
                2. โซเดียมเฟลด์สปาร์
                การนำเข้าโซเดียมเฟลด์สปาร์ ในปี 2541 มีปริมาณนำเข้า 22.3 ตัน มูลค่า นำเข้า 853,173 บาท
ปริมาณเข้าลดลงร้อยละ  44.3  มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ  779  จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณนำเข้า 40 ตัน
มูลค่านำเข้า 97,051  บาท ส่วนใหญ่นำเข้าจากอินเดีย
                3. เฟลด์สปาร์ชนิดอื่น ๆ
                การนำเข้าเฟลด์สปาร์ชนิดอื่น ๆ   ที่ไม่ใช้โพแตสเซียมหรือโซเดียมเฟลด์สปาร์มีปริมาณนำเข้า
 5,960   ตัน มูลค่า   39.7   บาท ปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ   28.7   มูลค่าลดลงร้อยละ 9.8 จากปี 2540 ซึ่ง
มีปริมาณนำเข้า 8,363 ตัน มูลค่า 44.7 ล้านบาท ส่วนใหญ่นำเข้าจากอินเดีย

การส่งออก
                การส่งออกเฟลด์สปาร์ส่วนใหญ่เป็นโซเดียมเฟลด์สปาร์ โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์มี ส่งออก
เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
                1. โพแตสเซียมเฟลด์สปาร์
                การส่งออกโพแตสเซียมเฟลด์สปาร์ ในปี 2541 มีปริมาณส่งออก 64 ตัน มูลค่า 0.5 ล้านบาท
ปริมาณลดลงร้อยละ 47.5 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณส่งออก 122 ตัน มูลค่า 0.5 ล้านบาท โดยส่งไปยัง
ประเทศใกล้เคียง คือ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
                2. โซเดียมเฟลด์สปาร์
                การส่งออกโซเดียมเฟลด์สปาร์ ในปี 2541 มีปริมาณส่งออก 239,018 ตัน มูลค่า 166.5 ล้านบาท
ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 0.95 มูลค่าลดลงร้อยละ 7.7 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณส่งออก 241,309 ตัน
มูลค่า 180.4 ล้านบาท ส่วนใหญ่ส่งไปยังมาเลเซีย และไต้หวัน ประเทศอื่นก็มี เวียดนาม สิงคโปร์
อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

จำนวนเหมืองเปิดการและคนงาน
                    เดือนธันวาคม 2541 มีจำนวนเหมืองเฟลด์สปาร์เปิดการรวมทั่วประเทศ 25 เหมือง ซึ่งเท่ากับ
ปี 2540 จังหวัดตากและนครศรีธรรมราชมีจำนวนเหมืองเปิดการ  19 และ  8 เหมือง    ตามลำดับ ส่วน
จำนวนคนงานของเหมืองเปิดการเฟลด์สปาร์รวมทั่วประเทศมี 522 คน ลดลง 86 คน โดยมีคนงานที่
เหมืองจังหวัดตากและ นครศรีธรรมราช 309 และ 115 คน ตามลำดับ

ปัญหาอุปสรรค
                ผลผลิตเฟลด์สปาร์ทางภาคใต้ที่นครศรีธรรมราช มีที่ตั้งอยู่ไกลจากตลาดผู้ซื้อ ในประเทศมาก
จึงมีภาระค่าขนส่ง จึงส่งออกประเทศใกล้เคียงเป็นส่วนใหญ่

แนวโน้ม
                แนวโน้มขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเซรามิก คาดว่าในปี 2542 ภาวะเศรษฐกิจ
ยังคงซบเซาต่อเนื่องจากปี 2541 การผลิตการส่งออกคงจะใกล้เคียงกับปี 2541