แร่เบอรีล (Beryl)
ชื่อแร่ มาจากภาษากรีกโบราณ
หมายถึงรัตนชาติสีเขียว (Green
Gemstone)
คุณสมบัติทางฟิสิกส์ รูปผลึก ระบบเฮกซะโกนอล (Hexagonal) ผลึกเป็นแท่งยาวมีร่องถี่ๆตามยาวของหน้าผลึก (Groove) ความแข็ง(Hardness) ตามสเกลของมอร์ Mohs
scale เท่ากับ
7.5-8 ความถ่วงจำเพาะ 2.75 2.8 ความวาวคล้ายแก้ว (Vitreous Luster)
รอยแตกแบบก้นหอย (conchoidal fracture) ปกติจะมีสีเขียวอ่อน สีเหลืองอ่อน สีเหลืองทอง สีชมพู
หรือสีน้ำทะเล
รุปผลึกแร่เบอรีล
คุณสมบัติทางเคมี -แร่ BERYL (Berylium Aluminum
Silicate) มีสูตรเคมี Be3Al2(SiO3)6 มี BeO 14 % Al2O3 19 % และ SiO2 67 %
ลักษณะเด่นและวิธีการตรวจ ดูรูปผลึกและดูสี ต่างจากควอทซ์ (quartz) ที่ผลึกมักมีหัวตัดราบและมีร่องถี่ๆตามยาวของหน้าผลึก
ขณะที่ควอทซ์มีร่องถี่ๆตามขวางของหน้าผลึก ต่างจากแร่อะปาไทต์ที่แข็งกว่า
และไม่ละลายในกรด Mineral Reference
อธิบายว่า หากสังเกตุให้ดีแร่ชนิดนี้จะมีตำหนิเฉพาะก้อน
inclusions
ที่ทำให้เป็นเอกลักษณ์
ไม่เหมือนก้อนอื่นนอกจากจะเป็น แร่สังเคราะห์ (Emerald
synthesized)จะไม่มีตำหนิดังกล่าว
เบอรีลธรรมชาติ
จะมีตำหนิเฉพาะก้อน
การกำเนิด มักเกิดในหินแกรนิต หินเปกมาไทต์ pegmatites
ร่วมกับแร่ feldspar และ Quartz ในไมกาซีสที่มีแร่ดีบุก เกิดในสายแร่น้ำรอน hydrothermal
แร่มรกตที่ประเทศโคลัมเบียเกิดในหินปูน
Rose beryl
แหล่ง ประเทศไทย
ส่วนมากมีสีเขียวอ่อนพบในสายเปกมาไทต์ พบอะความารีนเนื้อขุ่นและมีรอยแตกร้าวมาก
ในแหล่งแร่ดีบุก ที่อำเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรี
ต่างประเทศ พบมากที่ประเทศ โคลัมเบีย อาฟริกาใต้ ซิมบัปเว
รัสเซีย เม็กซิโก บราซิล มาดากกัสการ์ และสหรัฐอเมริกา
มรกตโคลัมเบีย
ประโยชน์ แร่สีสวยใช้เป็นรัตนชาติ สีเขียวเรียกมรกต (Emerald) รัตนชาติมรกต (emerald) ที่มีน้ำดีๆบางครั้งอาจมีราคาแพงกว่าเพชร
สีฟ้าอ่อนเรียก (Aquamarine )
สีชมพูอ่อนหรือสีดอกุหลาบเรียกแร่มอร์แกนไนต์ (morganite)
หรือ (Rose beryl ) สีเหลืองทองเรียก (Golden Beryl)
ผลึกแร่อะความารีน