บอลเคลย์ (Ball Clay)             ลัดดา ลาภจตุรภุช

                บอลเคลย์เป็นดินเหนียวที่มีอินทรีย์วัตถุเจือปนทำให้มีสีดำคล้ำจนถึงดำเผาแล้วแล้วจะได้สีจางจนถึง
ขาว ความเหนียวของดินเมื่อใช้ผสมทำผลิตภัณฑ์เซรามิกส์จะช่วยในการขึ้นรูปได้ดีเพิ่มความแข็งแรงก้อนเผา
ช่วยลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์จากการแตกหัก ทั้งนี้ต้องผสมในสัดส่วนที่พอเหมาะมิฉะนั้นจะเป็นผลเสีย  นอก
จากนี้ ยังใช้ผสมในน้ำยาเคลือบในอุตสาหกรรมเซรามิกส์ เพื่อช่วยให้น้ำยาเคลือบเกาะติดผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น

แหล่งแร่
                บอลเคลย์มีอยู่ทั่วประเทศ จากคุณสมบัติเฉพาะตัวตามแหล่งต่างๆแหล่งที่เหมาะสมในการนำมาใช้
ได้แก่ ดินเหนียว ลำปาง เชียงใหม่ ปราจีนบุรี จันทบุรี สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช เริ่มมีผลผลิตบอลเคย์
เป็นปีแรก ในปี 2539

การผลิต
                ในปี 2541 มีปริมาณการผลิต 206,171.5 ตัน มูลค่า 113.4 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 28.5
จาก ปี 2540 ซึ่งมีปริมาณการผลิต    288,406  ตัน มูลค่า 158.6  ล้านบาท จังหวัดลำปางมีการผลิตสูงสุดในปริมาณ
192,771.5    ตันมูลค่า   106   ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ    93.5 ของผลผลิตรอบทั่วประเทศ   ในปีนี้มีผลผลิต
จาก 3 จังหวัดเท่านั้น คือ ลำปางนครศรีธรรมราช และเชียงราย

การใช้
                การใช้บอลเคลย์ของปี 2541 มีปริมาณ 163,963.7 ตัน มูลค่า 90.2 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 79.5 ของ
ผลผลิตลดลง 102,613.3 ตัน หรือลดลงร้อยละ 38.5 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณการใช้ 266,577 ตัน

การนำเข้า
                การนำเข้าบอลเคลย์ในปี 2541 มีปริมาณนำเข้า 2,095 ตัน มูลค่า 17.1 ล้านบาท ปริมาณนำเข้าลดลง
ร้อยละ 79.8 มูลค่านำเข้าลดลง 31.3 จากปี 2540 ซึ่งมีปริมาณนำเข้า 10,389 ตัน มูลค่านำเข้า 24.9 ล้านบาท
โดยนำเข้าจากประเทศกินี  ฮ่องกง มาเลเซีย อังกฤษ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์

การส่งออก
การส่งออกบอลเคลย์ในปี 2541 มีปริมาณส่งออก 15,322 ตัน มูลค่าส่งออก 61.3 ล้านบาท ปริมาณส่งออก
ลดลงเล็กน้อย   343    ตัน หรือลดลงร้อยละ   2.2   มูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ   22.8   จากปี 2540 ซึ่งมี
ปริมาณส่งออก 15,665 ตัน มูลค่าส่งออก 49.9 ล้านบาท โดยส่งออกไปยังประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย
และอินโดนีเซีย

                                  การตลาดและราคา

ตลาด
                ตลาดของดินเหนียวบอลเคลย์ ส่วนใหญ่เป็นโรงงานเซรามิก เครื่องปั้นดินเผาต่าง ๆ  และมี
ส่งออกบ้างเล็กน้อยไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

 ราคา
                ราคาประกาศเพื่อใช้ในการประเมินเก็บค่าภาคหลวง 550 บาท/เมตริกตัน
                ราคาหน้าเหมืองสำหรับบอลเคลย์ในจังหวัดลำปาง 270 บาท/เมตริกตัน

ค่าภาคหลวง
                อัตราค่าภาคหลวงบอลเคลย์ คิดในอัตราร้อยละ 4 ของราคาประกาศ คิดเป็นค่าภาคหลวง
22 บาท/เมตริกตัน

จำนวนเหมืองเปิดการและคนงาน
                เดือนธันวาคม 2541 มีจำนวนเหมืองบอลเคลย์เปิดการรวมทั่วประเทศ 17 เหมือง ลดลง 7 เหมือง
จาก ปี   2540     ซึ่งมีจำนวนเหมืองเปิดการ   24   เหมือง จังหวัดที่มีจำนวนเหมืองเปิดการสูงสุดคือ ลำปาง
มี 13 เหมือง   ส่วนจำนวนคนงานของปี   2541   มีจำนวน   99   คน ลดลง 26 คนจากปี 2540 ซึ่งมีจำนวน
คนงาน 125 คน

แนวโน้ม
                แนวโน้มของบอลเคลย์ จะมีการผลิตและการใช้เพิ่มขึ้นตามการผลิตกระเบื้อง ซึ่งต้องผลิตหรือ
ขยายการผลิตเต็มกำลังการผลิต เพื่อลดต้นทุน และเป็นไปตามภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกต่าง ๆ
                          การผลิต การส่งออก และการใช้บอลเคย์

                                                                                                ปริมาณ : เมตริกตัน
                                                                                                   มูลค่า : ล้านบาท
ปี
การผลิต
การส่งออก
การใช้ภายในประเทศ
 
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
2537
329,286
130.0
12,659
32.9
236,703
93.0
2538
308,001
130.0
12,053
31.1
320,426
176.2
2539
386,334
212.5
12,894
33.7
314,016
172.7
2540
288,406
158.6
14,821
47.5
266,577
146.6
2541
206,172
113.4
15,307
61.2
163,964
90.2