โดโลไมต์ (Dolomite)          สมบัติ วรินทรนุวัตร

                แร่โดโลไมต์ เป็นแร่เกิดจากตะกอนของแคลเซียมและแมกนีเซียมทับถมกัน โดย ทั่วไปจะมีขนาด
ค่อนข้างโตและมีความแข็งมากกว่า หินปูนและหินอ่อน มีหลายสีด้วยกัน เช่น สีขาว เทา เทาเข้ม-ดำ เขียว
ชมพูเป็นต้น ซึ่งโดโลไมต์ที่มีสีอ่อนนี้จะเกิดจากการตกผลึกทางเคมีโดยตรง ซึ่งอยู่ในชั้นหินสามารถเห็น
ได้เด่นชัด
                การใช้ประโยชน์ของแร่โดโลไมต์นี้จะนำไปใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ทำถนน อาคารคอนกรีต
นอกจากนี้ยังมีการใช้แร่โดโลไมต์ในโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล โรงงานฟอกหนัง และใช้ปรับปรุงคุณภาพ
น้ำอีกด้วย

แหล่งแร่
                แหล่งแร่โดโลไมต์ที่พบในประเทศไทย มักจะร่วมอยู่กับหินปูนยุคต่าง ๆสำหรับพื้นที่ศักยภาพ
ของแหล่งแร่โดโลไมต์ที่น่าสนใจมีดังนี้
                                                1. บริเวณ อำเภอเมือง และอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
                                                2. บริเวณอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
                                                3. บริเวณกิ่งอำเภอ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
                                                4. บริเวณ อำเภอจอมบึง อำเภอโพธาราม และอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
                                                5. บริเวณ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
                                                6. บริเวณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                ซึ่งจากการสำรวจปริมาณแร่โดโลไมต์ในบริเวณดังกล่าวคาดว่ายังมีปริมาณแร่โดโลไมต์ในประเทศไทยมี
ปริมาณสำรองของแร่โดโลไมต์อยู่อีกประมาณ 100 ล้านตัน

การผลิต
                การผลิตแร่โดโลไมต์ในประเทศไทยในช่วงระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2537-2541 โดยในปี 2539 ประเทศไทย
สามารถผลิตแร่โดโลไมต์ในปริมาณมากที่สุด  คือ   ผลิตแร่โดโลไมต์ได้จำนวน   1,064,699  เมตริกตัน   คิดเป็น
มูลค่า 372.6  ล้านบาท คิดเป็นอัตราการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในปริมาณ สัดส่วนร้อยละ 59.20 และมูลค่าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 59.16  หลังจากนั้นการผลิตแร่โดโลไมต์ลดลงเรื่อยๆ โดยในปี 2540 ปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 803,511
เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 281.2 ล้านบาท  หรือปริมาณการผลิตและมูลค่าการผลิตลดลงจากปี 2539 ในอัตราเท่ากัน
คือร้อยละ 24.53 และในปี 2541 มีปริมาณการผลิตลดลงเหลือ 538,151 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 260.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 33.03 และมูลค่าลดลงร้อยละ 7.36

การใช้ภายในประเทศ
                ผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีการใช้โดโลไมต์ในงานอุตสาหกรรม
ก่อสร้าง ทำถนน อาคารคอนกรีต ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจนถึงปี  2540ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มถดถอย
ทำให้ปริมาณการใช้แร่โดโลไมต์ในประเทศลดลงจากปี2539   ที่มีปริมาณการใช้   594,092   เมตริกตัน
มูลค่า   207.9   ล้านบาท   มาในปี 2540 มีปริมาณการใช้ 254,017 เมตริกตันมูลค่า 88.9 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณ
การใช้และมูลค่าลดลงจากปี 2539 เท่ากันในอัตรา 57.24 เปอร์เซ็นต์ และในปี   2541   มีปริมาณการใช้   101,369
เมตริกตันมูลค่า 49.3 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณการใช้และมูลค่าลดลงจากปีก่อนร้อยละ  60.09   และ 44.54
ตามลำดับ

การส่งออก
                ประเทศไทยสามารถส่งแร่โดโลไมต์ไปจำหน่ายในประเทศต่าง ๆ แถบเอเซีย ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น
ไต้หวัน สิงคโปร์ นอกจากนี้ยังมีการส่งแร่โดโลไมต์ไปประเทศแถบตะวันออกกลาง อาทิ ประเทศซาอุดิอารเบีย โดยการส่งออกส่วนใหญ่ส่งออกในรูปแร่โดโลไมต์ก้อน
                ปริมาณการส่งออกโดยรวมยังมีปริมาณสูงอยู่ในขณะที่ปริมาณการผลิต และการใช้ ในประเทศลดลง
โดยในปี 2539 มีที่มีปริมาณแร่โดโลไมต์ส่งออก 363,000 เมตริกตัน มูลค่า 99.4 ล้านบาท ในปี 2540 มีปริมาณ
แร่โดโลไมต์ส่งออก 408,096 เมตริกตันมูลค่า 119.1 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 12.42 เปอร์เซ็นต์
และในปี 2541 ปริมาณแร่โดโลไมต์ส่งออก 478,805 เมตริกตันมูลค่า 203.9 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณส่งออก
เพิ่มขึ้นจากปี 2540 เป็น 17.32 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปี 2540-2541  สาเหตุที่สำคัญของปริมาณส่งออกแร่โดโลไมต์
ที่สูงขึ้น เนื่องมาจากการปรับค่าเงินบาทเป็นระบบ ลอยตัวทำให้สินค้าส่งออกประเภทแร่โดโลไมต์  มีราคา
ถูกลงโดยเปรียบเทียบในสายตาของชาวต่าง-ประเทศ จึงทำให้มีการส่งออกแร่โดโลไมต์เพิ่มขึ้น
 
                                                            ตารางการผลิต การใช้ และการส่งออกแร่โดโลไมต์
                                                                                                                                                            ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                                                                                มูลค่า : ล้านบาท
ปี
การผลิต
การใช้ในประเทศ
การส่งออก
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
613,397
214.7
146,662
51.3
359,531
99.0
2538
668,795
234.1
230,419
80.6
379,240
107.4
2539
1,064,699
372.6
594,092
207.9
363,000
99.4
2540
803,511
281.2
254,017
88.9
408,096
119.1
2541
538,151
260.5
101,369
49.3
478,805
203.9
 

ราคา
                ราคาซื้อขายของแร่โดโลไมต์ในปี 2541 มีราคาเฉลี่ยประมาณ 405 บาทต่อเมตริกตัน โดยมีราคาเฉลี่ย
เป็นราคาเดียวกับราคาประกาศ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการเรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่ โดยมีอัตราค่าภาคหลวงแร่โดโลไมต์
ร้อยละ 4 ของราคาประกาศต่อ 1 หน่วยน้ำหนัก และมีการคิดเป็น ค่าภาคหลวง 16.20 บาทต่อเมตริกตัน

จำนวนเหมืองเปิดการ
                จำนวนเหมืองเปิดการแร่โดโลไมต์ ในปี 2541 มีจำนวน 25 เหมือง ซึ่งมีการปิดเหมืองจากปี 2540
จำนวน 5 เหมือง โดยจำนวนเหมืองเปิดการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันยังกระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาคของ
ประเทศไทยที่ยังมีภูเขาหินปูนอยู่

จำนวนคนงาน
                จากการที่มีการปิดเหมืองแร่โดโลไมต์ ลงจำนวน 5 เหมือง ในปี 2540 ทำให้จำนวน คนงานเหมือง
โดโลไมต์ลดลง 29 คน เหลือจำนวนคนงาน 393 คน ในปี 2541

ปัญหาและอุปสรรค
               1. ปัญหาด้านการตลาดของแร่โดโลไมต์ ซึ่งตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศโดยมีความต้องการ
แร่โดโลไมต์จากต่างประเทศในอัตราเฉลี่ยสูงขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2536 ถึงปี 2541 โดยมีการส่งออกแร่โดโลไมต์
สูงขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 6 ต่อปี ในขณะที่กรมทรัพยากรธรณีมีนโยบายไม่สนับสนุนให้มีการผลิตเพื่อส่งออก เนื่องจากเป็นแร่ราคาถูกในขณะที่ความต้องการใช้ภายในประเทศมีอัตราการใช้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณ
การส่งออก และในขณะเดียวกันมีอัตราการใช้ในประเทศเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ เช่น ในปี 2539 มีความต้องการใช้
ในประเทศสูงขึ้นอย่างมากจากปี 2538 และกลับลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2540  และปี 2541     จึงก่อให้เกิดปัญหา
สำหรับผู้ผลิตที่จะผลิตเพื่อสนองความต้องการใช้ภายในประเทศ
                2. ปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยยังมีการส่งออกแร่โดโลไมต์ในสัดส่วนที่สูงกว่า
การใช้ภายในประเทศและยังมีการจัดจำหน่ายแร่โดโลไมต์ไปยังหลายประเทศซึ่งยังมีปัญหาในด้านความล่าช้า
ในการเรียกเก็บเงินและระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัทที่ส่งออกแร่โดโลไมต์
                3. ปัญหาด้านแหล่งแร่และการผลิตเนื่องจากแหล่งผลิตแร่โดโลไมต์ในประเทศไทยยังอยู่กระจัดกระจาย
ในหลายจังหวัดที่มีบริเวณหินปูนจึงทำให้เมื่อสิ้นสุดโครงการและจะทำการผลิตในครั้งใหม่มักจะมีปัญหาเรื่อง
การเคลื่อนย้ายปัจจัยในการผลิตนอกจากนี้ในการค้นหาแหล่งผลิตแร่โดโลไมต์ใหม่ในปัจจุบันจะต้องคำนึง
ถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

แนวโน้ม
                จากการที่แร่โดโลไมต์เป็นแร่ที่มีการควบคุมการส่งออก และในขณะที่ในปัจจุบันแร่โดโลไมต์ยัง
มีอัตราการใช้ภายในประเทศต่ำกว่าปริมาณการส่งออก นอกจากนี้ยังคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในปี 2542 ยังคงมีสถานการณ์ไม่ดีนักจึงส่งผลให้การใช้แร่โดโลไมต์ภายในประเทศค่อนข้างคงท่ ทำให้ไม่จูงใจให้
ผู้ผลิตเร่งทำการผลิตโดโลไมฅ์ในระยะนี้